25 ส.ค. 2021 เวลา 01:09 • ประวัติศาสตร์
การเรียกร้องสิทธิสตรีที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องตลก ( Feminism )
เกิดเป็นผู้หญิงนั้นไม่ง่ายเลยในการใช้ชีวิต ต้องคอยระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ
จะกลับบ้านดึกคนเดียวก็ไม่ได้ อาจเกิดอันตรายได้ หรือ การถูกยัดเยียดบทบาทของเเม่บ้านในสังคมปิตาธิปไตย ผู้หญิงจะมีหน้าที่ดูเเลสามีเท่านั้น การจะก้าวเข้ามาทำงาน เช่น ทหาร ตำรวจ หรือ นักการเมือง มีไม่มากนัก
ในอดีตก็เช่นกัน เช่น กีดกันไม่ให้เรียนหนังสือ ผู้หญิงไม่สามารถเลือกตั้งได้ เป็นต้น
กว่าที่ผู้หญิงจะมีสิทธิสตรีมากขึ้นเท่ากับปัจจุบันนั้น ผ่านการเรียกร้องมาหลายต่อหลายครั้ง
การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ไม่ง่ายเลยกว่าจะได้รับมันมา
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับคตินิยมสิทธิสตรีหรือเรียกสั้นๆว่าเฟมินิสต์ ( Feminism )
ที่เเพร่หลายในยุโรปหรือทวีปอเมริกาเหนือ มาตั้งเเต่ช่วงค.ศ. 1900 เป็นต้นมา
เเละที่ไทยคนให้ความสนใจมากขึ้นเมื่อ 1-2ปีที่ผ่านมาค่ะ
เฟมินิสต์ คือ กลุ่มกลุ่มนึงที่ต้องการความเท่าเทียมของสิทธิสตรี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ หรือ วัฒนธรรม โดยไม่มีการเเบ่งเเยก
หรือถูกมองว่าเป็นผู้หญิงจะทำไม่ได้
คำว่า ‘เฟมมินิสต์’ เกิดขึ้นในค.ศ.1832 จาก Charles Fourier นักปรัชญาชายชาวฝรั่งเศสที่เขียนเกี่ยวกับสิทธิสตรีเเละเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ช่วงคริสต์ศตวรรษที่19-20 เกิดการบูมของเฟมินิสต์ทั่วยุโรปเเละอเมริกาเหนือ โดยเฟมินิสต์มีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญอยู่ 3 ครั้ง
ครั้งเเรกเริ่มขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่19ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่20 ที่อังกฤษและอเมริกา
โดยมีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องถึงสิทธิในการร่างสัญญา ทำธุรกิจ เเละการมีกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สิน อีกทั้งเรียกร้องในการให้ผู้หญิงสามารถโหวตเลือกตั้งได้ หรือการเรียกร้อง
ที่เรียกว่า ‘Suffragette’ ( การใช้สิทธิเลือกตั้ง )
การเดินขบวนเรียกร้อง Suffragette
ในปีค.ศ.1893 นิวซีเเลนด์ ( ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ) เป็นประเทศเเรกที่ให้ผู้หญิง
เลือกตั้งได้ ตามด้วยออสเตรเลีย ฟินเเลนด์ เเละอังกฤษที่กำหนดให้ผู้หญิงที่โหวตได้ต้องอายุ30ขึ้นไป
สหรัฐอเมริกาให้สิทธิผู้หญิงเลือกตั้งตอนช่วงค.ศ.1920 จากการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ผู้ชายหลายคนตกงาน ทำให้ผู้หญิงต้องทำงาน เช่น สอนหนังสือ ทำงานบ้าน เป็นต้น
เเต่ทำงานเเล้วได้รายได้ที่น้อยกว่าผู้ชายอยู่ดี เเละในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมมากขึ้น
ต่อมาคลื่นลูกที่สองได้ถือกำเนิดในช่วงปีค.ศ.1960ถึงตอนท้ายๆของ1980
เเละจะเป็นตัวเชื่อมต่อไปในคลื่นลูกที่สาม โดยจุดประสงค์จะเเตกต่างไปจากคลื่นลูกเเรก
เพราะ จะพูดโดยรวม ถึงสิ่งที่ผู้หญิงควรจะได้รับ ปัญหาความไม่เท่าเทียมของชายหญิง
การเเบ่งเเยก ต่างจากคลื่นเเรกที่พูดเเต่เชิงธุรกิจ หรือการที่มีสิทธิในการเลือกตั้ง
ผู้ที่จุดประเด็นของคลื่นลูกที่สอง คือ Simone de Beauvoir นักเขียนหญิงชาวฝรั่งเศส
ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า The Second Sex เมื่อปีค.ศ.1949 เเละเเปลเป็น
ภาษาอังกฤษเมื่อปีค.ศ.1953 มีเนื้อหาเกี่ยวกับเฟมินิสต์ กล่าวว่าผู้หญิงสามารถโต้เเย้งได้
โดยไม่ต้องถูกบังคับให้เป็นกุลสตรีเสมอไป
Simone de Beauvior
คลื่นลูกที่สามเกิดขึ้นเมื่อช่วงปีค.ศ.1990-ปัจจุบัน ต่อยอดมาจากคลื่นลูกที่สอง
การเรียกร้องก็ปรับให้เข้ากับสมัย เช่น เรียกร้องการทำเเท้งเสรี ผ้าอนามัยฟรี เป็นต้น
คลื่นลูกที่สาม
บางกลุ่มที่ไม่เข้าใจถึงสตรีนิยมหรือเฟมินิสต์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องมอง
การที่ผู้หญิงออกมาเรียกร้องสิทธิเป็นเรื่องตลกได้ มีหลายประเทศที่สิทธิสตรียังถูกริดรอนอยู่
เช่น อัฟกานิสถาน ผู้หญิงไม่สามารถทำงานได้ หรือ ถูกจำกัดขอบเขตไว้เเค่เเม่บ้าน
ทุกคนคิดเห็นเป็นยังไงกันบ้างคะ สามารถเเชร์ความคิดเห็นกันได้เรื่อยๆนะคะ
เเละขอบคุณที่อ่านจนถึงตรงนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
เเหล่งที่มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา