26 ส.ค. 2021 เวลา 14:57 • สุขภาพ
แบบใหนเรียก "ตายดี"
วาระสุดท้ายท่ามกลางลูกหลาน
คนส่วนมากให้ความสนใจชีวิตหลังความตาย ว่าจะเป็นอย่างไร สุขสบายขึ้นสวรรค์ หรือเจ็บปวดทรมานไหม แล้วก็หาวิธี ที่เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตหลังความตายมีความสุข น้อยคนนักที่จะ เรียนรู้กระบวนการตาย บางคนกลัวจนไม่กล้าคิดด้วยซ้ำ ดิฉันเคยถามตัวเองว่าเรากลัวความตายไหม? คำตอบคือ กลัวมากด้วย กลัวตรงใหน พอลองคิดกลับไปมาถึงเข้าใจตัวเอง ว่า กลัวตอนที่หายใจเอาอากาศเข้าแล้วมีเพียงน้อยนิดที่เข้าไปในร่างกายคงอึดอัดทรมานน่าดู ดิฉันคงกลัวสิ้นใจนี่เอง ถึงจะกลัวอย่างไรยังไงทุกคนก็ต้องตาย
จากการที่เราเสพข่าวที่มากมายผ่านโลกโซเซียลจนสมองแทบย่อยข้อมูลไม่ทัน เกือบครึ่งที่นำเสนอข่าวการตายทุกรุปแบบ ทั่วมุมโลก ทำให้ดิฉันมองเรื่องการตายเป็น ธรรมดา ไปเสียแล้ว คนตายได้ทุกอายุ ทุกวินาที ทั้งที่พอรู้ล่วงหน้าและไม่เคยนึกถึงเลย จนดิฉันมาสะดุดกับโปรเตอร์ ใน โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง "คุณสมบัติของการตายดี" เลือกได้ด้วยเหรอ ที่แรกเข้าใจว่า ความตายก็ปล่อยไปตามยถากรรม "ตายดี" (Good death) เป็นการตายที่ผู้ป่วยก่อนจะเสียชีวิตได้รับการบรรเทาอาการความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อย่างเพียงพอ เหมาะสม ได้รับการดูแลทางจิตวิญณาณตามความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม รวมทั้งได้แสดงความต้องการกระทำในวาระสุดท้ายเพื่อให้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
คุณสมบัติของการตายดี คือ 1 ผู้ตายยอมรับได้และพร้อมจะจากไป 2 ตายอย่างมีสติ 3 รู้แลเข้าใจว่าความตายกำลังมาถึง 4 ได้รับการปฎิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเป็นส่วนตัว 5 ได้รับข้อมูลและการรักษาจากแพทย์ตามความจำเป็น 6 ได้รับการรักษาบรรเทาอาการเจ็บปวด 7 เลือกที่ตายได้ (บ้านหรือโรงพยาบาล) 8 ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามต้องการ 9 เลือกได้ว่าควรมีใครอยู่ด้วยในวาระสุดท้าย 10 มีเวลาร่ำลาบุคคลที่ตนรักและสะสางสิ่งที่ค้างคาใจ 11 เลือกได้ว่าจะรับการปฎิบัติอย่างไรในวาระสุดท้าย 12 จากไปอย่างสงบ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งหรือยื้อชีวิตโดยไร้ประโยชน์
การตายดีเตรียมได้ด้วยการวางแผนล่วงหน้าร่วมกันระหว่างผู้ดูแล ญาติ คนรัก ทีมสุขภาพ และที่สำคัญตัวผู้ป่วย ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย การพูดคุยเรื่องตายไม่ใช่ลางบอกเหตุ แต่เป็นการเตรียมตัวเราเองหรือคนที่เรารัก ให้ได้ ตายดี สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
โฆษณา