Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Suchada Nimnuan
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2021 เวลา 14:17 • ข่าว
"ผู้ช่วยแพทยสภา" เผยเบื้องหลังชันสูตรพลิกศพ-ข้อจำกัดการผ่าศพผ่านอะไรบ้าง ชี้ผลอาจพลิกไม่ตรงใบรับรองการตายได้...
จนถึงขณะนี้แม้ว่าอดีตผู้กำกับโจ้ จะยอมเข้ามอบตัวและต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมแล้วก็ตาม พร้อมปฎิเสธว่า ไม่ได้มีเจตนาฆ่าผู้ต้องหาคดียาเสพติด แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า สังคมยังคาใจกับสาเหตุการตายว่า ตกลงแล้วผู้ต้องหาตายเพราะถูกกระทำให้ตายในขณะถูกคุมตัวหรือตายเพราะสารพิษจากเมทแอมเฟตามีนตามที่แพทย์ระบุในใบรับรองการตายหรือไม่
ประเด็นนี้หลักฐานที่เป็นหัวใจสำคัญของคดีก็คือ ผลการชันสูตรพลิกศพซึ่งคาดว่าจะออกมาในสัปดาห์หน้านี้ แต่หากย้อนกลับไปตั้งแต่เกิดเหตุ ก็ล่วงเลยมาเกือบ 1 เดือนแล้ว ทำให้มีคำถามตามมาว่า เหตุใดผลการชันสูตรจึงออกล่าช้าทั้งๆที่แพทย์ผ่าศพพิสูจน์ไปนานแล้ว
.
เท่าที่สอบถามเรื่องนี้กับรองศาสตราจารย์ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา อธิบายว่า
ปกติแล้วขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพ แพทย์ผู้ทำการชันสูตรจะต้องทำการผ่าศพและนำชิ้นเนื้อ สารคัดหลั่งต่างๆ ประกอบด้วย เลือด เสมหะ ของเหลวจากปัสสะวะไปตรวจสอบผลในห้องปฎิบัติ เมื่อตรวจเสร็จแล้ว ผลการชันสูตรที่ออกมาจากแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลการผ่าศพและผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ทีนี้ในเรื่องของระยะเวลาที่ผลจะออก จะช้าหรือเร็วนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่า แพทย์ต้องการตรวจหาอะไรบ้าง การตรวจมีความซับซ้อนแค่ไหน คุณหมอยกตัวอย่างว่า ถ้าผ่าศพเฉยๆ ไม่ต้องส่งห้องแล็ปผลอาจจะออกเลยได้ เพราะแพทย์เห็นด้วยตาทั้งหมด แต่ถ้ามีบางส่วนที่ต้องใช้วิธีการตรวจร่วมกับห้องปฎิบัติการ อาจจะรอผลก่อนประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพราะต้องผ่านขั้นตอนการย้อมสีชิ้นเนื้อ การตรวจสารพิษอาจจะต้องใช้เวลานาน แต่เท่าที่ทางแพทยสภาได้รับข้อมูลมา การเสียชีวิตของผู้ต้องหาคดียาเสพติดนี้ แพทย์ได้ผ่าศพก่อนจะทำการฌาปนกิจไปแล้ว อาจจะยังมีประเด็นที่แพทย์ยังมีข้อสงสัยอยู่และต้องตรวจสอบเพื่อความรอบคอบ
ถามต่อว่า ถ้าจะวิเคราะห์สาเหตุการตายว่า ผู้เสียชีวิตเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจหรือถูกทำร้ายมาหรือไม่นั้น จะต้องผ่าศพเสมอไปหรือไม่ถึงจะชี้ชัดได้ว่า ตายจากสาเหตุอะไร
นพ.เมธี ระบุว่า ไม่จำเป็น กรณีการขาดอากาศหายใจ หรือถูกทำร้าย แพทย์ที่ทำการผ่าชันสูตรจะสามารถเห็นด้วยตาได้ทันที โดยการวิเคราะห์จากสภาพภายนอกของศพ เช่น กรณีหากโดนรัดคอจะปรากฎบาดแผลที่คอ แต่การขาดออกซิเจนแพทย์จะทราบได้จากการสังเกตุที่ดวงตา จะพบว่ามีเลือดออกที่ดวงตาขาว แต่ถ้าต้องการจะวิเคราะห์ให้ลึกกว่านั้นก็ต้องผ่าศพดูจะเห็นมีจุดเลือดออกด้านนั้นเนื่องจากเส้นเลือดแตก ซึ่งหลายๆเคสที่พบว่าเป็นลักษณะการตายผิดปกติผลการชันสูตรที่ออกมาก็อาจจะไม่ตรงกับสาเหตุที่ระบุไว้ในใบรับรองการตายก็ได้
“กรณีถ้าหมอเคยรักษาผู้ป่วยเป็นคนไข้ในความดูแลอยู่แล้วจะไม่ค่อยมีปัญหาเลยถ้าตาย แต่ในบางกรณีที่มีการตายเช่นหมอเองก็ยังสงสัย พยาบาลโทรมาตาม 2 ชั่วโมงเสียชีวิตโดยที่ไม่มีอาการมาก่อนเลยล่วงหน้า หรือมาถึงห้องฉุกเฉินแล้วอยู่ๆตาย อย่างกรณีนี้ คนไข้ถูกนำส่งมา มาถึงก็มีการปั๊มหัวใจ ถึงมือหมอหมอช่วยไม่ได้แล้วก็เสียชีวิต หมอเขาจะลงความเห็นเบื้องต้นไปก่อน ในใบรับรองการตายจึงเป็นความเห็นแค่เบื้องต้นเท่าที่เห็นเท่าที่ทราบ แต่สุดท้ายต้องมีข้อสรุปในใบชันสูตรอีกอยู่ดี “
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า หลังการผ่าพิสูจน์แล้ว ผลชันสูตรออกมาจึงเป็นไปได้ทั้ง 2 แนวทางถ้าตรงกับใบรับรองการตายก็คือจบ ถ้าไม่ตรงกันผลการชันสูตรพลิกศพใบสุดท้ายจะมีน้ำหนักและเชื่อถือได้มากกว่าใบรับรองการตายใบแรก ซึ่งการผ่าศพพบบ่อยมากที่ผลชันสูตรจะไม่ตรงกับใบรับรองการตายเป็นเรื่องปกติในทางนิติเวช
"ใบรับรองการตาย" จึงเป็นเพียงการวินิจฉัยคร่าวๆแต่เมื่อผ่าศพ แพทย์จะมีเวลาในการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงมากกว่า และแพทย์ต้องมาวิเคราะห์ต่อด้วยว่าเหตุใดสาเหตุการตายจึงสรุปออกมาไม่ตรงกับใบรับรองการตาย
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย