23 ส.ค. 2021 เวลา 02:57 • ความคิดเห็น
นาฬิกาชีวภาพ หรือ Biological Clock คือนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ แต่ละคนจะมีแตกต่างกันค่ะ งานศึกษาของ Dr. Michael Breus นักจิตวิทยาด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ ได้อธิบายเรื่องนาฬิกาชีวภาพไว้อย่างละเอียดในหนังสือที่ชื่อว่า “The Power of When” หรือ “พลังแห่งเมื่อไหร่” โดยแบ่งบุคลิกนาฬิกาชีวิตไว้ 4 ประเภท ได้แก่ สิงโต หมี โลมา และหมาป่า การแบ่งนี้เรียกว่า Morningness-Eveningness Questionire (MEQ)
• สิงโต 15%-20% ของประชากร ตื่นเช้ากว่าคนอื่นตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่างหรือแต่เช้าตรู่ ก็จะลุกจากที่นอนอย่างรวดเร็วเพื่อมาทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้สึกกระฉับกระเฉงแต่พอถึงช่วงบ่ายก็จะเริ่มอ่อนล้า ส่งผลให้คนกลุ่มนี้เป็นพวกหลับง่าย เวลาเข้านอนจะอยู่ที่ 4 ทุ่ม จะพบคนกลุ่มนี้ได้ในนักธุรกิจและบรรดา CEO
• หมี 50%-55% ของประชากร หมีตื่นขึ้นมาแบบงัวเงียหลังกดเลื่อนนาฬิกาปลุก 1–2 ครั้ง เพราะต้องการเวลาการนอนที่ค่อนข้างนานไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ทำอะไรเป็นไปตามเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกดิน โดยจะมีความกระตือรือร้นในช่วงบ่าย พอถึงช่วงเย็นก็จะเริ่มอ่อนล้า
• โลมา 10% ของกลุ่มประชากร โลมามักไม่ค่อยสดชื่นตอนตื่นนอน จะรู้สึกอ่อนเพลียในช่วงเช้าไปจนถึงตอนเย็นถึงจะเริ่มมีแรงทำงาน
• หมาป่า 15%-20% ของกลุ่มประชากร มีลักษณะตรงกันข้ามกับสิงโต โดยจะรู้สึกกระฉับกระเฉง และมีความคิดสร้างสรรค์ในช่วงกลางคืน ส่งผลให้นอนตื่นสายกว่าจะลุกขึ้นมาก็อาจปาไปตอนเย็น
ทั้งนี้ ใครที่มีบุคลิกแบบไหนไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นตลอด Dr. Breus เผยว่านาฬิกาชีวิตของแต่ละคนอาจเปลี่ยนไปตามอายุ เช่น วัยเด็กเป็นหมี ตอนวัยรุ่นเป็นหมาป่า วัยทำงานเป็นโลมา วัยเกษียณเป็นสิงโต เป็นต้น
(ส่วนตัวจะเริ่มง่วงนอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม ทำให้หลับตั้งแต่ 4 ทุ่มครึ่ง จะรู้สึกตัวและตื่นตอน ตี 4 เป็นประจำ อยากจะลองตื่นสายๆ บ้างแต่ยังทำไม่ได้เลยค่ะ😹)
โฆษณา