2 ก.ย. 2021 เวลา 02:12 • ปรัชญา
"รู้ธรรมเฉพาะหน้า"
" ... รู้ธรรมเฉพาะหน้า
คือหัวใจของการเดินสติปัฏฐานทั้ง ๔
รู้ธรรมเฉพาะหน้า
จะเป็นทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง แล้วก็ที่สุด
เป็นทางที่ถูกต้อง
ที่ตรงต่อการหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะฝึกสติปัฏฐาน ๔ ที่ถูกต้อง
เราควรทำความเข้าใจของสภาวะที่เรียกว่า
รู้ธรรมเฉพาะหน้า
รู้ธรรมเฉพาะหน้า คืออะไร
ใช่รู้เฉพาะที่หน้าอย่างเดียวรึป่าว ไม่ใช่นะ
ก็คือรับรู้สภาวะที่ปรากฏ
อย่างเช่นในขณะที่เรานั่งอยู่
ก้นสัมผัสพื้น รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
หลับตา รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
แสดงว่าไม่ได้ใช้ตามองใช่มั้ย ใช้อะไร
ใช้ใจรับรู้ ก็คือสติที่รู้สึกตัวขึ้นมา
ลืมตา รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
ไม่ต้องคอยมอง รู้สึกได้มั้ย
ตรงไม่ต้องคอยมองก็รู้ได้นี่แหละ
คือการรู้ธรรมเฉพาะหน้า
คือรู้สภาวะที่ปรากฏ
ปกติเราต้องไปมอง เพ่ง จดจ่อ
ถึงรู้สึกได้ใช่มั้ย
แต่ปกติจริง ๆ ไม่ต้องมอง รู้สึกได้มั้ย มันรับรู้ได้
1
ฝ่าเท้าที่สัมผัสพื้น รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
ขาทั้งสองข้าง รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
แผ่นหลังตั้งตรงอยู่ รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
อกผายไหล่ผึง รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
มือทั้งสองข้าง รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
ศรีษะตั้งตรง รู้สึกได้มั้ย รู้สึกได้
นี่คือการรับรู้ธรรมเฉพาะหน้า
คือรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้น
จะรู้ได้ละเอียดแค่ไหน
มันอยู่ที่กำลังของสติ
แต่คือการปลุกภาวะรู้ตรงนี้ขึ้นมาก่อน
ก็คือรู้สึกกาย รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาอยู่เสมอ
อันแรกก็จะรู้สึกถึงฐานกายขึ้นมาก่อน
ฐานของกายจะรู้สึกถึง ความรู้สึกของร่างกาย
เช่น การหายใจ การกระเพื่อมหน้าอกหน้าท้อง
ความรู้สึกของกายที่นั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่
เคลื่อนไหวอยู่ รู้กายเนือง ๆ
สติมีกำลังขึ้นเนี่ย จะรู้ถึงการเต้นของหัวใจของชีพจรได้
เคยรู้สึกถึงเสียงหัวใจเต้น เสียงชีพจรมั้ย
ปกติมันเต้นอยู่แล้วหรือเปล่า มันเต้นอยู่แล้ว
แต่เราไม่มีสติละเอียดพอที่จะรู้มัน
แต่พอเริ่มสติละเอียด มันรับรู้ได้ มันรู้สึกได้
แม้กระทั่งการทำงานของร่างกายที่ละเอียดแค่ไหน
มันรู้สึกได้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสติ
เมื่อรู้กายไปเรื่อย ๆ จนสติตั้งมั่น
มันจะรู้สึกกายได้ทั้งกายเลย
จากนั้นเข้าสู่ฐานเวทนา
ฐานเวทนามันจะเป็นความรู้สึกตัวในชั้นของสมาธิ
ก็คือสภาวะของความรู้สึกตัว
ความรู้สึกตัวในชั้นของสมาธินี้
มันจะเกิดความรู้สึกชา ๆ ซ่าน ๆ หนึบ ๆ หยุ่น ๆ
คล้ายสนามพลังงาน
อาการแผ่ออก ซ่านออกขึ้นมา
1
เคยมั้ย รู้สึกชา ๆ ไม่ใช่เหน็บกินนะ
มันเป็นความรู้สึกที่มันเกิดส่วนอื่นได้ ถูกมั้ย
นี่เป็นมันสภาวะธรรม
สภาวะของชั้นความรู้สึกตัวในระดับของสมาธิ
จะเกิดเรื่องของปีติขึ้นมา
เช่น ขนลุกทั้งตัว ตัวโยกโคลงบ้าง
กระแสพลังงานความร้อน ความเย็น ตัวแข็ง ตัวใหญ่
ตัวเล็ก ตัวลอย ตัวหนา เป็นต้น
พวกนี้มันเป็นสภาวะธรรมของปีติ
มันเป็นความรู้สึกตัว
ที่เป็นชั้นของสัมมาสมาธิ
ชั้นกาย มันจะรู้ถึงระบบการทำงานของร่างกาย
ส่วนฐานเวทนา มันจะรู้สึกถึงชั้นพลังงานของร่างกาย
มันเป็นกระแสพลังงานที่ไหลเวียนอยู่
1
โดยเฉพาะปีติตัวสุดท้าย
ถ้าเราฝึกปฏิบัติไปจนถึงสิ่งที่เรียกว่า ผรณาปีติ
มันจะรู้สึกถึงความแผ่ซ่านทั่วทั้งตัวเลย
ที่ได้ทรงตรัสว่า ชุ่มไปด้วยปีติ
และเอิบอาบซาบซ่านทั่วทั้งตัวเลย
ประดุจว่าแช่อยู่ในน้ำเย็นชุ่มฉ่ำชื่นใจ
ซาบซ่าน เอิบอาบทั่วทั้งตัว
ไม่มีส่วนไหนของกายที่ปีติไม่ถูกต้อง
พอผู้ปฏิบัติพัฒนาสติมาถึงตรงนี้
เกิดความแผ่ซ่านทั้งตัว
แม้ในขณะยืน เดิน นั่ง นอน
โดยเฉพาะเวลานอน จะรู้สึกถึงความเพลิน สบายมาก
มันจะรู้สึกฟิน มีความสุข
เหมือนเราแช่อยู่ในสปา
เวลาเราแช่อยู่ในสปา
เราต้องเสียเงินไปเสีย ถูกมั้ย
แต่ถ้าเราปฏิบัติจนมีสติตั้งมั่น
มีความเพลินสบาย มีความแผ่ซ่าน
ดีมั้ย เราจะรู้สึกฟิน สบายอยู่ทุกวัน
อยู่เป็นปกติ มันเป็นวิหารธรรม
คือเราสามารถอยู่กับตรงนี้ได้ในชีวิตประจำวัน
1
เมื่อเราสามารถพัฒนาสติจนเกิดสภาวะตรงนี้
จะพบเลยว่า ความทุกข์ วุ่นวายใจ
ความรุ่มร้อนในชีวิต
มันหายไปมากเลย
ความเครียดก็หายไป
ความฟุ้งซ่านก็หายไป
ความวิตกกังวลก็หายไป
ความเศร้าโศกเสียใจก็หายไป
ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจก็หายไป
อารมณ์ต่าง ๆ ที่มันเป็นไปด้วยความทุกข์ทรมาน
มันจะหลุดออกไป
เราจะพบกับความตั้งมั่น ความสงบ ความสบายขึ้น
แล้วสิ่งเหล่านี้มันจะทำให้สุขภาพจิตเราก็ดี
แล้วมันก็ส่งผลให้สุขภาพกายก็ดี
มันทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สูงขึ้น
มีจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง
มีการตัดสินใจที่เฉียบคมมากขึ้น
งานการต่าง ๆ ก็ละเอียดละออขึ้น
เพราะฉะนั้น การฝึกพัฒนาสติ
มันจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลในทุก ๆ เรื่องในชีวิตของเรา
แล้วเมื่อเราฝึกไปเรื่อย
อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปเรื่อย ๆ
จนมันเกิดความเบากาย เบาใจ
เกิดความโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นมา
สัมผัสความสุขที่มันปราณีตลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย ๆ
เราจะพบเลยว่า ที่จริงแล้ว
ความสุขที่แสวงหามาทั้งชีวิตนี้
มันไม่ได้อยู่ภายนอกที่ไหนเลย
มันอยู่ภายในใจของเรานี้เอง
แล้วมันเป็นความสุขที่ปราณีตกว่าความสุขใด ๆ ในโลก
มีเงินทองก็ซื้อไม่ได้
แต่มันเข้าถึงได้ด้วยการอบรมสติปัฏฐาน ๔
1
เมื่อเราฝึกปฏิบัติไป
มันจะเกิดสภาวะตั้งมั่น
จิตตื่นรู้ขึ้นมา
มันก็จะวางจากฐานของเวทนา
เข้าสู่ฐานของจิต
มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่
พอเรามีสติที่ตั้งมั่น
เราจะพบเลยว่า มันไม่ค่อยไหลไปกับสิ่งที่ปรุงแต่งรุมเร้าเข้ามา
ใครมาทำให้เราทุกข์ไม่ได้
เพราะว่าในขณะที่เราดำรงอยู่ในสติตั้งมั่นนี้
มันไม่ไหลไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่รุมเร้าเข้ามา
มันมีความสงบ มีความตั้งมั่นอยู่
มันเป็นความสุขที่ปราณีตกว่า ที่ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย ๆ
นั่นคือการเข้าสู่ฐานของจิต
ฐานของจิตเข้าสู่ฐานของธรรมมานุปัสนาสติปัฏฐาน
วิธีการฝึกก็คือเกิดสภาวะรู้ ตื่น แล้วก็เบิกบานออกมา
เมื่ออยู่ในสภาวะเบิกบานไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริงขึ้นมา
จะรู้สึกถึงการแตกดับของรูปนาม
กายนี้ จากที่มันเป็นก้อนเนื้อ เป็นรูปเป็นร่าง
ในขณะที่ดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาน
มันจะรู้สึกถึงการแตกดับยิบยับทั่วทั้งตัวเลย
ที่ทรงอุปมาว่า รูปแตกดับประดุจต่อมน้ำ มันเป็นยังไง
กายมันแตกดับตลอดเวลาอยู่แล้ว
แต่ว่าญานปัญญายังไม่เกิด
มันไม่เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
แต่พออบรมจนเกิดวิปัสสนาญาน
เข้าสู่ธรรมมานุปัสนาสติปัฏฐาน
จะเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
กายมันยิบยับทั่วทั้งตัวเลย
รู้สึกถึงการแตกดับของรูปกาย
รู้สึกถึงการแตกดับของนามกาย
ที่มันยิบยับ ๆ อยู่ทั่วทั้งตัว
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
จนมันสามารถเห็นสภาวะทุกอย่างตามความเป็นจริง
ก็จะเกิดการหลุดจากการยึดมั่นถือมั่น
สลัดคืน หยั่งเข้าสู่อมตธรรม
ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
สิ่งที่จำเป็น คือ การรู้ธรรมเฉพาะหน้า
หรือ ปัจจุบันธรรม
รับรู้สภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริง
ไม่ว่าจะเป็นฐานกายก็ดี
ฐานเวทนาก็ดี ฐานจิตก็ดี ฐานธรรมก็ดี
ก็จะมีสภาวะที่เรียกว่า
รู้ธรรมเฉพาะหน้าอยู่
ถ้าอยู่ฐานกาย มันก็จะรู้สึกถึงกาย
ถ้าอยู่ฐานเวทนา มันก็จะรู้สึกถึง
ความรู้สึกตัวในชั้นของฐานเวทนา
ถ้าอยู่ฐานจิต มันก็จะเกิดความตื่นรู้
เห็นการทำงานของจิตขึ้นมา
ถ้าอยู่ฐานธรรม มันจะคลุมทั้ง ๔ ฐานเลย
คือ กาย เวทนา จิต ก็จะถูกรู้
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ไม่ว่าเราจะอยู่ฐานไหนก็ตาม
จะรู้ฐานเดียว หรือรู้ทุกฐานก็ตาม
สภาวะที่สำคัญ ก็คือ รู้ธรรมเฉพาะหน้า
หรือ รู้ปัจจุบันธรรม ... "
.
ธรรมบรรยายโดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา