29 ส.ค. 2021 เวลา 09:25 • ประวัติศาสตร์
เกลียดกันแต่ชาติปางไหน!? เผย 5 คู่พิพาทระดับประเทศที่เกลียดกันชนิดว่าชาติหน้าขออย่าได้เจอกันอีกเลย!! (ภาคสอง)
1
ความเดิมจากตอนที่แล้ว
เรายังมีคู่กรณีระหว่างประเทศทั่วโลก ที่กล่าวได้ว่าพวกเขาเกลียดกันยิ่งกว่าอะไรดี ซึ่งนี่คือเรื่องราวภาคต่อของประเด็นความขัดแย้ง ที่ทำให้เราได้เห็นว่าในโลกของเราใบนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่ไม่ได้ชอบพอกันมากเท่าใดนัก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
1. ตุรกี VS กรีซ
ตุรกีและกรีซ ทั้งสองประเทศมีประเด็นพิพาทมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล ต้องย้อนกลับไปในสมัยที่จักรวรรดิออตโตมันกำลังรุ่งเรือง และพวกเขาเคยปกครองชาวกรีกมาเป็นเวลานาน ทั้งสองประเทศได้ทำการต่อสู้กันในสงครามมาแล้วหลายครั้ง และปัจจุบันสถานะความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ไม่ได้ดีขึ้นนัก เนื่องจากยังมีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ ข้อพิพาทเรื่องดินแดนที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน
เกาะแก่งส่วนใหญ่ในทะเลอีเจี้ยนล้วนมีความสนิทชิดเชื้อกับทางประเทศกรีซมากกว่าตุรกี ถึงแม้ว่าบางเกาะจะอยู่ติดกับชายฝั่งของประเทศตุรกีก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้รัฐบาลของตุรกีไม่พอใจนัก โดยเฉพาะเกาะไซปรัส ที่ถือว่าเป็นดินแดนข้อพิพาทสำคัญของทั้งสองประเทศนี้ ตุรกีและกรีซแย่งกันเพื่อที่จะมีอิทธิพลภายในประเทศเกิดใหม่แห่งนี้ ในปี ค.ศ.1974 เกิดรัฐประหารในไซปรัส ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลกรีซ เนื่องจากไซปรัสเคยเป็นส่วนหนึ่งของกรีกโบราณ เพราะเหตุนี้เอง เลยทำให้ตุรกีต้องส่งกองทัพเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลหุ่นเชิดของกรีซในไซปรัส
1
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทางตอนเหนือของไซปรัสก็ถูกครอบครองโดยตุรกี ถึงแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของไซปรัสล้วนเป็นชาวกรีกก็ตาม
กรีซ VS ตุรกี สองประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งที่กินระเวลามาอย่างยาวนาน
2. อิหร่าน VS ซาอุดิอาระเบีย
ยังมีสองมหาอำนาจในตะวันออกกลาง ที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้กันและกัน โดยทั้งสองประเทศก็คือ อิหร่านและซาอุดิอาระเบีย ที่มีความขัดแย้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 เมื่ออิหร่านได้เกิดการปฏิวัติโค่นล้มสถาบันกษัตริย์และสถาปนาสาธารรัฐในอุดมคติของชาวมุสลิม ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ราชวงศ์ของซาอุดิอารเบียไม่พอใจ และเกรงว่าการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในอิหร่านจะเป็นการคุกคามต่อสถานะของสถาบันกษัตริย์ในซาอุดิอาระเบียในอนาคต
2
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งสองประเทศก็เริ่มกล่าวโทษกันไปมาอย่างเปิดเผยด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคงและความเชื่อด้านศาสนา และที่สำคัญที่สุด พวกเขาทำสงครามตัวแทนในระดับภูมิภาค เช่น ในสงครามเยเมน ซาอุดิอาระเบียให้การสนับสนุนรัฐบาลเยเมนในการสู้รบกบกลุ่มกบฏ 'ฮูธิ' (Houthi) ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน
ขณะเดียวกัน ในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซาอุดิอาระเบียให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏที่เป็นปฎิปักษ์ต่อนายบัชชาร์ อัล อัสซาด ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับอิหร่านนั่นเอง
เรียกได้ว่าทั้งสองประเทศนี้เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน และต่างไม่มีใครยอมใครกันก็ว่าได้
อิหร่าน VS ซาอุดิอาระเบีย สองชาติมหาอำนาจแห่งตะวันออกกลาง
3. โคลัมเบีย VS เวเนซุเอลา
โคลัมเบียและเวเนซูเอลาเป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ และพวกเขามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องดินแดนหลายแห่งในพื้นที่อ่าวเวเนซุเอลา และที่สำคัญ โคลัมเบียต้องต่อสู้กับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ที่มีชื่อว่า FARC มานานกว่าห้าทศวรรษ โดยชาวโคลัมเบียมองว่าพวกเขาคือกลุ่มก่อการร้าย แต่เวเนซุเอลากลับมองว่าพวกเขาคือวีรบุรุษ
1
การต่อสู้ระหว่างกองกำลังรัฐบาลโคลัมเบียและกลุ่ม FARC ดำเนินมาจนถึงปี ค.ศ.2017 รัฐบาลโคลัมเบียได้กล่าวหาว่าเวเนซุเอลาให้ที่พักพิงและสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย FARC โดยทางเวเนซุเอลาก็ได้ตอบโต้ด้วยการระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับทางฝั่งโคลัมเบีย
1
ถึงแม้ทั้งสองประเทศจะมีปัญหาไม่ลงรอยกัน แต่ด้วยวิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศเวเนซุเอลา โคลัมเบียได้แสดงความมีน้ำใจด้วยการเปิดรับผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลามากกว่าล้านคน ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม
1
กลุ่มก่อการร้าย FARC ที่ทางการโคลัมเบียเชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากเวเนซุเอลา
4. โมร็อกโก VS แอลจีเรีย
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 แอฟริกาเหนือส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศส โดยมีโมร็อกโกและแอลจีเรียคือหนึ่งในประเทศราชของฝรั่งเศส ที่ต่อมาภายหลังได้รับเอกราช โมร็อกโกได้อ้างว่าดินแดนทางตอนเหนือของแอฟริกาเป็นของพวกเขา และดินแดนบางส่วนในปัจจุบันอยู่ในประเทศแอลจีเรีย จนทำให้ทั้งสองประเทศทำสงครามสู้รบกันในปี ค.ศ.1963 ที่รู้จักกันในชื่อของสงครามทะเลทราย (Sand War) โดยฝ่าโมร็อกโกได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาณานิคมเดิมอย่างฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายแอลจีเรียได้รับการสนับสนุนจากประเทศอียิปต์และคิวบา หลังจากนั้นก็เกิดสงครามขึ้นครั้งในปี ค.ศ.1975
3
โดยโมร็อกโกอ้างว่าพื้นที่ทางตะวันตกของทะเลทรายซาฮาราเป็นของพวกเขา แต่ดินแดนแถบนั้นถูกอ้างสิทธิ์โดยประเทศมอริเตเนียและกลุ่มพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น ภายหลังได้เกิดสงครามขึ้น โดยฝ่ายโมร็อกโกได้รุกรานพื้นที่ทางตะวันตกของทะเลทรายซาฮารา จนทำให้แอลจีเรียต้องเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชนพื้นเมืองในการต่อต้านโมร็อกโก ก่อนที่สงครามจะยุติลงในปี ค.ศ.1994
ต่อมา แอลจีเรียกล่าวหาว่าโมร็อกโก เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ และทั้งสองประเทศได้ปิดพรมแดนเลิกการติดต่อทางการทูต
2
กล่าวได้ว่า ทั้งสองประเทศเกลียดกันจริง ๆ เกลียดกันยิ่งกว่าอะไรดี และไม่มีวีแววที่โมร็อกโกและแอลจีเรียจะหาหนทางเพื่อปรองดองกันได้เลย
แม้จะมีพรมแดนติดกัน แต่ใช่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะต้องดีด้วยเสียเมื่อไร
5. กาตาร์ VS ทุกประเทศในตะวันออกกลาง
1
อาจกล่าวได้ว่าดินแดนตะวันออกกลาง เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย โดยหนึ่งในประเทศที่ตกเป็นเป้าโจมตีมากที่สุดก็คือประเทศกาตาร์ ประเทศเล็ก ๆ ในตะวันออกกลางที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำมัน พวกเขาเป็นประเทศที่ผสมผสานโลกสมัยใหม่และโลกมุสลิมเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี แต่กลับไม่เป็นที่รักของเพื่อนบ้านอย่างซาดิอาระเบีย เพราะเหตุใด?
1
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางการซาอุดิอาระเบียและรัฐอาหรับอีก 8 ประเทศ ประกาศตัดความสัมพันธ์กับประเทศกาตาร์ โดยให้เหตุผลว่ากาตาร์เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศโดยรอบ โดยใช้สื่อดังอย่าง Al-Jazera ของรัฐบาลกาตาร์เป็นเครื่องมือในยุงยง ปลุกปั่นกลุ่มก่อความไม่สงบในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในตะวันออกกลาง
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้กาตาร์แสดงความไม่พอใจในท่าทีของประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นอย่างมากกับข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ถึงแม้ในปัจจุบัน จะมีประเทศอิสลามบางส่วนเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศกาตาร์ในระดับหนึ่งบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก และที่สำคัญ ซาอุดิอาระเบียยังคงเชื่อมั่นว่ากาตาร์คือผู้สนับสนุนการบ่อนทำลายอธิปไตยและความมั่นคงในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอย่างสนิทใจ
1
จริงหรือเปล่า? กับข้อกล่าวหาจากเพื่อนบ้านในตะวันออกกลางว่ากาตาร์ คือผู้บ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน
6. ญี่ปุ่น VS เกาหลีใต้ **พิเศษ**
นี่คือสองประเทศที่มีพลังการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและเป็นสองยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของโลก และกล่าวได้ว่าข้อพิพาทของทั้งสองประเทศ ย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลกเช่นกัน
ญี่ปุ่นและเกาหลีนั้นมีข้อพิพาทมานานกว่า 100 ปี และถ้าหากจะพูดกันตามความเป็นจริง ญี่ปุ่นและเกาหลีนั้นมีประเด็นพิพาทมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่กองทัพซามูไรของญี่ปุ่นได้พยายามรุกรานคาบสมุทรเกาหลีอยู่บ่อยครั้ง
ต่อมา กองทัพญี่ปุ่นได้รุกรานเกาหลีอีกครั้งระหว่างปี ค.ศ.1910 – 1945 โดยญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองดินแดนในคาบสมุทรเกาหลีด้วยความโหดร้ายทารุณ และได้บังคับแรงงานผู้ชายชาวเกาหลีให้ไปทำงานในโรงงานเหมืองแร่ หรือเกณฑ์กำลังทหารไปรบในสงคราม ส่วนผู้หญิงก็ถูกนำตัวไปเป็นหญิงบำเรอ (Comfort Woman) ให้กับทหารญี่ปุ่น
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี ค.ศ.1945 เกาหลีใต้ได้รับเอกราช และต้องรอคอยเวลานานกว่า 20 ปี กว่าที่พวกเขาจะเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนหลายล้านดอร์ลาร์สหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลของญี่ปุ่นได้ออกมารายงานว่าหลังจากที่เริ่มต้นฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับทางเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ.1965 ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินไปกว่า 800 ล้านดอร์ลาร์สหรัฐฯ และถือว่าได้ยุติเรื่องนี้ไปแล้ว
1
แต่ประเด็นไม่จบแค่นั้น เมื่อ ยู อึย ซัง นักการทูตชาวเกาหลีใต้ผู้เขียนหนังสือ Diplomatic Propriety & Our Interests With Japan ได้กล่าวกันสื่อ South Morning Post ไว้ดังนี้ว่า
'ความขัดแย้งยังดำเนินต่อไปด้วยเหตุผลสองประการ หนึ่งคือ ข้อตกลงเมื่อปี 1965 ไม่ได้จัดการกับปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเทศของเรา และสอง เราต้องการค่าชดเชยความเสียหายด้านสิทธิส่วนบุคคลของพลเมือง'
ประเด็นเรื่องหญิงบำเรอเป็นประเด็นที่เปราะบางระหว่างทั้งสองประเทศ ในปี ค.ศ.2015 ญี่ปุ่นได้ออกมาเอ่ยปากขอโทษ และสัญญาว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งพันล้านเยน ที่เป็นจำนวนเงินที่รัฐบาลเกาหลีใต้ร้องขอ เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปเยียวยาให้กับเหยื่อผู้ถูกทหารญี่ปุ่นกระทำย่ำยี
ครั้งหนึ่ง นาย ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในขณะนั้นได้กล่าวว่า
'ญี่ปุ่นและเกาหลีกำลังก้าวไปสู่ยุคใหม่ ไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นปัญหาสำหรับคนรุ่นต่อไป'
นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีประเด็นพิพาทเรื่องดินแดน และเรื่องข้อพิพาททางการค้า เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ชื่อว่าเป็นชาติมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของโลก ซึ่งเมื่อไรก็ตาม ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีประเด็นกระทบกระทั่งกัน ประเด็นเก่า ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก็มักถูกขุดคุ้ยขึ้นมาเพื่อเติมเชื้อไฟด้วยเช่นกัน
ในมุมของชาวเกาหลีใต้ พวกเขาเชื่อว่าทางการญี่ปุ่นไม่เคยมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อพิพาทระหว่างทั้งสองชาติเมื่อครั้งในอดีต
ข้อมูลจาก : ESKIFY.COM, BBC.COM
โฆษณา