24 ม.ค. 2022 เวลา 07:34 • ครอบครัว & เด็ก
การอ่านกับเด็กเล็ก มีความสำคัญเป็นอย่างมาก วันนี้ผมมีบทความมาแชร์กันครับ
พัฒนาการด้านการอ่านตามวัยของเด็ก ๆ (Pregnancy& Baby)
เด็กเริ่มเรียนรู้การอ่านได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
การเริ่มอ่านให้เด็กฟังตั้งแต่ยังเล็กๆ มีประโยชน์อะไรบ้าง
การอ่านของเด็กนั้นเริ่มตั้งแต่ วัยทารก จนถึงขวบปีแรก (infant)
โดยในช่วงวัย 6-8 เดือนแรก เด็กทุกคนเริ่มสามารถรับรู้ความแตกต่างของหน่วยเสียงที่มีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลกได้
และก่อนอายุ 10 เดือนเด็กจะเริ่มปรับความสามารถให้เข้ากับหน่วยเสียง และไวยากรณ์ของภาษาของผู้เลี้ยงดูเป็นสำคัญ (เราอาจจะเรียกภาษาที่เด็กรับการพัฒนาในช่วงเวลานี้ว่าเป็นภาษาแม่)
หลังจากอายุ 10 เดือนความสามารถดังกล่าวจะจำกัดเฉพาะอยู่ในภาษาของผู้เลี้ยงดู เช่น เด็กทารกชาวญี่ปุ่นจะมีความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียง /r/ และ /l/ ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าจะจำกัด และยากมากขึ้นในผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่น หลังจากนั้นทักษะทางการอ่านจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
-----
วัยเตาะแตะ (toddler) : 1-3 ปี
เมื่อเด็กได้ยินคำศัพท์ หรือเสียงที่เพิ่งเคยได้ยินใหม่ เด็กมักจะให้ความสนใจ ในเสียงที่เด็กไม่สามารถพูดได้เป็นพิเศษ [เข้าใจว่าน่าจะเพื่อเก็บข้อมูล เพื่อฝึก และเลียนแบบต่อไป]
เด็กมักจะแสดงความสนใจเสียง หรือกลุ่มเสียงที่เหมือน หรือคล้ายๆกัน เช่นเมื่อมีการอ่านบทกลอน หรือเล่าเรื่องนิทานที่มีคำคล้องจอง เด็กๆก็มักจะสนใจในคำต่างๆ เหล่านั้น
เด็กจะเริ่มมีการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษรได้บ้างแล้ว
เช่น เมื่อเด็กอ่านหนังสือกับผู้เลี้ยงดู เด็กอาจจะชี้ และพยายามออกเสียงตามตัวอักษร หรือใช้คำจากภาษาพูดเพื่อเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร เช่น /d/daddy, /b/bee, /ก/ไก่, /จ/จาน
อันเป็นรากฐานทักษะด้านการอ่านของเด็ก
-----
วัยก่อนเรียนระยะต้น (early preschool) : อายุ 3-4 ปี
เด็กยังคงแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจเสียงต่าง ๆ ของภาษา โดยเฉพาะ "คำคล้องจอง" (rhyme) ที่มีในเพลง และแน่นอนพยายามทำการเลียนแบบ
เด็กน่าจะสามารถบอกตัวอักษรได้อย่างน้อย 10 ตัว โดยเฉพาะตัวอักษรที่อยู่ในชื่อของเด็ก หรือตัวอักษรที่เด็กได้เห็นผ่านตาอยู่บ่อยๆ [สำหรับเด็กในยุคปัจจุบันผมว่าแค่ 10 ตัวนี้น่าจะเป็นเกณฑ์ที่ต่ำเกินไป]
-----
วัยก่อนเรียนระยะปลาย (late preschool) : อายุ 4-5 ปี
เด็กจะมีความสามารถในการแยกพยางค์ในคำที่ฟังได้ (ร้อยละ 50 เด็กสามารถบอกจำนวนพยางค์ในคำที่ฟังได้) เช่น แก้ว-น้ำ, เป็นคำที่มีสองพยางค์ เป็นต้น
เริ่มแยกหน่วยเสียงย่อย ในคำที่ฟังได้ (ร้อยละ 20 เด็กสามารถบอกจำนวนหน่วยเสียงย่อยในคำที่ฟังได้)
-----
วัยอนุบาลตอนต้น (beginning kindergarten) : อายุ 5-5 ½ ปี
เด็กจะมีความสามารถในการเปรียบเทียบ คำสองคำที่ฟังว่าคล้องจองกันหรือไม่ (เช่น กา-ขา, cat-bat) และมีความสามารถบอกคำที่มีเสียงคล้องจอง กับคำที่ฟังได้
เด็กควรจะสามารถบอกตัวอักษรได้เกือบทุกตัว
นั้นหมายความว่า เด็กมีทักษะอันจำเป็นในการอ่านแล้ว
จะเห็นได้ว่าช่วงที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ภาษาคือ ช่วง 3 ปีแรกของชีวิต ดังนั้นพ่อแม่จะต้องให้ความสำคัญกับช่วงเวลานี้ให้มาก
ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถทุ่มเท สร้างพื้่นฐานในการอ่าน ให้กับลูกตั้งแต่ในช่วงต้นของชีวิต ก็น่าจะเป็นผลดีกับเด็กๆ ที่จะมีทักษะทั้งในด้านการอ่าน และการใช้ภาษาต่อไปในอนาคต ไปตลอดชีวิต
ที่มา http://baby.kapook.com
ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ทุกท่าน มีความสุขในการอ่าน และฝึกการอ่านให้กับลูกๆ ทุกคนนะครับ
โฆษณา