Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Banpong station
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2021 เวลา 23:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความเร็วสูงสุดของรถไฟสายสีแดง
เปิดตัวไปเมื่อ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมาสำหรับรถไฟฟ้าน้องใหม่ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเส้นทาง บางซื่อ - รังสิต และ บางซื่อ - ตลิ่งชัน นอกจากรูปร่างหน้าตาที่โฉบเฉี่ยว ดีไซน์ดูทันสมัยจากญี่ปุ่นแล้ว ที่ไม่ธรรมดาคือความเร็วของหนูแดงยังทำได้เหนือกว่ารถไฟฟ้าหลายสายที่เปิดก่อนหน้า คือวิ่งได้ถึง 160 กม./ชม. แต่ความเร็วให้บริการจะอยู่ที่ 145 กม./ชม. ซึ่งถ้าเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่นอย่าง BTS และ MRT ที่วิ่งราว 80 - 90 กม./ชม. ก็นับว่าต่างกันมากทีเดียว
ถึงแม้ว่าความเร็วนี้จะเท่าๆกับ airport rail link แต่อีกสิ่งที่รถไฟฟ้าสายนี้ ต่างจากสายอื่นก็คือใช้ความกว้างรางที่ 1 ม. ต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นของไทยที่ใช้ความกว้างราง 1.435 ม. ถึงตรงนี้หลายคนคงแปลกใจ สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องรางกว้างถึงใช้ความเร็วสูง ราง 1 ม.วิ่งได้ไม่เกิน 100 จึงเป็นความเข้าใจผิด ในโลกนี้ความกว้างของรางมีหลายขนาด หลายสิบมาตรฐานมาก ซึ่งรางขนาด 1.435 ม. นั้นเป็นที่นิยมใช้ในโซนยุโรปซึ่งเป็นเจ้าเทคโนโลยีรถไฟตั้งแต่แรกเริ่ม รวมทั้งยังเป็นกลุ่มแรกที่ทำรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง รางขนาดนี้จึงได้มีการถูกนำไปใช้แพร่หลายตามการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งในทางวิศวกรรมข้อสำคัญของการสร้างรถไฟความเร็วสูงจะอยู่ที่คุณภาพของทาง เพราะถ้ามองเหตุผลที่ความกว้าง คงจะทำรางกว้าง 3 - 4 ม. ตามความกว้างตัวรถไปแล้ว โดยรางขนาดความกว้าง 1 ม. ยอมรับการใช้งานที่ความเร็วได้ถึง 160 กม./ชม.
นอกจากนี้การใช้ราง 1 ม.ก็เพื่อวางแผนอัปเกรด ให้รถไฟปู๊นๆฉึกกะฉัก มาวิ่งร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย และยังมีแผนที่จะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าด้วยเช่นกัน จึงต้องวางระบบไว้รองรับอนาคต เป็นอีกสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในบ้านเราครับ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย