22 ส.ค. 2021 เวลา 03:56 • ไลฟ์สไตล์
วิธีการล้างพระเนื้อดิน
มีคนถามว่าทำไมต้องล้างพระก็ต้องตอบว่าเพราะพระเปื้อน หรือมีอะไรต่อมิอะไรปกคลุมสภาพพระเอาไว้ เช่น เมื่อนำพระมาห้อยคอก็มีเหงื่อ ไคล คราบสกปรก ฝุ่นละออง ขี้เกลือ ฯลฯ หรือพระที่ออกมาจากกรุก็จะมี ดิน ทราย ขี้กรุ คราบกรุ คราบน้ำฮาก (น้ำที่ต้นไม้ใหญ่ดูดไว้ในรากต้อนหน้าน้ำ หน้าแล้งคลายออกมาส่วนมากจะมีแร่เหล็กปน) หินปูน สนิม ราดำ รักน้ำเกลี้ยง รักดิบ เป็นต้น
วันนี้พูดถึง “การล้างพระเนื้อดิน" ก่อน พระเนื้อดินที่ทำลายสถิติการล้างจนสนนราคาก่อนและหลังล้างห่างกันหลายพันลี้ต้อง บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกระหนก เนื้อสีแดง ที่วงการเรียกกันว่า “องค์เจ้าเงาะ' ล้างโดย ท่านอาจารย์เชียร ธีระศานต์ เชื่อไหมครับอาจารย์เชียรล้างตั้ง 11 ครั้ง กว่าจะ "เห็นรูปสุวรรณอยู่ชั้นใน รูปเงาะนั้นใส่ให้คนหลงใครๆ ไม่เห็นรูปทรง เพราะเป็นทองทั้งองค์ อร่ามตา” ที่คลุมท่านไว้นั้นเขาเรียกว่า “ราดำ ”เป็นพืชชนิดหนึ่ง ถ้าพระไม่แท้ ราดำจะไม่ขึ้นหรอกนะครับ คนล้างก็เก่งทื้งราดำไว้นิดๆ เป็นการการันตีว่าเป็นของแท้แน่นอน ต่างชาติเช่าไป ราคาตั้ง ห้าสิบล้านนะครับ ล้างพระดีไม่ดีน่าศึกษารึไม่คิดดูเอาเอง
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่
ทีนี้ถ้าจะล้างพระเนื้อดินทั่วๆ ไปที่ห้อยคออยู่ หรือมีคราบสกปรกจับ ก็ให้เอาน้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำร้อนนะครับ) แช่พระลงไป เอาพู่กันของ อ. สง่า มยุระ อันไม่ต้องใหญ่มาก ขลิบปลายให้ยืดหยุ่น ค่อยๆปัดคราบสกปรกออก ถ้ายังเหนียวแน่น ให้เอาสบู่เหลวละลายลงไปแล้วปัดไปปัดมา แต่อย่าปัดซะหน้าพระหายไปด้วยก็แล้วกัน เสร็จแล้ว อัญเชิญขึ้นมาเป่าด้วยที่เป่าผมให้แห้ง เป่าไกลๆ หน่อยนะครับแล้วไม่ ต้องกดปุ่มร้อนมากเดี๋ยวพระแตก เมื่อก่อนเขาผึ่งให้แห้งเอง แต่เดี๋ยวนี้ผึ่งไม่ได้แล้วเพราะคนไทยใจร้อน แล้วอีกอย่างเดี๋ยวพระหาย
โฆษณา