27 ส.ค. 2021 เวลา 13:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
#ไอเดียหุ้นเด้ง TPAC หุ้นไทยที่ไปโตใน อินเดีย + แอฟริกา : สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
กระทู้คุณภาพ pop5888
TPAC เป็นธุรกิจที่เข้าใจง่ายๆ คือ ทำ Packaging ที่ทำมาจากพาสติก ซึ่งโดยมากเป็นของสินค้าทั้งหลายที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น กล่องพลาสติกบรรจุอาหาร, ขวดน้ำ, แกลลอนน้ำ, ขวดนม, แกลลอนนม, ขวดแชมพู, ขวดสบู่เหลว, ถ้วยโยเกิร์ต, ถ้วยไอศกรีม, ด้วยขนม เป็นต้น
ความน่าสนใจในธุรกิจนี้ คือ เป็นธุรกิจที่ใช้แล้วทิ้ง ก็เป็นกึ่ง Recurring Income เช่น เมื่อคนทานน้ำหมดขวดแล้ว ทานอาหารกล่อง ทานไอศกรีมหมดก็นำ Packaging เหล่านี้ไปทิ้ง ซึ่งด้วยความเป็นสินค้าที่ใช้แล้วทิ้ง ดังนั้นต้องมีการสั่งใหม่เรื่อยๆ
ความน่าสนใจของ TPAC คือ การไปเติบโตที่ อินเดีย
หลังจากที่กลุ่มโลเฮีย (ผู้ถือหุ้นใหญ่ IVL) เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ปัจจุบันที่อินเดียมี 5 โรงงาน และ กำลังจะเปิดอีก 2 โรงงาน และ โดยที่โรงงานเดิมนั้นก็ขยายกำลังการผลิต
หากดูความน่าสนใจของตลาดอินเดีย คือ
1. เป็นประเทศที่มีประชากร 1,400 ล้านคน
2. มี GDP per Capita 2,099 USD/ ปี
3. GDP growth 4.2% (ปี 2019)
ซึ่งหากเทียบกับประเทศไทย
- ประชากร 70 ล้านคน
- GDP per Capita 7,806 USD/ปี
- มี GDP growth 2.4% (ปี 2019)
จะเห็นได้ว่าทั้งปริมาณประชากรที่มากกว่า GDP per Capita ที่ต่ำกว่าไทยมาก จึงทำให้มีโอกาสที่ GDP per Capita จะเติบโตมีมาก
และ GDP growth ที่เติบโตมากกว่าไทย ดังนั้นตลาดอินเดียน่าสนใจมาก
ดังนั้นหากนับเฉพาะในแง่ของขนาดของประชากร อินเดียใหญ่กว่าไทย 40 เท่า ถ้าเทียบขนาดของ GDP per Capita อินเดียจะน้อยกว่าไทย 2.7 เท่า
แต่มีการคาดการณ์กันว่า ประเทศอินเดีย ด้วยการที่ประชากรในประเทศเป็นวัยแรงงานจำนวนมากและ เศรษฐกิจก็กำลังเติบโตมาก จึงมีการคาดการณ์ว่า GDP ของอินเดียในอนาคตจะเป็นอันดับ 3 ของโลก
ดังนั้นหากมองว่าประเทศอินเดียจะมี GDP มีการเติบโตจนเป็นอันดับ 3 ของโลก การบริโภคภายในประเทศของประชากรในอินเดียจะเติบโตขึ้นมาก ซึ่งจะทำให้สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมากขึ้นตาม
ซึ่งเมื่อสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคดีขึ้นร้านสะดวกซื้อก็จะเปิดมากขึ้นตาม ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดที่เราจะจินตนาการภาพนี้ออก คือ
ย้อนไปมองประเทศไทยเมื่อสัก 20-30 ปีที่แล้วที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนมีเงินมากขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven เปิดและขยายสาขาขึ้นเป็นจำนวนมาก
ซึ่งสินค้าใน 7-Eleven ที่ขายก็ล้วนแต่ต้องมี Packaging
ซึ่งเป็น Supply Chain หลักของทุกสินค้าที่วางขายใน 7-Eleven
ดังนั้นบริษัทที่ทำ Packaging ในประเทศไทย ในช่วงที่มีการขยายสาขาของ 7-Eleven จึงได้ประโยชน์และเติบโตได้มาก
หากเรามองการเติบโตเหล่านี้ และ ย้อนอดีตได้ เราก็อยากที่จะอยู่ใน Stage ของการเติบโตของธุรกิจที่เติบโตล้อไปกับการขยายสาขาของร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย แต่เราไม่สามารถย้อนเวลาได้
ดังนั้นเราก็ต้องไปแสดงหาโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพที่จะเติบโต และมีแนวโน้มของการขยายร้านสะดวกซื้อจาก GDP per Capita ที่ต่ำ
ดังนั้นประเทศอินเดียที่มีประชากรมาก, GDP per Capita ที่ต่ำ และ มี GDP growth ที่สูงน่าจะเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีสำหรับบริษัทที่ต้องการเก็บเกี่ยวโอกาสจากการลงทุนนี้
เหมือนที่นักลงทุนระดับโลกหลายๆคนไปลงทุนในประเทศจีนในจังหวะที่มีโอกาสในการเติบโตสูง
ซึ่งการที่ TPAC ในอินเดียมีความเป็นอินเดียเพราะกลุ่มโลเฮียคือคนอินเดีย แต่ IVL เป็นบริษัทระดับโลก (Global Company)
ดังนั้นการบริหารจัดการของ TPAC จะได้การบริหารจัดการแบบ Global Company ดังนั้นเรื่องของความสามารถในการแข่งขันนั้นเชื่อได้ว่า ความเป็น Global Company น่าจะเอาชนะ Local Company ได้ไม่ยาก
โดยในไตรมาส 2/2564 TPAC มีโรงงาน ดังนี้
- ประเทศไทยจำนวน 4 โรงงาน
- ประเทศอินเดีย 5 โรงงาน (กำลังก่อสร้างอีก 2 โรงงาน)
- ประเทศ UAE 1 โรงงาน
- ประเทศมาเลเซีย 1 โรงงาน
1
จากรูปจะเห็นได้ว่า รายได้ในประเทศนั้นทรงตัวในระดับ 450 ล้านมาตั้งแต่ปี 2562 โดยรายได้ที่ไม่เพิ่มเพราะการบริโภคไม่ได้เพิ่มขึ้น
แต่ก็ไม่ได้ลดลงเพราะเป็นธุรกิจที่เหมือนเป็น Recurring Income
เพราะเป็น Packaging ของสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันทำ
ให้มีการซื้อซ้ำเรื่อยๆ และ Packaging เป็นวัสดุที่ใช้แล้วทิ้ง
ดังนั้นจะคาดหวังกับการเติบโตในประเทศไทยก็คงไม่ได้
แต่รายได้จาก ต่างประเทศนั้นจะเพิ่มประมาณ 10% YoY ตลอด
ส่วนหนึ่งมาจาก Organic Growth และ อีกส่วนเริ่มมาจากการควบรวมกิจการในประเทศมาเลเซีย ในไตรมาส 2/2564
โดยหากดูก่อนจะมีสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดในประเทศอินเดียในไตรมาส 2/2564
จะเห็นได้ว่ารายได้นั้นเติบโตอย่างต่อเนื่องจากระดับ 400 กว่าล้านบาท
เพิ่มมาเป็น 643 ล้านบาทในไตรมาส 1/2564
ในส่วนของอัตราการทำกำไรก็เพิ่มตลอดเนื่องจากธุรกิจโรงงานจะเป็นธุรกิจที่มี Fixed Cost สูง
ทั้งในด้านค่าเสื่อมราคา ค่าจ้างพนักงาน แต่เมื่อถึงจุดที่มี Economy of Scale
ต้นทุน Fixed Cost จะไม่เพิ่ม จึงทำให้อัตราการทำกำไรดีขึ้น
ส่งผลให้อัตราการทำกำไรจาก 3.06 % ในไตรมาส 2/2562 เป็น 15.67% ในไตรมาส 1/2564
2
ก่อนที่จะลดลงในไตรมาส 2/2564 เนื่องจากลดการผลิตในอินเดียที่ลดลง จากการแรพ่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ Fixed Cost หลายๆอย่างไม่ได้ลดลงตาม ทำให้อัตราการทำกำไรลดลง ซึ่งเป็นสถานการณ์ชั่วคราว
จากรูป จะเห็นได้ว่า 5 โรงงานของ TPAC ในอินเดีย อยู่เพียง 2 ภูมิภาคในประเทศอินเดีย
และ โรงงานที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันก็ยังอยู่ไม่ได้ห่างไกลกัน
หากมองขนาดของประเทศอินเดีย ที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึง 6 เท่า
ดังนั้นการการขยายสาขาของโรงงานเพื่อให้ได้ใกล้กับกลุ่มลูกค้า
เพื่อความสะดวกในเรื่องของการขนส่งจึงจึงมีโอกาสอีกมาก
จากรูปเป็นรูปของโรงงานเดิมในอินเดีย
โรงงานที่มีอยู่แล้วยังคงขยายกำลังการผลิตโดยการสร้างอาคารใหม่
ดังนั้นจะเห็นได้ว่านอกจากจะขยายโรงงานไปยังพื้นที่ใหม่ๆ
แต่ในโรงงานเดิมก็ยังคงขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
ดังนั้นโอกาสที่จะสร้างรายได้เพิ่มจากพื้นที่เดิมยังคงมี
และ ยังคงสามารถหารายได้เพิ่มจากพื้นที่ใหม่ๆที่ยังไม่ได้ไปสร้างโรงงานอีกมาก
TPAC UAE
ปัจจุบันก็กำลังขยายกำลังการผลิต
โดยการเช่าพื้นที่เพิ่มจากบริเวณที่ติดกับโรงงานเพื่อทำการขยายโรงงาน
ความน่าสนใจของ UAE คือ เป็นโรงงานที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ของ TPAC
ไปยังกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา กว่า 20 ประเทศ
ซึ่งประเทศอีกกว่า 20 ประเทศหากมีความมั่นคงทางการเมือง
และ มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเพียงพอ
ก็เป็นโอกาสของ TPAC จะเข้าสู่ทวีปแอฟริกาในวันหนึ่ง
ก็ยังเป็น Growth Driver หากเศรษฐกิจในกว่า 20 ประเทศในแอฟริกามีการเติบโตในอนาคต
หากมองในด้าน VALUATION ในไตรมาส 1/2564 ก่อนที่จะมีสถานการณ์ COVID-19
รายได้ยังคงทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1,088 ล้านบาท และ กำไรสุทธิที่ 118.4 ล้านบาท
แต่ในไตรมาส 1/2564 ทางประเทศอินเดียมีการแก้ไขข้อกฎหมาย
จากการบมีการกลับรายการภาษีประมาณ 133 ล้านบาท
ทำให้ในไตรมาส 1/2564 จึงแสดงเป็นผลขาดทุนสุทธิที่ 20 ล้านบาท
ดังนั้นหากมองในสถานการณ์ปกติ
หากรายได้ยังคงเติบโต และ ต้นทุนวัตถุดิบไม่ได้มีความผันผวนมาก
กำไรที่เป็นฐานจะอยู่ที่ประมาณไตรมาสละ 120 ล้านบาท
หรือ คิดเป็นกำไรต่อปีที่ประมาณ 480 ล้านบาท
ซึ่งหากนำมาเทียบกับ Market Cap ที่ 5,616 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน TPAC เทรดกันที่ PE 12 เท่า
ซึ่ง PE 12 เท่านั้นควรจะเป็น PE ที่เป็นหุ้นที่ไม่เติบโต และ เป็นหุ้นที่จ่ายปันผลดี
แต่จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาก่อนหน้าทั้งหมดจะเห็นได้ว่า
โอกาสของ TPAC นั้น คือ การไปเติบโตที่อินเดีย
และ อีกกว่า 20 ประเทศในทวีปแอฟริกา
ดังนั้นโอกาสตรงนี้เป็นโอกาสที่ใหญ่มาก
โดยโอกาสที่ยิ่งใหญ่นี้ขับเคลื่อนโดยกลุ่ม โลเฮีย
ซึ่งเคยทำให้ IVL ที่เป็น Local Company สู่ GLOBAL COMPAMY
และ ทำให้ IVL เป็นบริษัทผู้ผลิตเม็ดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดของโลกมาแล้ว
ดังนั้นโอกาสของ TPAC ในระดับโลก
ด้วยกลุ่มผู้บริหาร และ ผู้ถือหุ้นที่เรียกได้ว่าเก่งระดับโลก
กับ PE เพียง 12 เท่า น่าจะเรียกได้ว่าความเสี่ยงในด้าน Downside ค่อนข้างที่จะจำกัด
เพราะ หุ้นหลายๆตัวในประเทศไทย เทรดกันที่ระดับ PE 20-30 เท่า
แต่หากเป็นบริษัทที่ไปโตต่างประเทศ CLMV ระดับ PE จะเริ่มที่ 30-60 เท่า
แต่หาก TPAC ไปได้ในระดับโลกได้จริงที่ระดับ PE 12 เท่า
การปรับ PE เพิ่มตามโอกาสที่เปิดกว้างในประเทศอินเดียและทวีปแอฟริกา
หรือ กำไรที่มีโอกาสที่จะเติบโตสูงมาก
ณ ราคาที่ 17.50 บาท ก็เรียกได้ว่าโอกาสที่จะเป็นหุ้นเด้ง
หรือ หุ้น 10 เด้งในระยะยาว ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป
กระทู้นี้เป็นหนึ่งในกระทู้คุณภาพในห้อง "ไอเดียหุ้นเด้ง" สำหรับใครที่ต้องการติดตามบทความคุณภาพ ตอนนี้เว็บบอร์ด ThaiVI เปิดให้สมัครสมาชิกและทดลองใช้ได้ฟรี 30 วันแล้ว! เข้าไปสมัครกันได้เลยครับที่ www.ThaiVI.org
โฆษณา