25 ส.ค. 2021 เวลา 09:10 • ความคิดเห็น
เรื่อง รสนิยมเท่าเทียม ไม่ได้เป็นที่ยอมรับในสังคม❌ซึ่งความรักเป็นเรื่องปกติและควรเป็นเพศไหนก็ได้ที่จะรักและสมรสกัน บางคนอาจจะมองว่า ชายรักชาย หญิงรักหญิง ชายรักเกย์ หญิงรักทอม เป็นรักที่ผิดเพศ ความรักมีหลายรูปแบบควรมองความรักในรูปแบบนี้ให้เป็นความรักที่ปกติได้แล้ว ซีรีย์วายทำให้เห็นถึงความรักต่างเพศได้ชัดเจน
.
#สมรสเท่าเทียม 👬👭
สำหรับประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย
✔️ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น “เพศเดียวกัน” และ “ต่างเพศ” สามารถทำการหมั้นกันได้หรือไม่
✔️ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น “เพศเดียวกัน” หรือ “ต่างเพศ” สามารถสมรสกันได้ ตามกฎหมายหรือไม่
✔️ควรแก้ไขอายุบุคคลที่จะทำการสมรสกันได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือไม่
✔️ควรแก้ไขให้คู่สมรสทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศมีสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธระหว่างกันเหมือนสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาหรือไม่
.
ผู้ที่สนใจสามารถตอบแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=94 ล่าสุด เวลา 14.00 น. มีผู้แสดงความคิดเห็นแล้ว 13,036 คน
❤🧡💛💚💙💜
#สมรสเท่าเทียม
#TUDigitalCollections
TUDigitalCollections
.
.
.
สาระของ พ.ร.บ. คู่ชีวิตมีอะไรบ้าง
คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้
การกำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้
กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
กำหนดให้กรณีที่ผู้เยาว์จดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจ ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกันกับสามีหรือภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โฆษณา