29 ส.ค. 2021 เวลา 07:01 • หนังสือ
📚 Book Review Ep.8
ถ้าอยากเป็นคนธรรมดาก็เป็นไป
แต่ถ้าอยากทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าคนธรรมดาคนอื่นต้องมาอ่านเล่มนี้ “หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสาม” ของ DAVE TROTT สำนักพิมพ์ WE LEARN
หนังสือเล่มนี้จะรวบรวม Case study การได้มาซึ่งไอเดียเจ๋งๆ จากเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วโลก โดยใจความสำคัญของหนังสือเล่มนี้อยากให้เรามีมุมมองที่หลากหลาย ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามันคือ “ความคิดสร้างสรรค์” นั้นเอง
ซึ่งการที่จะได้ความคิดสร้างสรรค์มา หมายถึง การที่คนเหล่านั้นสังเกต และเห็นความเชื่อมโยง และมองควมสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่า นั้นก็เพราะว่า….พวกเค้ามีประสบการณ์มากกว่า จึงทำให้เชื่อมโยงจุดต่างๆ ในชีวิตได้
ดังนั้นคนที่อ่านเยอะ ดูเยอะ รู้เยอะ เรียนเยอะ ลองเยอะ มันย่อมก่อประโยชน์ในอนาคตข้างหน้า
อาจเป็นภายใน 6 นาที หรือ 6 ปีข้างหน้า เราไม่รู้ แต่รู้ว่ายังไงก็ต้องได้ใช้ซักวัน
ซึ่งบางทีเรื่องราวในหนังสืออาจจะมีประโยชน์ซักวันกับคุณก็ได้
ตัวอย่างเรื่องราวที่น่าสนใจ
ระเบิดช่วยชีวิต
ในอดีตไนโตรกลีเซอรีนเป็นระเบิดที่ใช้ในการขุดเจาะเหมือง บ่อน้ำมัน อุโมงค์ซึ่งมีความเสถียรต่ำมาก ก่อให้เกิดอันตรายมีคนล้มตายหลายครั้ง ดังนั้นชายที่ชื่ออัลเฟรด โนเบลจึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เรียกว่าไดนาไมต์ ซึ่งมีความอันตรายน้อยกว่า ขนส่งได้โดยตกแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะระเบิด แต่อย่างไรก็ตามวันหนึ่งพี่ชายของเขาล้มป่วยและเสียชีวิตแต่หนังสือพิมพ์ดันเข้าใจผิดและรายงานว่าผู้เสียชีวิตคือเขา และพาดหัวข่าวอย่างน่าตกใจว่า
“โนเบล พ่อค้ามัจจุราชเสียชีวิตแล้ว” เขาถึงกับอึ้ง นอกจากนี้ เขาโดนสื่อหาว่าเขาเป็นชายผู้ร่ำรวยจากการคิดค้นวิธีฆ่าคนจำนวนมากขึ้นในเวลาที่รวดเร็วยิ่งกว่าเดิมเขาไม่อยากจะเชื่อ เค้ามองตัวเองว่าตนคือผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยการคิดค้นไดนาไมต์ เขาไม่อยากให้โลกจำเขาแบบนี้ เขาจะกำหนดเองว่าผู้คนจะจดจำเขาอย่างไร
ดังนั้น…เขาจึงจัดตั้งรางวัลโนเบลขึ้นมา
โดยในแต่ละปีจะมีการมอบรางวัลในสาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม และรางวัลพิเศษคือ “รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ” ทุกวันนี้รางวัลนี้เป็นรางวัลสูงสุดที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนหมายปอง
และชื่อโนเบลก็ได้รับการจดจำในแบบที่ต้องการ ไม่ใช่ พ่อค้ามัจจุราช ดังที่หนังสือพิมพ์ต้องการ
ชีวิตคือการขาย
พอล สมิทเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ เขาพยายามขายไอเดียหนึ่งมา 2 ปีแล้วนั้นก็คือ รายการเกมโชว์ที่ผู้เข้าแข่งขันต้องตอบคำถามโดยเลือกคำตอบจากตัวเลือก 4 ข้อบนหน้าจอ ถ้าตอบถูกทุกข้อ จะได้รับเงินรางวัลหนึ่งล้านปอนด์ไปครอง….. แต่ไปขายใครก็ไม่มีใครตกลง
มีคนนึงที่ชื่อว่า ลิดดิเมนต์สนใจไอเดียของเขาแต่ก็ยังติดใจกับรูปแบบเกม เขาคิดว่า การวางคำตอบไว้หน้าจอโต้งๆ จะทำให้เขาเสียเงินล้านในทุกเกม
สมิทเลยคิดว่าทำอย่างไรให้ลิดดิเมนต์เห็นว่าไม่จริง เขาเลยต้องการพิสูจน์ให้ลิดดิเมนต์เห็น
เขาขอให้ลิดดิเมนต์หยิบกระเป๋าตังค์ออกมารวมเงินจนครบ 250 ปอนด์ พร้อมทั้งตั้งกติกาว่าถ้าคุณตอบคำถามถูกคุณจะได้เงิน 500 ปอนด์ แต่ถ้าตอบผิดคุณจะเสีย 250 ปอนด์ สมิธถามคำถามแล้วบอกตัวเลือกทั้ง 4 ข้อ ลิดดิเมนต์ไม่แน่ใจว่าจะตอบอะไรหันไปถามคลอเดียเพื่อนของเขา
สมิธบอกว่า “นั้นคือคุณกำลังใช้ตัวช่วย โทรถามเพื่อน อยู่นะครับ” แต่สุดท้ายลิดดิเมนต์ก็ยังไม่แน่ใจ
สมิธบอกต่อว่าคุณยังเหลือตัวช่วย 50:50 อยุ่นะครับ ลิดดิเมนต์ตกลงใช้ตัวช่วย สมิธจึงตัดตัวเลือกทิ้งสองข้อ และลิดดิเมนต์ก็เลือกคำตอบได้ถูกต้อง สมิธจึงมอบเงินรางวัลให้ 500 ปอนแล้วบอกว่า “เงินรางวัลนี้เป็นของคุณแล้ว ถ้าตกเล่นต่ออีกคุณจะได้เพิ่มเป็นอีก 2 เท่า จากนั้นสมิธก็เอาเงินที่มีอยู่อีก 500 ปอนด์มาวาง แล้วถามคำถามข้อต่อไป พร้อมทั้งให้ตัวเลือกอีก 4 ข้อ
ลิดดิเมนต์หันไปถามคลอเดียอีกครั้ง สมิธห้ามและบอกว่าคุณใช้ตัวช่วยนั้นไปแล้ว ห้ามใช้อีกครั้งครับ เขาจึงถามสมิธว่า ผมมีทางเลือกอะไรอีกบ้าง สมิธบอกว่า “คุณสามารถใช้ตัวช่วย ถามคนดู ได้ครับ” ลิดดิเมนต์จึงเปิดประตูห้องไปถามพนักงานที่อยู่ด้านนอก แต่ก็ไม่มีใครมั่นใจในคำตอบเลย ลิดดิเมนต์คิด และบอกสมิธว่า
“ไม่เล่นดีกว่า ผมขอเลือกรับเงินรางวัล 500 ปอนด์แทน”
สมิธรู้เลยว่า….เขาขายไอเดียสำเร็จแล้ว เพราะลิดดิเมนต์เห้นแล้วว่าเขาไม่มีทางเสียเงินหนึ่งล้านปอนด์ในทุกเกมแน่
แล้วเดวิด ลิดดิเมนต์ก็หลงรักไอเดียนี้จนถึงขั้นจัดให้รางการได้ออกอากาศทุกคืนจนกลายมาเป็นที่มาของรายการ
“Who Wants To Be A Millionaire?” ที่ดึงดูดผู้ชมได้อย่างมากมาย
ทั้งหมดนี้เกิดจากสมิธไม่คาดหวังว่าลูกค้าจะใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจไอเดียของเขา แต่ทำให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวของเขาเองนั้นเอง
ไปลองหาอ่านกันดูนะคะ สนุกมากเลย : D
หนังสือจะนำเคสที่น่าสนใจ อ่านแล้วได้ข้อคิดดีๆ มาเป็นตอนๆ จบ
มีเวลาว่าง 5 นาที 10 นาทีก็อ่านได้แล้วค่ะ
#หนังสือดี #สำนักพิมพ์Welearn #รีวิวหนังสือ #อ่านง่ายภายในหนึ่งคำ
โฆษณา