23 ส.ค. 2021 เวลา 06:04 • ท่องเที่ยว
แนวคิดเรื่อง “เมืองสร้างสรรค์” หรือ Creative City เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ในประเทศออสเตรเลีย โดย David Yencken นักธุรกิจผู้หลงใหลในการอนุรักษ์แหล่งมรดกชาวอังกฤษที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย แนวคิดเมืองสร้างสรรค์นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้านการวางผังเมือง อันเน้นย้ำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเมือง ประชาชนผู้อยู่อาศัย และสร้างประสบการณ์ความพึงพอใจของสถานที่นั้น ๆ
เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน คือ ต้องการให้ประเทศไทยก้าวข้าม “กับดักรายได้ปานกลาง” ด้วยการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดีมีรายได้เพิ่มขึ้น ขยายโอกาสในเวทีโลก และทำให้การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้นในเวทีสากล
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการท่องเที่ยว ให้ความสำคัญกับการรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว
ระดับโลกจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยจะต้องพัฒนาการท่องเที่ยวทั้งระบบ มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และมุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวในสาขาที่มีศักยภาพ แต่ยังคงรักษาจุดเด่นของประเทศด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อัตลักษณ์ความเป็นไทย ตลอดจนให้คุณค่ากับสิ่งแวดล้อมไว้ได้ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวในระยะ ๒๐ ปี ในระยะแรกให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง วางรากฐานด้านการท่องเที่ยวที่เน้นมาตรฐานและคุณภาพระดับสากลสิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว การบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความปลอดภัย และไม่ให้นักท่องเที่ยวถูกเอารัดเอาเปรียบ แล้วจึงกระจายการท่องเที่ยวทั้งในมิติของพื้นที่และรายได้สู่ชุมชน
ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของการท่องเที่ยวในการเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยวมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม ผนวกกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติวัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ตอบสนองพฤติกรรมความต้องการนักท่องเที่ยว และสร้างทางเลือกของประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว
สุดท้าย แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านเศรษฐกิจ มีผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศสูงขึ้น มีการเติบโตอย่างครอบคลุมทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการใช้ระบบมาตรฐานและนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ และสถาบันทางเศรษฐกิจมีสมรรถนะสูงขึ้น
#น่าน #จังหวัดน่าน #น่านเมืองสร้างสรรค์ #น่านเมืองเก่าที่มีชีวิต #หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมืองน่าน #NANCreativeCityofCraftsandFolkArts #NAN #อพท6 #องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) #DASTA
โฆษณา