29 ส.ค. 2021 เวลา 02:37 • ประวัติศาสตร์
สงครามโลกครั้งที่ 1 ฉบับรวบรัด (World War I)
1
ผมเคยเขียนเรื่องราวของ “สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)” เป็นซีรีส์
แต่สำหรับคนที่เพิ่งมาตามเพจผม หรือขี้เกียจอ่านเป็นตอนๆ บทความนี้ผมขอเขียนเล่าเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นตอนเดียวจบ สรุป รวบรัดในบทความเดียว
“สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)” เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งเริ่มขึ้นในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ภายหลังจากการลอบปลงพระชนม์ “อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)”
1
การลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ ได้จุดประกายให้เกิดสงครามทั่วยุโรป และดำเนินต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปีค.ศ.1918 (พ.ศ.2461)
ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งนี้ เยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิอ็อตโตมัน หรือเป็นที่รู้จักในนามของ “มหาอำนาจกลาง (Central Powers)” ได้ต่อสู้กับ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี โรมาเนีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา หรือเป็นที่รู้จักในนามของ “สัมพันธมิตร (Allied Powers)”
ในสงครามครั้งนี้ เทคโนโลยีทางการทหารถือว่าก้าวหน้าพอสมควร ทำให้ความรุนแรงและความสูญเสียก็เกิดขึ้นมากและหนักกว่าสงครามที่ผ่านๆ มา
1
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)
เมื่อสงครามจบลงในปีค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ ก็มีผู้เสียชีวิตจากสงครามไปแล้วกว่า 16 ล้านคน
1
สำหรับเรื่องราวความเป็นมาของสงครามโลกครั้งที่ 1 อันที่จริงแล้ว ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 จะเริ่มขึ้น ความขัดแย้งและตึงเครียดก็แผ่กระจายไปทั่วยุโรปอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะแถบคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งตั้งอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป
1
ชาติต่างๆ ในยุโรปก็เริ่มจับกลุ่มเป็นพันธมิตรกัน หากแต่ความไม่มั่นคงทางการเมืองในแถบคาบสมุทรบอลข่าน โดยเฉพาะบอสเนีย เซอร์เบีย และเฮอร์เซโกวีนา ก็เป็นภัยต่อกลุ่มพันธมิตรต่างๆ ในยุโรป
แต่สำหรับประกายไฟที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มต้นขึ้นที่เมืองซาราเยโว ประเทศบอสเนีย โดยในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) “อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย (Archduke Franz Ferdinand of Austria)” และพระชายา ถูกเด็กหนุ่มชาตินิยมที่ชื่อ “กัฟริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)” ปลงพระชนม์โดยการยิงปืนใส่ทั้งสองพระองค์
2
ปรินซิปเป็นเด็กหนุ่มชาตินิยมหัวรุนแรง โดยปรินซิปและกลุ่มชาตินิยมคนอื่นๆ มีความต้องการที่จะขจัดอำนาจของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
3
การปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย และพระชายา
การปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ได้ทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาเป็นลูกโซ่ โดยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้โทษรัฐบาลเซอร์เบียถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และหวังจะใช้เหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างในการกำจัดเหล่าชาตินิยมเซอร์เบียให้หมดสิ้น
2
แต่เพราะว่ารัสเซีย ซึ่งเป็นชาติที่ทรงอำนาจ ได้สนับสนุนเซอร์เบีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจึงยังรีรอ ไม่ประกาศสงครามในทันที จนได้รับคำรับรองจากผู้นำเยอรมนี นั่นคือ “จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)” ว่าเยอรมนีจะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
2
ที่ผ่านมานั้น จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเกรงว่าหากบุ่มบ่าม โจมตีเซอร์เบีย ก็จะทำให้รัสเซียเข้ามาพัวพันกับสงครามนี้ ซึ่งก็อาจจะทำให้พันธมิตรของรัสเซียอย่างฝรั่งเศส และบางที อาจจะรวมถึงสหราชอาณาจักร เข้ามาเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ด้วย
1
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)
ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงให้การรับรองการสนับสนุนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ทำให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดแก่เซอร์เบีย โดยมีข้อเรียกร้องต่างๆ มากมาย ซึ่งเซอร์เบียเองก็ยากที่จะยอมได้
4
ทางด้านเซอร์เบีย เมื่อแน่ใจว่าจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจะก่อสงครามแน่ รัฐบาลเซอร์เบียก็ได้ออกคำสั่งให้กองทัพเซอร์เบียเคลื่อนกำลังพล และขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย
ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย ทำให้สันติภาพในยุโรปพังทลายลงในทันที
3
ภายในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ รัสเซีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเซอร์เบีย ก็เตรียมพร้อมเปิดสงครามกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับเยอรมนี
1
สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เริ่มขึ้นแล้ว
2
ตามแผนชลีเฟิน (Schlieffen Plan) ซึ่งเป็นแผนการทางฝั่งกองทัพเยอรมัน เยอรมนีจะทำการสู้รบสองด้าน โดยจะเข้ารุกรานฝรั่งเศสผ่านเบลเยี่ยมทางตะวันตก ส่วนอีกด้าน จะสู้กับรัสเซียทางตะวันออก
1
4 สิงหาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) กองทัพเยอรมันได้เดินทัพข้ามชายแดนเข้ามาในเบลเยี่ยม
สงครามแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นโดยกองทัพเยอรมันได้เข้าโจมตีเมืองไลกีในเบลเยี่ยมโดยใช้ปืนใหญ่ และสามารถยึดเมืองได้ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457)
1
ตลอดทางที่กองทัพเยอรมันเดินทัพเข้ามาในเบลเยี่ยม มุ่งสู่ฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันก็ได้ฆ่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยทำการสังหารทั้งประชาชนและนักบวชชาวเบลเยี่ยมที่ต้องสงสัยว่าให้การช่วยเหลือกลุ่มต่อต้านเยอรมัน
2
ใน “ยุทธการที่มาร์นครั้งแรก (First Battle of the Marne)” ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 6-9 กันยายน ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษ ได้ทำการสู้รบกับกองทัพเยอรมันที่กำลังรุกราน และมุ่งลึกเข้ามาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส อยู่ห่างจากปารีสไม่ถึง 50 กิโลเมตร
2
กองทัพสัมพันธมิตรได้ทำการโจมตีตอบโต้กองทัพเยอรมัน ทำให้กองทัพเยอรมันต้องถอยทัพกลับไปทางเหนือของแม่น้ำไอส์เน่
ความพ่ายแพ้นี้หมายความถึงแผนการที่จะพิชิตฝรั่งเศสอย่างรวดเร็วต้องจบลง โดยทั้งสองฝ่ายก็ขุดสนามเพลาะ และแนวรบด้านตะวันตกก็กลายเป็นสถานที่ๆ จะนองเลือด เต็มไปด้วยการสู้รบต่อเนื่องนานกว่าสามปี
2
สำหรับยุทธภูมิในสงครามนี้ซึ่งกินเวลายาวนานและคร่าชีวิตทหารไปเป็นจำนวนมาก คือ “ยุทธการที่แวร์เดิง (Battle of Verdun)” และ “ยุทธการที่แม่น้ำซอม (Battle of the Somme)”
2
ในยุทธการที่แวร์เดิง กองทัพเยอรมันและฝรั่งเศส ต่างต้องเสียทหารไปรวมกันเกือบหนึ่งล้านนาย
4
สำหรับแนวรบด้านตะวันออก กองทัพรัสเซียได้เข้ารุกรานปรัสเซียตะวันออกและโปแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนใต้อำนาจของเยอรมนี หากแต่ก็ต้องเผชิญกับกองทัพเยอรมันและกองทัพออสเตรียใน “ยุทธการแทนเนนแบร์ก (Battle of Tannenberg)” ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457)
1
แต่ถึงจะไม่สำเร็จ แต่กองทัพรัสเซียก็ทำให้กองทัพเยอรมันจำต้องย้ายกองทหารจำนวนสองกองจากแนวรบด้านตะวันตก มายังแนวรบด้านตะวันออก ทดแทนทหารที่เสียชีวิตในยุทธภูมิที่มาร์น
2
กองทัพรัสเซีย เสริมด้วยกองกำลังต่อต้านเยอรมันในฝรั่งเศส ทำให้กองทัพรัสเซียนั้นเข้มแข็ง และเคลื่อนพลไปทางตะวันออก ทำให้ชัยชนะที่เยอรมนีคาดหวังว่าจะได้มาอย่างรวดเร็วนั้น ต้องจบลง
1
ตั้งแต่ปีค.ศ.1914-1916 (พ.ศ.2457-2459) กองทัพรัสเซียได้ทำการโจมตีแนวรบด้านตะวันออก หากแต่ก็ไม่สามารถบุกทะลุแนวของเยอรมนีได้
3
ความพ่ายแพ้ในสนามรบ บวกกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ความอดอยากของประชาชน สร้างความไม่พอใจให้ชาวรัสเซียจำนวนมาก โดยเฉพาะกับคนยากจน ชนชั้นแรงงานและชาวนาชาวไร่
ความไม่พอใจนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราชวงศ์รัสเซีย นั่นคือพระประมุข “จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)” และครอบครัวของพระองค์
2
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)
ความไม่พอใจของประชาชน ได้กลายเป็น “การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution)” ในปีค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) ซึ่งจบลงด้วยการสิ้นอำนาจของพระราชวงศ์ และการหยุดชะงักของกองทัพรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ 1
2
เดือนธันวาคม ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) รัสเซียตกลงจะสงบศึกกับมหาอำนาจกลาง และปล่อยให้กองทัพเยอรมันเข้าสู้รบกับกองทัพสัมพันธมิตรทางแนวรบด้านตะวันตก
ทางด้านสหรัฐอเมริกา ย้อนกลับไปในช่วงที่สงครามเพิ่งจะเริ่มขึ้นในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) สหรัฐอเมริกาก็ยังคงวางตัวเป็นกลาง โดยยังคงทำการค้าและขนส่งทางทะเลไปยังชาติต่างๆ ในยุโรป ทั้งมหาอำนาจกลางและสัมพันธมิตร
4
แต่การวางตัวเป็นกลางของสหรัฐอเมริกาก็เริ่มจะไม่ได้ผล เมื่อเรือดำน้ำเยอรมันได้ทำการโจมตีเรือต่างๆ รวมทั้งเรือโดยสาร
1
ในปีค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) เยอรมนีประกาศว่าน่านน้ำรอบๆ เกาะอังกฤษเป็นเขตสงคราม และเรือดำน้ำเยอรมันก็ได้ทำการโจมตีเรือโดยสารและเรือสินค้าหลายลำ รวมทั้งเรืออเมริกันด้วย
1
ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) เรือ “ลูซิเทเนีย (Lusitania)” ซึ่งเดินทางจากนิวยอร์กไปลิเวอร์พูล ได้ถูกเรือดำน้ำเยอรมันโจมตีและอับปาง ทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต รวมถึงผู้โดยสารชาวอเมริกันด้วย ทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากไม่พอใจและต่อต้านเยอรมนี สื่อต่างๆ เริ่มวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน
1
การอับปางของเรือลูซิเทเนีย
กุมภาพันธ์ ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) รัฐสภาอเมริกันได้ออกบัญญัติการจัดสรรอาวุธ มูลค่ากว่า 250 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 7,500 ล้านบาท) ซึ่งหมายความว่าสหรัฐอเมริกาก็เตรียมตัวสำหรับการทำสงครามแล้ว
1
เดือนต่อมา เยอรมนีทำการโจมตีเรือสินค้าอเมริกันอีกสี่ลำ และในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) “วูดโรว วิลสัน (Woodrow Wilson)” ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ก็ได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนี
2
ในเวลานั้น ชาติต่างๆ ในยุโรปต่างคุมเชิงกันอยู่ โดยกองทัพสัมพันธมิตรสามารถพิชิตจักรวรรดิอ็อตโตมัน ซึ่งอยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
2
กองทัพสัมพันธมิตร นำโดยอังกฤษ ได้ทำการโจมตีคาบสมุทรกัลลิโพลิในเดือนเมษายน ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) ซึ่งก็ล้มเหลว และในเดือนมกราคม ค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) กองทัพสัมพันธมิตรก็ทำการถอนทัพออกจากชายฝั่งของคาบสมุทรกัลลิโพลิ ภายหลังจากสูญเสียทหารไปกว่า 250,000 นาย
2
กองทัพสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยอังกฤษ ได้ทำการสู้รบกับกองทัพอ็อตโตมันในอียิปต์และเมโสโปเตเมีย ส่วนทางเหนือของอิตาลี กองทัพออสเตรียและอิตาลี ก็ได้เผชิญหน้ากันใน “ยุทธการไอซอนโซ (Battles of the Isonzo)” ซึ่งเป็นชุดการรบถึง 12 ครั้งระหว่างชาติทั้งสอง
1
ยุทธการแรกที่ไอซอนโซเกิดขึ้นในปลายฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) ภายหลังจากที่อิตาลีเข้าร่วมสงคราม โดยอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตร
ในยุทธการครั้งที่ 12 ที่ไอซอนโซ กองกำลังเสริมฝ่ายเยอรมนี ได้ช่วยกองทัพจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และสามารถเอาชนะได้
1
ภายหลังจากยุทธการครั้งที่ 12 อิตาลีได้อาสาเข้ามาช่วยเหลือสัมพันธมิตร โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกาซึ่งมาทีหลัง ได้มาถึงดินแดนนี้ และฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มจะยึดคืนแนวหน้าอิตาลี
สำหรับการรบทางน่านน้ำ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ความเกรียงไกรของกองทัพเรืออังกฤษนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ชาติใดจะเทียบได้ หากแต่กองทัพเรือเยอรมันก็อยากจะขึ้นมาเทียบรัศมี โดยมีกลุ่มเรือดำน้ำของกองทัพเป็นอาวุธสำคัญ
1
ภายหลังจากที่ฝ่ายอังกฤษทำการลอบโจมตีเรือเยอรมันในทะเลเหนือเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ.1915 (พ.ศ.2458) ทำให้กองทัพเรือเยอรมันไม่กล้าต่อกรกับกองทัพเรืออังกฤษ ว่างเว้นการรบทางทะเลไปมากกว่าหนึ่งปี และทุ่มความหวังทั้งหมดไปกับเรือดำน้ำ (คุ้นๆ จังครับ)
1
สำหรับยุทธการทางทะเลครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด คือใน “ยุทธการที่จุ๊ตแลนด์ (Battle of Jutland)” ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) และยิ่งทำให้ชื่อเสียงของกองทัพเรืออังกฤษเกรียงไกรยิ่งกว่าเดิม อีกทั้งเยอรมนีก็ไม่สามารถจะบุกข้ามแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรไปได้
1
ส่วนการรบทางอากาศ สงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นสงครามใหญ่ครั้งแรกที่มีการรบทางอากาศ
1
ถึงแม้ว่าการรบทางอากาศในสงครามโลกครั้งที่ 1 จะไม่ได้โดดเด่นเท่าการรบทางทะเล แต่ก็นับเป็นการเปิดศักราชการรบทางอากาศ ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา
ในช่วงเริ่มแรกของสงครามโลกครั้งที่ 1 การบินนับเป็นสิ่งใหม่ “พี่น้องตระกูลไรท์ (Wright Brothers)” ผู้บุกเบิกการบิน ก็เพิ่งได้ทำการบินด้วยเครื่องบินลำแรกในปีค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) ซึ่งนั่นก็คือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงแค่ 11 ปีเท่านั้น
ในเวลานั้น หน้าที่หลักๆ ของเครื่องบินในกองทัพ คือการสอดแนม ทำการบินค้นหาจุดอ่อนของฝ่ายเยอรมนี และช่วยให้อังกฤษสามารถขับไล่เยอรมนีออกไปจากฝรั่งเศสได้
2
เมื่อสิ้นสุดสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลิตเครื่องบินมากกว่าเยอรมนีถึงห้าเท่า และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) อังกฤษก็ได้ก่อตั้ง “กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (Royal Air Force)” ซึ่งเป็นกองทัพอากาศแรกที่แยกต่างหากจากกองทัพบกและกองทัพเรือ
ทางด้านเยอรมนี เมื่อเยอรมนีสามารถสร้างกองทัพที่แข็งแกร่งทางแนวรบด้านตะวันตก ก็ทำให้กองทัพสัมพันธมิตรต้องหาทางต้านทัพเยอรมันอีกด้าน รอจนกว่ากำลังเสริมอเมริกันจะมาถึง
15 กรกฎาคม ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) กองทัพเยอรมันได้ทำการโจมตีครั้งสุดท้าย โดยโจมตีกองทัพฝรั่งเศสใน “ยุทธการที่มาร์นครั้งที่สอง (Second Battle of the Marne)”
ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตีโต้กองทัพเยอรมัน โดยได้รุกตอบโต้ในอีกสามวันต่อมา
1
ทางฝ่ายเยอรมัน เมื่อสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก ก็จำเป็นต้องยกเลิกแผนการที่จะบุกขึ้นเหนือไปยังแฟลนเดอร์ ซึ่งก็คือดินแดนระหว่างเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส และเป็นบริเวณที่ฝ่ายเยอรมนีคาดหวังว่าจะพิชิต
ในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองนี้ นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยึดคืนดินแดนในฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมได้เป็นจำนวนมาก
2
ภายในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) มหาอำนาจกลางก็พ่ายแพ้ในทุกแนวรบ โดยตุรกีได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรในเดือนตุลาคม ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461)
2
ทางด้านจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งก็มีปัญหาภายในจากขบวนการชาตินิยมที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องยอมสงบศึกในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461)
2
ส่วนเยอรมนีซึ่งประสบปัญหาหลายอย่าง ทั้งทรัพยากรที่ก็แทบไม่เหลือแล้ว พันธมิตรของเยอรมนีต่างก็ยอมแพ้กันไปหมดแล้ว ทำให้เยอรมนีต้องจำยอมสงบศึกในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461)
2
ในการประชุมสันติภาพปารีส ที่จัดขึ้นในปีค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) เหล่าผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ต่างหารือถึงการสร้างโลกหลังสงคราม โลกที่ปราศจากความขัดแย้งจนก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่เหมือนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ผ่านมา
ผู้เข้าร่วมประชุมบางรายถึงกับเรียกสงครามโลกครั้งที่ 1 ว่า “สงครามที่ทำให้สงครามทุกอย่างสิ้นสุด”
2
หากแต่การลงนามใน “สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)” ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) ก็ไม่อาจทำให้ความหวังนั้นเป็นจริง
เยอรมนี ซึ่งต้องจำยอมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย ถูกวิกฤตหลายอย่างเข้ากระทบ ไม่ว่าจะเป็นการโดนประนามว่าเป็นต้นเหตุของสงคราม การที่ต้องยอมจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล และยังถูกปฏิเสธการเข้าร่วมองค์การสันนิบาตชาติ
วิกฤตที่โหมกระหน่ำ ทำให้เยอรมนีเคียดแค้น และรู้สึกว่าชาติของตนโดนหลอกให้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งสันติภาพที่ว่าก็เป็นเพียงสันติภาพที่ใช้บังหน้า หากแต่ตนนั้นถูกเอาเปรียบเต็มๆ
2
ภายหลัง ความคับแค้นใจของเยอรมนีที่มีต่อการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย จะเป็นหนึ่งในประกายไฟที่จะก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอีก 20 ปีต่อมา
1
สำหรับผู้เสียชีวิต สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้คร่าชีวิตทหารไปกว่าเก้าล้านนาย บาดเจ็บอีก 21 ล้านนาย ส่วนพลเรือนนั้นเสียชีวิตไปเกือบ 10 ล้านคน
2
และสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เป็นบทเรียนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์โลก และมีหลายแง่มุมให้ศึกษาจนถึงทุกวันนี้
1
โฆษณา