Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่างสมอง :: BRAIN Tank ::
•
ติดตาม
30 ส.ค. 2021 เวลา 09:59 • ความคิดเห็น
เปิดบันทึกปั๊มหัวใจ รพ.แรก มีตรงไหนน่าสงสัยบ้าง เอาปากกามาวง !
3
www.pptvhd36.com
คดีที่ผู้ต้องหา ถูกถุงดำคลุมหัวและเสียชีวิตนั้น
ก่อนหน้านี้ มีประเด็นเรื่องใบรับรองการเสียชีวิต
ที่สันนิษฐานว่า เป็นพิษจากสารแอมเฟตามีนนั้น
ขณะนี้มีข้อมูลจากเวชระเบียน รพ.แรก
เพิ่มเติมออกมาแล้ว ซึ่งผู้ต้องหาอยู่ที่ รพ.นี้
เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 64 นานประมาณ 6 ชม.
(13.38 - 19.20 น.) มีประวัติการรักษา ที่เปิดเผยออกมา 1 หน้า มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
🚨 ไทม์ไลน์การรักษา ที่ห้องฉุกเฉิน
🕜 13.38 น.
อดีตตำรวจ นำผู้ต้องหาคดียาเสพติด
ส่งที่ รพ.เอกชน ให้ข้อมูลว่า
🔥 ตำรวจวิ่งไล่จับกุมผู้ต้องหายาเสพติด นานประมาณ 10 นาที หลังจับกุมผู้ต้องหามีอาการวูบ
หมดสติ ไม่หายใจ จึงนำตัวส่งโรงพยาบาล และทำการปั๊มหัวใจ ระหว่างนำส่ง รพ.
ประวัติการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน รพ.แรก [www.komchadluek.net]
🕜 13.38 น. ทีมแพทย์เริ่มทำการปั๊ม (CPR)
🕜 13.45 น. ใส่ท่อช่วยหายใจ (ET-Tube)
🕜 13.50 น. ให้ยากระตุ้นหัวใจ (Adrenaline) ทางท่อช่วยหายใจ
🕜 13.58 น. ให้ยากระตุ้นอีกครั้ง ทางหลอดเลือดดำ (IV)
🕜 14.00 น. คนไข้กลับมามีสัญญาณชีพ (ROSC) หรือ Return of Spontaneous Circulation
🕜 14._ _ น. รักษาด้วยการโหลดน้ำเกลือ 1 ลิตร
พร้อมกับให้ยากระตุ้นหัวใจ 2 ชนิด
🕜 14.50 น. โหลดน้ำเกลือครบ
🔥 ตรวจเลือดพบโพแทสเซียมสูง และเลือดเป็นกรด pH 6.76 จึงรักษาด้วยการให้โซเดียมไบคาร์บอเนต (7.5% NaHCO3)
🔥 วินิจฉัยว่า หัวใจหยุดเต้น (Cardiac arrest)
สงสัยสาเหตุจาก เลือดเป็นกรดอย่างรุนแรง (Severe acidosis)
🕜 19.20 น. ผู้ป่วยถึง รพ. ที่สอง
🚨 ประวัติการรักษา มีอะไรแปลกบ้าง ?
1️⃣ สัญญาณชีพแรกรับไม่ตรงกัน
สัญญาณชีพแรกรับ
ในบันทึกแรกรับ ที่หัวกระดาษลงไว้ว่า
BP (ความดัน) 84/46 มม.ปรอท
PR (ชีพจร) 104 ครั้ง/นาที
RR (การหายใจ) 20 ครั้ง/นาที
แต่ถ้าอ่านในส่วนที่แพทย์บันทึก เขียนไว้ว่า
แรกรับ คลำชีพจรไม่ได้ จึงเริ่มนวดหัวใจ
(Start CPR) 13.38 น.
❌ เวลาเดียวกัน คนไข้คนเดียวกัน
แต่สัญญาณชีพไม่ตรงกัน ? เชื่อใครดี ?
1
2️⃣ ไม่มีบันทึกตรวจร่างกาย
ทั้ง ๆ ที่หัวกระดาษเขียนว่า Physical Examination (ใบบันทึกตรวจร่างกาย) แต่กลับไม่มีบันทึก การตรวจอวัยวะสำคัญเลย
2
โดยเฉพาะเคสหัวใจหยุดเต้นนอก รพ. หรือเคสคดี ปกติแล้วจะต้องจดบันทึก การตรวจร่างกายอย่างละเอียด
เป็นไปได้ว่า อาจมีใบบันทึกสำหรับ CPR
หรือมีใบสำหรับตรวจร่างกาย แยกจากกัน
แต่อย่างน้อยแรกรับ ควรมีบันทึก A B C D E
หรือการตรวจเบื้องต้นบ้าง
❌ ในประวัติไม่มีบันทึกตรวจร่างกายเลย
หรือมี แต่อาจไม่เปิดเผย ? หรือหาย ?
3️⃣ รักษาช็อกแบบไม่หาสาเหตุ
ขอไม่วิจารณ์ขั้นตอนการ CPR
แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้ยากมาก ที่จะรักษาคนไข้หัวใจหยุดเต้น (Arrest) แบบไม่หาสาเหตุ ! และวินิจฉัยแค่ว่า กรดในเลือดสูง
เพราะปกติถ้ากรดในเลือดสูง ต้องหาสาเหตุต่อว่า เกิดจากอะไร แล้วลงวินิจฉัยด้วยสาเหตุนั้น
เช่น สงสัยว่า กรดสูงจากหัวใจขาดเลือด,
จากแอมเฟตามีน หรือมีเลือดออกผิดปกติ
❌ หัวใจหยุดเต้น จากเลือดเป็นกรดแค่นั้น ?
คนไข้ Arrest ก็เลือดเป็นกรดเกือบทั้งนั้น 😑
4️⃣ ไม่มีผลอัลตราซาวน์ข้างเตียง
ปัจจุบัน การทำอัลตราซาวน์ข้างเตียง (Bedside US) แทบจะเป็นเรื่องปกติ ในการดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น เพราะทำง่าย ช่วยผู้ป่วยได้เยอะ
แทบจะต้องทำทุกเคสที่ arrest ทั้งช่วยดูการทำงานของหัวใจ, ดูปริมาณเลือด รวมถึงช่วยหาสาเหตุของช็อก เช่น เลือดออกในท้อง, ลมรั่วในปอด, กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วน ไม่ทำงาน
ยิ่งคนไข้อายุน้อย มีประวัติใช้สารเสพติด
วิ่งแล้วล้มทันที ยิ่งต้องสงสัยปัญหาจากหัวใจ
แต่กลับไม่มีผลอัลตราซาวน์เลย
1
2
อัลตราซาวน์ข้างเตียง [https://www.mcgill.ca/emergency/education/fellowship/ultrasound
5️⃣ ไม่มีผลเอกซเรย์ปอด
คนไข้ใส่ท่อช่วยหายใจทุกคน ต้องทำเอกซเรย์
เพื่อคอนเฟิร์มตำแหน่งท่อ และเพื่อหาความผิดปกติของปอด ที่อาจเป็นสาเหตุของช็อก แต่รายนี้ก็ไม่มีบันทึกไว้
🚨 ปกติเคส CPR บันทึกประวัติ ได้หลายหน้า เพราะต้องรักษาหลายอย่าง ตรวจเพิ่มหลายสิ่ง
แต่นี่มีหน้าเดียว และข้อมูลสำคัญ ดูหายไปหลายอย่างเลย หรือจะซ้ำรอย หมอชันสูตร 😬
แค่สงสัยค่า
1
6
สำหรับข้อมูลแอมเฟตามีนเพิ่มเติมนะคะ 🤓👇
blockdit.com
[อ่างสมอง :: BRAIN Tank ::] แอมเฟตามีนหรือยาบ้า ทำให้ตายได้ไหม ?
แอมเฟตามีนหรือยาบ้า ทำให้ตายได้ไหม ?
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🧠🙏
อ้างอิงจาก
📚
https://cpr.heart.org
💻
https://www.komchadluek.net/news/480903
💻
https://www.pptvhd36.com/news//อาชญากรรม/155104
3 บันทึก
45
130
23
3
45
130
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย