27 ส.ค. 2021 เวลา 12:00 • ข่าว
จับกุม(ผู้ต้องหา) แล้วไปไหน? ยังไงต่อ?
2
จับกุม(ผู้ต้องหา) แล้วไปไหน? ยังไงต่อ?
ทุกท่านคงติดตามกระแสข่าวที่ ผกก. ซึ่งไม่ใช่ผู้กำกับละครหรือกำกับหนัง ถูกจับกุมในคดีที่สันนิษฐานว่าเจตนาฆ่าผู้ต้องหาเพื่อรีดเอาทรัพย์เิงน 2 ล้านบาท ส่วนเรื่องจะผิดถูกนั้นไม่ใช่ประเด็นในวันนี้ครับ ไว้ค่อยไปว่ากันในชั้นศาล แต่วันนี้ที่จะมาพูดถึงคือ การจับกุม แล้วมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง แล้วที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างไร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 84 วางหลักไว้ว่า หลังจากทำการจับกุมแล้ว “เจ้าพนักงานหรือ ราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา 83 โดยทันทีและเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว”
ดังนั้นหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว มีหน้าที่จะต้องนำผู้ต้องหาไปส่งให้แก่พนักงานสอบสวนทันที เพื่อเข้าสู่กระบวนการสอบสวนตามกฎหมาย และเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา มิให้ถูกกระทำโดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม เช่น การซ้อมหรือบีบบังคับด้วยวิธีการต่างๆให้รับสารภาพ หรือการเรียกรับเงินสินบน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกดำเนินคดี หรือเพื่อให้ลดจำนวนของกลางจะได้รับโทษน้อยลง
1
แต่ในความเป็นจริงแล้วในหลายๆเคส หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม จับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว แทนที่จะนำไปส่งพนักงานสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดโดยทันที แต่ตำรวจชุดจับกุมมักพาตัวผู้ต้องหามายังห้องปฏิบัติการสืบสวน ซึ่งหากเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดี ก็จะพาผู้ต้องหามาเพียงชั่วคราว ในระยะเวลาไม่นาน ประมาณ 20-30 นาที ระหว่างรอทำบันทึกจับกุมให้เสร็จเท่านั้น แต่หลายครั้งก็เห็นการกระทำต่างๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในห้องสืบสวน เช่น การควบคุมผู้ต้องหาไว้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง บางครั้งยาวนานถึง 8-10 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งในห้องปฏิบัติการสืบสวนเหล่านี้ สิ่งที่เหล่าตำรวจชุดจับกุม เกลียดและกลัวที่สุด ก็คือ “ทนายความ” เพราะทนายความจะเข้ามาคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับ ไม่ให้ถูกข่มขู่ ทำร้ายให้รับสารภาพ หรือต่อรองเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบนั่นเอง ซึ่งผู้ต้องหามีสิทธินั้นตามกฎหมาย
1
บทความนี้จึงอยากให้ทุกท่าน เข้าใจสิทธิของตนเองว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ไม่มีสิทธินำผู้ต้องหาไปเข้าห้องปฏิบัติการสอบสวนเป็นเวลานานเกินกว่าความจำเป็น เมื่อทำบันทึกจับกุมเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องนำผู้ต้องหาส่งให้พนักงานสอบสวนทันที
และระหว่างนั้นตำรวจชุดจับกุมยิ่งไม่มีสิทธิห้ามญาติหรือทนายความเข้าพบผู้ต้องหา หากเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ควบคุมตัวผู้ต้องหาในห้องปฏิบัติการสืบสวนเป็นเวลานานหลายชั่วโมง หรือยืนยันไม่ให้ทนายความหรือญาติเข้าเยี่ยมหรือให้คำปรึกษา ทั้งนี้หากพบการกระทำผิดกฎหใมายของตำรวจก็ควรเก็บหลักฐานการกระทำดังกล่าวไว้ด้วยครับ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
❤️วันนี้ผมขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้กันต่อไปด้วยนะครับ Thank you very much 🙏🏻😊
📌สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ จากเพจความรู้คู่ความโง่ (Stupid with Knowledge) ✔ทุกคนจะฉลาดมากขึ้น หากเกิดข้อสงสัย ตั้งคำถาม และหาคำตอบให้กับเรื่องนั้นๆ 🙂🐻
💓 อย่าลืมกด " Like " กด " Share " เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ
📝 Feedback ให้แอดมินได้เสมอนะครับ ทางเพจยินดีน้อมรับทุกคำติชมจากทุกท่าน 💙
Please Support & Follow us ♥️✍🏻
โฆษณา