22 ส.ค. 2021 เวลา 08:25 • การตลาด
ภาษี E-Service คืออะไร
แล้วเกี่ยวข้องกับใครบ้าง ?
หนึ่งในคำถามที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
ว่าด้วยเรื่องของภาษี E-Service เป็นเรื่องที่มีการออกกฎหมายมาตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2564 เพียงแต่เพิ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนกันยายน 2564 ที่จะถึงนี้ หนึ่งในกรณีที่พูดถึงมากที่สุด คือ การที่ Facebook ออกมาประกาศว่า "นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน เป็นต้นไป จะเริ่มเกิบภาษี ร้อยละ 7 จากมูลค่าการยิงแอดโฆษณา" จึงเป็นที่มาของคำถามว่า แล้วยังมีธุรกิจไหนอีกบ้างที่จะมีการประกาศเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการ
.
ในความเป็นจริงแล้วภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat 7% ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการคิดค่าบริการในสังคมไทย แต่เนื่องจากที่ผ่านมาบางบริษัทอาจยังไม่เคยมีการยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพกร แต่เมื่อภาษี E-Service มีผลบังคับใช้ หากไม่ชำระจะถือว่ามีความผิด
.
โดยรูปแบบการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มของแต่ละธุรกิจก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน คือ
1. ธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่ม จากค่าใช้จ่ายที่ได้เรียกเก็บจากลูกค้า ในกรณีนี้ สมมติว่า ค่าบริการ 100 บาท ธุรกิจจะเรียกเก็บค่าบริการจากเรา 100 บาท และจะมีการนำไปหากภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพกรต่อไป
2. ธุรกิจรับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่มให้บางส่วน และเรียกเก็บเพิ่มเติมจากลูกค้านอกเหนือจากการบริการ โดยจะเป็นเรทที่ต่ำกว่า 7%
3. ธุรกิจพลักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มไปให้ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบ ในกรณีนี้หากค่าบริการ 100 บาท ธุรกิจจะเรียกเก็บค่าบริการจากเรา 100 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท
.
แล้วธุรกิจประเภทใดที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องชำระภาษี E-Service บ้าง ?
1. แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์
ตัวอย่างเช่น Shopee Lazada เป็นต้น
2. ค่าโฆษณา
3. เอเจนซี
4. ตัวกลางระหว่างธุรกิจกับลูกค้า
ตัวอย่างเช่น Grab Agoda เป็นต้น
5. บริการ Subscription
ตัวอย่างเช่น Netflix Youtube และ Disney Plus เป็นต้น
.
ประเด็นสุดท้ายที่ควรรู้ คือ หากเราอยู่ในสถานะของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบว่ากลุ่มธุรกิจของเรานั้นอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ และ ในกรณีที่เราเป็นลูกค้า หรือ ผู้ใช้บริการ อาจจะต้องมีการตรวจสอบยอดค่าใช้บริการของผู้ให้บริการแต่ละราย
#เล่าเรื่องการตลาด #ภาษี #Eservice
โฆษณา