Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ms.Lily จอมวางแผน
•
ติดตาม
29 ส.ค. 2021 เวลา 14:04 • สุขภาพ
ข่าวดีมาแล้วนะคะสำหรับคนที่คิดจะทำประกันสุขภาพแต่กลัวมีปัญหาต่างๆ เช่น การถูกเพิ่มเบี้ยประกันจากการเคลมเยอะ การถูกปฏิเสธรับประกันในปีต่อ ความคุ้มครองไม่ครอบคลุมถึงการรักษาพยาบาลบางประเภท หรือตัดสินใจเลือกซื้อประกันยากจังเพราะความคุ้มครองของแต่ละบริษัทประกันนั้นเข้าใจยากและรายละเอียดแตกต่างกันมาก
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้มีคำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564 เรื่องหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ ประเภทสามัญ แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือการปรับปรุงเนื้อหาในกรมธรรม์ใหม่นั่นเองค่ะ
#ทำไมถึงต้องมีการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่
✅ เพื่อกำหนดแบบและข้อความของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ มีมาตรฐานเดียวกันทั้งธุรกิจประกันชีวิต สามารถเปรียบเทียบกันได้
✅ เพื่อปรับปรุงเนื้อหาของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพให้มีเงื่อนไขความคุ้มครองที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี วิธีการรักษาทางการแพทย์ และวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนไป รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการปฏิรูประบบสาธารณสุข
✅ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมจ่าย (copayment) ระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย หลังจากหักจากจำนวนความรับผิดส่วนแรก (Deductible)
เรามาดูสาระสำคัญโดยย่อและประเด็นที่น่าสนใจของมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ (NEW HEALTH STANDARD) กันนะคะ
#ความคุ้มครองและผลประโยชน์
แบ่งออกเป็น 13 หมวด ดังต่อไปนี้
📌กรณีผู้ป่วยใน
หมวดที่ 1 : ค่าห้อง และค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) และค่าห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU)
หมวดที่ 2 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา ค่าบริหารโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าบริการทางการพยาบาล ค่ายา ค่าสารอาหารทางหลอดเลือด และค่าเวชภัณฑ์
หมวดที่ 3 : ค่าแพทย์ตรวจรักษา
หมวดที่ 4 : ค่ารักษาโดยการผ่าตัด (ศัลยกรรม) และหัตถการ
หมวดที่ 5 : การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery)
📌กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
หมวดที่ 6 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงก่อนและหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (ภายใน 30 วัน)
หมวดที่ 7 : ค่ารักษาพยาบาลการบาดเจ็บ กรณีผู้ป่วยนอก ภายใน 24 ชั่วโมงของการเกิดอุบัติเหตุต่อครั้ง
หมวดที่ 8 : ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
หมวดที่ 9 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคไตวายเรื้อรัง โดยการล้างไตผ่านทางเส้นเลือด
หมวดที่ 10 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคเนื้องอกหรือโรคมะเร็ง โดยรังสีรักษา รังสีร่วมรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา
หมวดที่ 11 : ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยเคมีบำบัด
หมวดที่ 12 : ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน
หมวดที่ 13 : ค่ารักษาพยาบาลโดยการผ่าตัดเล็ก (Minor Surgery)
#การต่ออายุสัญญาเมื่อครบรอบปีกรมธรรม์ (Renewal)
เมื่อครบรอบปีกรมธรรม์ บริษัทอาจพิจารณาไม่ต่ออายุในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยไม่แถลงข้อความจริงตามใบคำขอเอาประกันภัยหรือคำขอต่ออายุ (Reinstatement) ใบแถลงสุขภาพ และข้อแถลงเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่อาจมีผลต่อเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่รับประกันหรือรับประกับแบบมีเงื่อนไข
(2) ผู้เอาประกันภัยเคลมผลประโยชน์จากการรักษาหรือการป่วยโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์
(3) ผู้เอาประกันภัยเคลมค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลรวมกันทุกบริษัทเกินกว่ารายได้ที่แท้จริง
#การบอกเลิกสัญญา
บริษัทผู้รับประกันมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีหลักฐานชัดเจนว่า ผู้เอาประกันได้กระทำการฉ้อฉลประกันภัย เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันภัย
ฉ้อฉลประกันภัย หมายถึง การที่ผู้เอาประกันเรียกร้องผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย โดยมีเจตนากระทำการ ดังนี้
(1) ทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง
(2) เจตนาทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือการป่วยเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
#การปรับเบี้ยประกัน
บริษัทผู้รับประกันอาจปรับเบี้ยประกัน ณ วัน ครบรอบปีกรมธรรม์ จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
(1) อายุ และขั้นอาชีพของแต่ละบุคคล
(2)ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายสินไหมทดแทนโดยรวมของบริษัท (Portfolio)
#วันที่เริ่มมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
สรุปก็คือสำหรับใครที่ทำประกันสุขภาพไว้อยู่แล้ว ก็ต้องคอยติดตามข่าวสารจากบริษัทประกันให้ดีนะคะว่าจะมีการปรับเปลี่ยนแบบประกันเดิมให้เข้ากับมาตรฐานใหม่หรือไม่ หรือจะออกแบบประกันใหม่มีหน้าตาเป็นอย่างไร ส่วนใครที่ยังลังเลอยู่ว่าจะทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมอีกดีมั๊ย ก็ต้องเริ่มศึกษาทำความเข้าใจมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ได้แล้วนะคะ เพราะการบังคับใช้มาตรฐานนี้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ย่อมกระทบต่อการวางแผนในการบริหารจัดการความเสี่ยงค่ารักษาพยาบาลระยะยาวแน่นอนค่ะ
สำหรับแบบประกันที่เป็นไปตามมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ สามารถพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มครองและเบี้ยประกันได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
https://www.msmany.com/TH/portfolio/health2021cluster7.html
สุดท้าย อยากให้เพื่อน ๆ ได้เริ่มต้นวางแผนการทำประกันสุขภาพระยะยาว (Long-term care insurance) ไว้นะคะ เปรียบเสมือนเรามีเกราะไว้ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เกิดจากสุขภาพค่ะ และเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเงินที่เราเก็บออมมาทั้งชีวิตจะไม่หายไปกับความเจ็บป่วยและค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนะคะ
#MsLilyPlanner #วางแผนการเงิน #วางแผนประกันสุขภาพ #ประกันสุขภาพ #มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ #NewHealthStandard
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย