ถ้าคุณเป็นคนนึงที่เคยเขียนหรือพูด Feedbacks ให้เปลี่ยนใหม่ คุณจะใช้ “No feedback” “A bit of feedback” “Some feedback” หรือ “Tons of feedback” ก็ได้ แต่ทุกครั้งต้องไม่เติม S เท่านั้นเอง
“Would you like to weigh in on this?” “ใครมีข้อเสนอแนะอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างไหม?”
2. บอกว่าเราอยากฟังความคิดของเขา
“I would love to hear your thoughts.” “ฉันอยากจะได้ความคิดเห็นจากคุณ” หรือ “Let’s hear everyone’s thoughts on this.” “เรามาฟังความคิดเห็นจากทุกคนกันดีกว่า”
3 ใช้คำว่า Opinion ในการถาม
“Do you have an opinion on this issue?” “คุณมีความคิดเห็นยังไงในประเด็นนี้”
วิธีนี้คนฟังจะรู้สึกเหมือนว่าเราถาม และตอบข้อสงสัยเราโดยไม่รู้สึกว่าถูกเราโจมตี เช่น “Have you considered whether this color fits in with the rest of our color palette?” “คุณได้พิจารณาแล้วใช่ไหมคะว่าสีนี้เหมาะสมกับพาเลตของเรา”
2. “I’m afraid I disagree.”
เป็นวิธีพูดว่า “Unfortunately, I disagree.” “น่าเสียดายจังที่ฉันไม่เห็นด้วย” อย่างอ่อนน้อมและสุภาพ เช่น “I understand your main point, I’m afraid I disagree, and this is why…” “ฉันเข้าใจประเด็นของคุณค่ะ แต่ฉันยังไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะว่า...”
“I’m terribly sorry. I’m bad with names. Could you repeat your name for me, please?” “ฉันขอโทษจริง ๆ ฉันจำชื่อคนไม่เก่ง ขอถามชื่ออีกครั้งได้ไหมคะ”
“Forgive me, I can’t recall your name at the moment. Could I ask for your name again, please?” “ให้อภัยฉันเถอะนะ แต่ฉันจำชื่อคุณไม่ได้จริง ๆ ขอถามชื่ออีกครั้งได้ไหมคะ”
“I’m so sorry, I know we met at last year’s trade show and I remember you. I just have forgotten your name. Could you please repeat it?” “ฉันขอโทษจริง ๆ ฉันจำได้ว่าเราเคยเจอกันที่งานแสดงสินค้าปีที่แล้ว ฉันจำคุณได้ แต่ฉันลืมชื่อคุณจริง ๆ ขอถามอีกรอบได้ไหม?”
“I’m so sorry. We had that great chat over breakfast, but I’ve forgotten your name. Could you tell me again, please?” “ขอโทษนะคะ ฉันจำได้ว่าเราคุยกันสนุกมากเมื่อตอนทางอาหารเช้า แต่ฉันลืมชื่อคุณจริง ๆ คุณช่วยบอกชื่อคุณอีกรอบได้ไหมคะ”
3. แนะนำเพื่อนร่วมงานคนอื่นของเราให้เขารู้จัก
วิธีนี้จะเป็นวิธีที่เราได้รู้ชื่อเขาแบบเนียน ๆ เพราะเมื่อเราแนะนำเพื่อนร่วมงานเราแล้ว คนที่เราลืมชื่อเขาก็จะอาจจะแนะนำตัวเองกับเพื่อนของเรา ซึ่งตอนนั้นเราก็จะได้รู้ชื่อไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประโยคแนะนำก็อาจจะพูดว่า “May introduce you to Sandra? She is our CFO and she’s one of the co-founders.”
1. บอกสิ่งที่เรากำลังจะพูดต่อออกมา โดยเริ่มด้วยประโยคว่า “As I was saying...” “ที่ฉันกำลังจะพูดก็คือ...”
2. ถ้าเขายังขัดไม่เลิก ให้พูดออกไปว่า “Can we comeback to that point later?” “ไว้ค่อยคุยเรื่องนั้นกันนอกรอบได้ไหม?” เพื่อให้เขารู้ว่าเรื่องที่เขาพูดแทรกขึ้นมานั้นสามารถพูดทีหลังได้
3. ในกรณีที่ไม่หยุดก่อกวนจริง ๆ ก็ต้องบอกไปตรง ๆ เลยว่าให้ช่วยฟังที่เราพูดให้จบก่อนได้ไหม “Could you let me finish what I was saying?”
7. การพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
การทำงานกับปัญหาต่าง ๆ เป็นของที่มาคู่กันอยู่แล้ว ทำให้เราจะต้องมีการพูดคุยกันในทีมเพื่อรับรู้ปัญหาและหาทางแก้ ซึ่งประโยคที่มักจะคุ้นเคยกันก็คือ “Talk about a problem” แต่ถ้าอยากจะให้ฟังดูเป็นทางการมากขึ้น เราควรจะเปลี่ยนเป็น “Address an issue” แทน ซึ่งสามารถใช้ได้ในทั้งในกรณีที่ต้องการจะบอกว่าเรารับรู้ถึงปัญหา อภิปราย และหาทางแก้ไข
ตัวอย่างประโยค เช่น
“Let’s address this issue at the next meeting.” “ไว้เรามาหาทางออกของปัญหานี้กันในการประชุมคราวหน้านะคะ” หรือ “Our PR team has come up with s strategies to address this issue.”
นอกจากนั้นเมื่อเราต้องการพูดว่าพบสาเหตุของปัญหาแล้ว แทนที่จะพูดว่า “Find the problem” ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ “Identify the issue” แทน ในขณะที่การพูดถึงการคลี่คลายปัญหานั้น ก็ควรพูดว่า “Resolve the problem” แทน “Fix the problem” เพื่อฟังดูมืออาชีพมากขึ้น
8. การพูดแทรกอย่างสุภาพ
ในการพูดคุยงานหรือประชุม บางครั้งอาจจะมีคนพูดออกนอกประเด็นหรือกำลังจะเปลี่ยนประเด็นไป โดยที่เรายังมีเรื่องที่อยากจะพูดหรือถาม ในกรณีนี้เราสามารถพูดแทรกขึ้นมาอย่างสุภาพและดูเป็นมืออาชีพได้ง่าย ๆ ว่า “May I ask a question?” “ขอถามนิดนึงได้ไหม?” เช่น “May I ask a question before we proceed?” “ก่อนที่เราจะไปขั้นตอนต่อไป ขอถามอะไรนิดนึงได้ไหมคะ?” ซึ่งเราสามารถใช้ประโยคนี้ทั้งกับเจ้านาย หรือผู้ใหญ่ได้ด้วย
เมื่อต้องพูดสิ่งที่เราต้องการ หลายคนมักจะใช้ประโยคว่า “I want to” แต่ถ้าเราอยากจะพูดแบบตรงไปตรงมา ให้ตัวเองดูมีความมั่นใจ และเป็นมืออาชีพด้วย เราควรจะเปลี่ยนมาใช้ประโยคว่า “I would like to” แทน ซึ่งเป็นประโยคที่ฟังสุภาพและดูดีกว่า และรูปแบบการใช้ในประโยคก็ไม่ได้แตกต่างกัน เช่น ถ้าอยากจะปรึกษาเรื่องการขึ้นเงินเดือนกับเจ้านาย ก็แค่เปลี่ยนจาก “I want to discuss a raise at the next meeting.” เป็น “I would like to discuss a raise at the next meeting.”