23 ส.ค. 2021 เวลา 00:00 • ธุรกิจ
มาดูเหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งไม่สามารถใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคนได้
ด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่างรุนแรงและรวดเร็วในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ถึงแม้ว่าจะหาแนวทางในการป้องกันอย่างไรก็ยังมีช่องโหว่อยู่ดี เพราะการดำเนินการที่ผ่านมาหลายปีไม่เคยมีการทำแผนสำรองไว้รองรับกับสถานการณ์แบบนี้มาก่อน เราจึงเห็นกลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่ๆเกิดขึ้นจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเป็นจำนวนมาก
ระยะสั้นอย่างที่เคยนำเสนอในบทความเรื่อง “อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศที่ต้องประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่างรุนแรง จะเป็นอย่างไรต่อไปนับจากวันนี้” นั่นคือโรงงานจะต้องทำการกักตัวแรงงานที่ยังไม่ติดเชื้อไว้ โดยการออกค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำรงชีพพื้นฐานให้ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถทำได้นานเพราะธรรมชาติของมนุษย์ต้องการอิสระ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับจำนวนมากด้วย
ทางเลือกที่ต้องเร่งทำก็คือการจัดหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคนให้ได้เร็วที่สุด ที่แม้ว่าจะต้องลงทุนอีกมากก็ตามแต่สถานการณ์บีบบังคับต้องให้ทำแล้ว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้คือแรงงานจะต้องตกงานอีกจำนวนมาก ยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดยาวนานเท่าไรแต่ละโรงงานผลิตยิ่งต้องลดแรงงานคนให้เร็วเท่านั้น
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเลเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จำนวนมหาศาล ทั้งรายได้ในประเทศและรายได้จากการส่งออก โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปกุ้ง
ถึงแม้ว่าหลายโรงงานแปรรูปกุ้งจะปิดตัวลงไป แม้แต่โรงงานที่ “ยุคใหม่ฯ” เคยทำงานงาน ที่ถือว่าเป็นโรงงานแปรรูปอาหารทะเล Top 5 ของประเทศเลยก็ว่าได้ ก็ยังต้องลดจำนวนการผลิตลงเช่นกัน สาเหตุก็มาจากการสั่งซื้อที่ลดลงจากต่างประเทศ เพราะนอกจากการบริโภคที่ลดลงแล้ว เรายังมีคู่แข็งที่สามารถทำต้นทุนได้ต่ำกว่าไทยหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม อินเดีย เอกวาดอร์ แมกซิโก และบังคลาเทศ เป็นต้น
Source:  Alliance India's shrimp industry adapts to COVID-19 restrictions « Global Aquaculture Advocate
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้โรงงานแปรรูปกุ้งในประเทศไทยลดกำลังการผลิตลง ก็มาจากการบริโภคกุ้งสดในประเทศที่มีสัดส่วนสูงขึ้น ซึ่งกุ้งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำการแปรรูป จับขึ้นจากบ่อแล้วส่งตรงถึงตลาดทั่วประเทศได้เลย
แม้ว่ากำลังซื้อจะลดลงก็ตามที สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีก ผู้ประกอบการต่างก็อยากจะนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถทำได้ อย่างน้อยก็ช่วง 5 ปีนี้ อนาคตอาจจะมีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือมาทดแทนก็ได้ ว่าแต่ใครจะทำในเมื่อมูลค่าการขายลดลงเรื่อย ๆ
Source:  Megaa Moda Two-Star Indian Seafood exporters
สาเหตุสำคัญของการที่โรงงานแปรรูปกุ้งไม่สามารถพัฒนาเครื่องจักรแทนแรงงานคนได้ในช่วงเวลานี้ มาจากธรรมชาติของกุ้งและธรรมชาติของผู้บริโภค ที่ต้องการกุ้งแบบถอดเปลือกออก และก็ยังมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปด้วย อีกทั้งการสั่งซื้อกุ้งแปรรูปจากไทย ผู้นำเข้าจากต่างประเทศก็ต้องการราคาที่ลดลง จึงส่งผลให้ผลิตก็ต้องใช้กุ้งขนาดเล็กลงมาผลิตเพื่อลดต้นทุน
การถอดเปลือกหรือแกะเปลือกกุ้งจึงต้องใช้แรงงานคนต่อไป เนื่องจากการแปรรูปมีความละเอียดซับซ้อนและกุ้งก็มีตัวขนาดเล็ก และยังต้องใช้แรงงานจำนวนมากด้วย มาดูกันว่าทำไม่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก
Source:  Seafood Bangladesh
ยกตัวอย่างกุ้งแปรรูปที่มีความนิยมในการบริโภค จะต้องใช้กุ้งจำนวนเท่าไรหากต้องการผลผลิต 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม (คำนวนจากกุ้งขนาด 60 ตัว/กิโลกรัม)
1. กุ้งแกะเปลือกผ่าหลังไว้หางข้อสุดท้าย ใช้กุ้งสดจำนวน 100 กิโลกรัมมาผลิตได้ประมาณ 55 กิโลกรัม หากต้องการกุ้งแปรรูปจำนวน 1,000 กก. ต้องใช้กุ้งประมาณ 110,000 ตัว
2. กุ้งแกะเปลือกออกทั้งหมด ใช้กุ้งสดจำนวน 100 กิโลกรัมมาผลิตได้ประมาณ 50 กิโลกรัม หากต้องการกุ้งแปรรูปจำนวน 1,000 กก. ต้องใช้กุ้งประมาณ 120,000 ตัว
Source:  Seafood Frozen raw pd vannamei prawn shrimp | Seabina Food
การส่งออกแต่ละครั้งส่วนมากจะส่งออกโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบควบคุมอุณหภูมิ ประมาณ 20 ตัน/ตู้ จากข้อมูลข้างต้นก็จะต้องใช้กุ้งอยู่ประมาณ ((111,000+120,000)/2) X 20 ตัน ก็จะต้องใช้กุ้งประมาณ 2,300,000 ตัว/ตู้คอนเทนเนอร์
กุ้งจำนวน 2,300,000 ตัว จะต้องใช้แรงงานคนในการแกะกุ้งทุกตัว ลองนึกภาพดูว่าต้องใช้แรงงานเท่าไรจึงจะสามารถแกะกุ้งจำนวนนี้ได้ และปัจจุบันนี้การแกะกุ้งก็ยังไม่มีประเทศไหนที่สามารถใช้เครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคนได้
ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยจะลดลง แต่ยังไงก็ยังต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิตกุ้งแปรรูปอยู่ดี อีกทั้งการส่งออกแต่ละครั้งก็ไม่ได้ส่งออกครั้งละ 1 ตู้ส่วนมากแล้วต้องส่งออกเป็น 10 ตู้ ลองเอาจำนวนกุ้งคูณด้วยจำนวนตู้ดู เราจะเห็นว่าแต่ละรอบจะต้องใช้กุ้งจำนวนกี่ตัว ที่สำคัญทุกตัวจะต้องใช้แรงงานคนในการแปรรูป
Source: 4 Best Countries to Get Your Farmed Shrimp | by Rubicon Resources | Sustainable Seafood | Medium
นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมการแปรรูปกุ้งยังต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก
หมายเหตุ: กุ้งแปรรูปมีประมาณ 7 แบบ ซี่ง 2 รูปแบบที่ยกตัวอย่างข้างต้นมีสัดส่วนในตลาดมากกว่าครึ่ง
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
ท่านที่สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ตู้กาแฟหยอดเหรียญ ที่สามารถขายแฟรนไชส์และมีรายได้จากการขยาย
สามารถสร้างรายได้ทั้งรายวันและรายสัปดาห์และรายเดือนได้
ติดต่อได้ที่
โฆษณา