Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2021 เวลา 11:29 • การศึกษา
หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำคัญอย่างไร?
นักลงทุนอาจมองข้ามการอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินไป ทำให้การลงทุนมีความผิดพลาดเสียหาย จากความเข้าใจผิดบ้าง ไม่แจ่มแจ้งในงบการเงินบ้าง ดังนั้น วันนี้ เราจะพามาทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หมายเหตุประกอบงบการเงินกันค่ะ
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน
นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ละกิจการมีความแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้งานงบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงินแบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
ทำไมเราต้องมาดูหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุดกว่า 80-90% ของงบการเงินก็คือ “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” นี่เองค่ะ ซึ่งเป็นส่วนที่จะต้องใช้อธิบายภาพรวม ที่มาที่ไปของตัวเลขในงบการเงินทั้งหมด รวมทั้งแจงรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่ถูกรวมกันเป็นก้อนใหญ่ๆ ในงบการเงิน
1
เช่น มูลค่าสินทรัพย์ที่เห็นในงบการเงินนั้น มันมีอะไรบ้าง อยู่ที่ไหนบ้าง มีสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้เป็นอะไรบ้าง แล้วมันคำนวณมาอย่างไร เป็นต้น
2
ซึ่งรายละเอียดเยอะมาก และมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทที่จะนำเสนอมันออกมา แต่มันก็จะมีองค์ประกอบที่พบเห็นได้ทั่วไปดังนี้
1
1. ภาพรวมของนโยบายทางการบัญชี
ส่วนแรกสุดก็คือนโยบายทางบัญชีในภาพรวมของบริษัท ซึ่งจะแจงเรื่องทั่วไปว่าบริษัทมีนโยบายทางบัญชีอย่างไร ก่อนจะไปลงรายละเอียดในส่วนอื่นๆ
1
2. วิธีคิดค่าเสื่อมราคา
ในทางบัญชี ค่าเสื่อมราคาเป็นประเด็นใหญ่มากๆ เพราะมันมีความแตกต่างกันพอสมควร ซึ่งเราดูแค่งบการเงิน เราไม่มีทางรู้ว่าค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีค่าเสื่อมราคานั้นคิดอย่างไร และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ก็มีบทบาทสำคัญในการชี้ตรงนี้ให้เห็นชัดเจน
1
3. รายละเอียดลูกหนี้
การที่บริษัทมีลูกหนี้ทางการค้าเป็นเรื่องปกติ แต่แค่เห็นตัวเลขลูกหนี้การค้าในภาพรวมก็ยังไม่เพียงพอในการประเมินความเหมาะสม
1
ดังนั้นในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็จะมีการชี้แจงในส่วนนี้ให้เข้าใจมากขึ้น เช่น เป็นลูกหนี้ประเภทไหนบ้าง แต่ละประเภทมีมูลค่าเท่าไร เป็นต้น
1
4. รายละเอียดเจ้าหนี้
ในงบการเงินจะแสดงให้เราเห็นแค่หนี้ระยะสั้นกับหนี้ระยะยาวเท่านั้น แต่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินจะชี้แจงองค์ประกอบต่างๆ ของหนี้ให้เราเห็น
1
ซึ่งก็อาจไม่ระบุว่าบริษัทไปกู้ยืมมาจากสถาบันทางการเงินใด แต่อาจแยกหนี้เป็นก้อนๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน
1
5. การลงทุนและถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ
สำหรับบริษัทใหญ่ การลงทุนและการถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ เป็นเรื่องปกติ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นได้ชัดในงบการเงิน เพราะมันจะไปรวมอยู่ในสินทรัพย์ถาวร
1
แต่นี่เป็นสิ่งที่บริษัทต้องแสดงให้เห็นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คือต้องชี้แจงว่าบริษัทถือหุ้นในบริษัทใดอยู่บ้าง ถือครองเป็นจำนวนเท่าไร และก็รวมไปถึงการสร้างรายได้ของบริษัทในรูปแบบของเงินปันผลจากบริษัทที่ทางบริษัทไปถือหุ้นอยู่ด้วย
6. รายละเอียดสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
ในยุคนี้สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้อย่างลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า กลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อมันจับต้องไม่ได้ แล้วมันมีมูลค่ามาได้อย่างไร
1
ตรงนี้บริษัทก็มักจะใส่วิธีการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้เหล่านี้เข้าไปในหมายเหตุประกอบงบการเงินนั่นเอง
7. รายละเอียดด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ถ้าในงบการเงินมีประเด็นเกี่ยวกับสกุลเงินต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินย่อมเกิดขึ้น และทางบริษัทก็จะใช้หมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อทำการชี้แจงที่มาที่ไปของอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในส่วนต่างๆ ของงบการเงิน
💦.....ที่กล่าวมานี้ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในหมายเหตุประกอบงบการเงินเท่านั้น ในความเป็นจริง แต่ละบริษัทก็มีหน้าตาของหมายเหตุประกอบงบการเงินที่แตกต่างกันประมาณหนึ่ง เนื่องจากมีการเพิ่มรายละเอียดต่างๆ เข้าไปตามลักษณะธุรกิจของกิจการนั้นๆ นอกเหนือจากองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้ด้วยนั่นเองค่ะ
1
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านเว็บไซต์ได้ตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷
6 บันทึก
29
50
23
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
งบการเงินเพื่อการลงทุน
6
29
50
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย