30 ส.ค. 2021 เวลา 11:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตีแผ่สมรภูมิ E-commerce ไทย ตรงไหนคือโอกาส
2
มูลค่า E-commerce หรือการค้าปลีกออนไลน์ของไทยขยายตัวกว่า 7 เท่าตัวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ในปี 2020 ขนาดตลาด
6
E-commerce ของไทยอยู่ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาทหรือ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยเติบโตเฉลี่ย 42% ต่อปีในระหว่างปี 2015 ถึง 2019
ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2020
โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 80% จากปีก่อนหน้า สวนทางกับมูลค่าค้าปลีกผ่านทางหน้าร้าน (store-based retail) ที่หดตัวถึง 11%
5
สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคไปสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
ภายใต้ข้อจำกัดของการเดินทางจากมาตรการล็อกดาวน์ และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อในที่ชุมชน
1
ไทยมีขนาด E-commerce ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียนแต่ยังมีสัดส่วนค้าปลีกออนไลน์น้อย และการใช้จ่ายออนไลน์ต่อหัวยังค่อนข้างต่ำ
2
หากเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศอาเซียน อินโดนีเซียมีตลาด E-commerce หรือค้าปลีกออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทิ้งห่างไทยที่มีตลาด E-commerce ใหญ่เป็นอันดับ 2 ถึงกว่า 4 เท่าตัว
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีสัดส่วนของมูลค่า E-commerce คิดเป็นถึง 1 ใน 5 ของมูลค่าค้าปลีกรวม ซึ่งนับได้ว่าสูงที่สุดในอาเซียน และสูงกว่าสิงคโปร์ที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในอาเซียน
1
ขณะที่สัดส่วนค้าปลีกออนไลน์ของไทยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำคือประมาณ 9% ของยอดค้าปลีกรวมเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาการใช้จ่ายบน E-commerce ต่อผู้ใช้แล้ว มูลค่าการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ใช้ไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
กล่าวคือเฉลี่ยเพียงประมาณ 216 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี ซึ่งต่ำกว่าทั้งสิงคโปร์ (785 ดอลลาร์สหรัฐฯ) มาเลเซีย (341 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และอินโดนีเซีย (219 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
1
KKP Research คาดว่ามูลค่า E-commerce ของไทยจะแตะ 7.5 แสนล้านบาทในปี 2025 หรือคิดเป็น 16% ของมูลค่าค้าปลีกรวมของประเทศที่จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท
1
แม้ธุรกิจค้าปลีกที่มีหน้าร้านจะยังคงสัดส่วนหลักและคาดว่าจะยังขยายตัวได้เฉลี่ย 4.8% ต่อปีระหว่างปี 2020-2025 แต่มูลค่าตลาด E-commerce ที่จะขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ย 20% ต่อปี
จะสนับสนุนให้มูลค่าตลาดค้าปลีกรวมของไทยขยายตัวได้ราว 6.6% ต่อปีตลอด 5 ปีข้างหน้า
1
โดยภายในปี 2025 มากกว่า 40% ของการเติบโตของตลาดค้าปลีกไทยจะถูกขับเคลื่อนจากการขยายตัวของ E-commerce
สะท้อนถึงบทบาทของ E-commerce ที่จะมาต่อยอดการขยายตัวของมูลค่าตลาดค้าปลีกรวมของไทย โดยยังไม่กระทบการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกเดิมในระยะสั้นที่จะเริ่มฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย
1
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และหมวดอาหารและสุขภาพมีแนวโน้มขยายตัวดี ขณะที่ท่องเที่ยวชะลอตัวลงอย่างรุนแรง บริการด้านการท่องเที่ยวและเดินทาง
โดยเฉพาะการจองที่พักและตั๋วเครื่องบินนับเป็นตัวขับเคลื่อน E-commerce ที่สำคัญต่อเนื่องกระทั่งปี 2019
3
อย่างไรก็ตาม มูลค่าตลาดการท่องเที่ยวและเดินทางหดตัวลงอย่างหนักในปี 2020 (-43%)
จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้การท่องเที่ยวและเดินทางซบเซาอย่างรุนแรง
ในทางกลับกัน สินค้าหมวดอาหารและสุขภาพที่ซื้อขายผ่าน E-commerce เติบโตขึ้นอย่างโดดเด่นถึง 74%
จากการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคมาอยู่ในบ้านและความใส่ใจเรื่องสุขภาพ ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นหมวดที่มีมูลค่าตลาดบน E-commerce ใหญ่ที่สุดนอกเหนือจากบริการท่องเที่ยวและเดินทาง และยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง
ตามมาด้วยหมวดของเล่น เครื่องใช้ และงานอดิเรก และหมวดเสื้อผ้าและความงาม ตามลำดับ
1
ในระยะต่อไป KKP Research มองว่าสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดอาหารและสุขภาพ ซึ่งอธิบายการเติบโตของตลาด E-commerce ในไทยระหว่างปี 2016-2020 ถึงราว 60% ของอัตราการเติบโตรวม
จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาด E-commerce ในประเทศไทย
ทั้งจากฝั่งอุปสงค์ที่มาจากสถานการณ์โควิดที่ยังไม่คลี่คลายในระยะสั้น และในระยะยาวที่แนวโน้มการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) และเศรษฐกิจแรงงานอิสระหรือ Gig Economy
จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และจากฝั่งผู้ค้าปลีกเดิมที่มีหน้าร้านที่จะผันตัวเข้ามานำเสนอสินค้าบน E-commerce เพิ่มมากขึ้น
ธุรกิจแพลตฟอร์มแข่งขันดุเดือด สุดท้ายอาจเหลือเพียงไม่กี่เจ้า
1
Shopee และ Lazada มีจำนวนผู้เข้าใช้งานมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการค้าปลีกออนไลน์ทั้งหมดในประเทศ โดยมีจำนวนการเข้าใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน (monthly web visits) สูงถึง 51 ล้านและ 33 ล้านราย ตามลำดับ
1
และเมื่อรวมการเข้าใช้งานของทั้งสองแพลตฟอร์มแล้ว คิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนการเข้าใช้บริการ E-commerce ทั้งหมดของประเทศไทย
ขณะที่รายได้หลักจากของทั้ง Shopee และ Lazada ขยายตัวสูงถึง 296% และ 43% ตามลำดับในปี 2020
จึงอาจกล่าวได้ว่า ตลาด E-commerce ไทยขยายตัวอย่างก้าวกระโดดจากการเร่งตัวของผู้ใช้งานในทั้งสองแพลตฟอร์มอย่างแท้จริง
1
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี ที่คิดเป็นสัดส่วนถึง 44-45% ในทั้งสองแพลตฟอร์ม
อย่างไรก็ตาม แม้รายได้ขยายตัวดี แต่การแข่งขันอย่างดุเดือดในธุรกิจแพลตฟอร์มส่งผลให้ธุรกิจแพลตฟอร์มยังคงอยู่ในภาวะขาดทุน
1
การแข่งขันสร้างฐานลูกค้าของธุรกิจแพลตฟอร์มรายใหญ่เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบและเสริมโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวเนื่องในอนาคต
ส่งผลให้ธุรกิจแพลตฟอร์มมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายผ่านการร่วมอุดหนุนผู้ขายสูงอย่างต่อเนื่อง
และส่งผลให้ธุรกิจแพลตฟอร์มโดยรวมยังคงขาดทุนและมีแนวโน้มขาดทุนต่อเนื่องในห้วงเวลาที่สงคราม E-commerce ยังไม่มีผู้ชนะอย่างชัดเจน
โดยหากเปรียบเทียบกับตลาด E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา
พบว่าผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งอันได้แก่ กลุ่ม Alibaba ในจีน และ Amazon ในสหรัฐอเมริกา
1
มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึง 57% และ 40% ตามลำดับ ทิ้งห่างอันดับ 2 (JD.com และ Walmart) ถึง 39% และ 33%
1
ซึ่งสะท้อนความจริงที่ว่าในตลาดที่ E-commerce ใหญ่และเติบโตสูง มีแนวโน้มที่จะมีผู้ชนะที่โดดเด่นเพียงรายเดียว
ขณะที่ในตลาด E-commerce ของไทย หากอ้างอิงจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ Shopee กับ Lazada พบว่ามีความแตกต่างเพียงประมาณ 6-8% เท่านั้น
1
และบ่งชี้ว่าการขับเคี่ยวระหว่างสองแพลตฟอร์มหลักยังไม่สิ้นสุด และระหว่างนี้อาจมีผู้ให้บริการรายอื่นที่สามารถสอดแทรกมาแย่งส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญได้
ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่สามารถสร้างแรงหนุนจาก E-commerce ผ่านกลยุทธ์ Multichannel และ Omnichannel ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่
เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าประเภทที่มีผู้ให้คำแนะนำ (Specialist Shops) มีข้อได้เปรียบในด้านความน่าเชื่อถือของผู้ขายเป็นทุนเดิม
และมีการบริการติดตั้งหรือบริการหลังการขายที่ดี สามารถสร้างการเติบโตในด้านผู้เข้ามาใช้บริการ E-commerce ผ่านหน้าเพจของตนเอง
ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าใช้บริการออนไลน์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ซึ่งสามารถบรรเทาผลกระทบจากการล็อกดาวน์ได้ในระดับหนึ่ง และสร้างโอกาสในการเติบโตใหม่เพิ่มเติมจากธุรกิจหน้าร้านในระยะต่อไปได้
โดยบางรายใช้กลยุทธ์ Multichannel หรือการขายออนไลน์แยกจากหน้าร้านและเน้นการส่งสินค้าอย่างรวดเร็วถึงบ้าน
1
เช่น ภายใน 3 ชั่วโมงในเขตกรุงเทพฯ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกที่มีความพร้อมสามารถเสริมสร้างประสบการณ์การเลือกซื้อ หรือเลือกรับสินค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านกลยุทธ์ Omnichannel ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก
ขณะที่บทวิเคราะห์ล่าสุดของ Bank of America มองว่า ในระยะต่อไป ธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน (Store-based retail) จะยังคงดำรงอยู่ แต่สินค้าที่จะวางจำหน่ายนอกจากสินค้ากลุ่มของชำ (Grocery) แล้ว
3
อาจเหลือเพียงสินค้าที่อาศัยปฏิสัมพันธ์กับพนักงานขายหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ (high touch)
เช่นเครื่องสำอาง น้ำหอม นาฬิกา เครื่องประดับ หรืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูง และสินค้าที่ต้องมีบริการติดตั้ง เช่น กลุ่มปรับปรุงบ้าน
ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป และสินค้ากลุ่มแฟชั่น จะขยับไปอยู่บน E-commerce เพิ่มมากขึ้น ทั้งในช่องทางออนไลน์ของธุรกิจค้าปลีกเดิม หรือบนแพลตฟอร์ม E-commerce
แต่ธุรกิจค้าปลีกที่มีหน้าร้านยังมีข้อเสียเปรียบจากโครงสร้างต้นทุนที่สูงกว่า
1
โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่และค่าจ้างพนักงาน ซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างค้าปลีกแฟชั่นในสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนถึงราว 15% และ 18% ของราคาขาย
สูงกว่าต้นทุนหลักของ E-commerce ซึ่งได้แก่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าขนส่ง ส่งผลให้อัตรากำไรของค้าปลีกหน้าร้านเหลืออยู่ที่ประมาณ 16% (Wall Street Journal, 2017)
และยังไม่นับรวมถึงความเสี่ยงที่ธุรกิจค้าปลีกหน้าร้านจะถูกกดดันจากการแข่งขันด้านราคาที่เกิดขึ้นได้ง่ายบน E-Commerce
ดังนั้น แม้กลยุทธ์ Omnichannel จะช่วยเสริมข้อได้เปรียบของธุรกิจค้าปลีกปัจจุบัน
แต่ก็อาจจำเป็นต้องปิดจุดอ่อนในด้านต้นทุนด้วยการปรับรูปแบบให้บริการหน้าร้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการลดต้นทุนคงที่ลง
ซึ่งอาจได้แก่ การลดจำนวนพนักงานขายหรือปรับจำนวนพนักงานให้สามารถยืดหยุ่นได้ตามช่วงเวลา และอาจรวมถึงการขยับสาขาไปอยู่ในต่างจังหวัดหรือเขตชานเมืองเพื่อลดค่าเช่าพื้นที่ลง
ค้าปลีกออนไลน์อาเซียนโตสูง
การขยายตัวของ E-commerce ไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
จากปัจจัยจำเพาะที่ใกล้เคียงกัน ทั้งในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและเครือข่าย สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ นโยบายและกฎหมาย
1
รวมไปถึงลักษณะทางสังคมและประชากร โดยตลาด E-commerce ของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยรวมยังมีขนาดเล็กและมีสัดส่วนต่อมูลค่าค้าปลีกรวมค่อนข้างต่ำ
หากไม่นับรวมอินโดนีเซียและสิงคโปร์ที่มีสัดส่วนมูลค่าค้าปลีกที่เป็น E-commerce สูงถึง 20% และ 16% ตามลำดับแล้ว
ตลาดค้าปลีกในอาเซียนส่วนใหญ่ยังมีสัดส่วนที่เป็น E-commerce ในระดับต่ำกว่า 9% ซึ่งต่ำกว่าเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่นำมาเปรียบเทียบ
1
อย่างไรก็ตาม E-commerce ในตลาดอาเซียนทั้งหมดมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในรอบ 5 ปีหลังสุดในระดับสูง
โดย E-commerce ในอินโดนีเซียขยายตัวอย่างก้าวกระโดดเฉลี่ยมากกว่า 70% ต่อปี ขณะที่ค้าปลีกออนไลน์ของไทยขยายตัวสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนในอัตราเฉลี่ยสูงถึง 52% ต่อปี
ด้วยขนาด E-commerce ที่ค่อนข้างเล็กแต่มีอัตราขยายตัวสูง อาเซียนจึงถูกจับตามองว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีโอกาสในการเติบโตของค้าปลีกออนไลน์สูง และ E-commerce จะเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมที่มีหน้าร้านได้
1
ทั้งนี้ ปัจจัยที่อธิบายลักษณะและการขยายตัวของตลาด E-commerce ในไทยและอาเซียนอาจแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่
 
(1) จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
(2) การเข้าถึงโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะสมาร์ตโฟนและการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเข้มข้น ซึ่งเป็นเสมือนตัวเปลี่ยนเกมให้ตลาด E-commerce เร่งตัวขึ้นอย่างมาก และ
1
(3) หลากหลายรูปแบบการชำระเงินออนไลน์ที่แพร่หลายในอาเซียน โดยเฉพาะบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ในไทยที่สะดวกและมีต้นทุนต่อผู้ใช้ต่ำมาก
ช่วยเติมเต็มให้เกิดการซื้อขายออนไลน์ (online transactions) และเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเติบโตของตลาด E-commerce ในอนาคต
E-commerce ในอาเซียนยังมีโอกาสเติบโตจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น
ประการแรก จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังมีโอกาสเติบโตได้ต่อเนื่อง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนประตูบานแรกเพื่อเข้าสู่บริการ E-commerce
โดยเฉลี่ยกลุ่มประเทศในอาเซียน 6 ประเทศหลัก (ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย)
ยังมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Internet penetration) อยู่ที่ประมาณ 78% ต่ำกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึงกว่า 94%
สอดคล้องกับสัดส่วนของค้าปลีกออนไลน์ของอาเซียนที่เฉลี่ย 10%
เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนค้าปลีกออนไลน์ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ปัจจุบันอยู่ที่ 18% หรือคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าถึง 2 เท่าตัว
1
สะท้อนถึงโอกาสในการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการ E-commerce ที่ยังเปิดกว้างจากการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและเครือข่าย
นอกจากนี้ อาเซียนยังมีช่องว่างในการเติบโตทั้งในแง่มูลค่าและประเภทสินค้าที่วางจำหน่ายผ่านช่องทาง E-commerce
ซึ่งสะท้อนผ่านมูลค่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยในอาเซียนที่ยังต่ำกว่าการใช้จ่ายในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่สูงกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี
ทั้งนี้ การใช้จ่ายออนไลน์เฉลี่ยของไทยต่ำกว่าทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และเมื่อพิจารณาดัชนีชี้วัดความครอบคลุมของอินเทอร์เน็ต หรือ Inclusive Internet Index ของ EIU
1
พบว่าในปี 2021 ไทยอยู่ที่ลำดับ 49 ของโลก เป็นที่ 3 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ (12) และมาเลเซีย (42) ขณะที่เศรษฐกิจในเอเชียอย่างฮ่องกงและเกาหลีใต้อยู่ในลำดับที่ 5 และ 11 ของโลกตามลำดับ
มือถือและโซเชียลพลิกโฉม E-commerce อาเซียน
ประการที่สอง E-commerce ในอาเซียนกำลังขยายตัวรวดเร็วจากประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อยและนิยมซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ smartphone
แม้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของ E-commerce ในอาเซียน แต่หากเปรียบเทียบเฉพาะกลุ่มประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
พบว่าอาเซียนมีสัดส่วนของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ (E-commerce adoption rate) สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ และสอดคล้องกับอายุเฉลี่ย (อายุมัธยฐาน หรือ Median age) ของประชากรอาเซียนที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 25-40 ปี ต่ำกว่าประชากรที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ความสัมพันธ์ระหว่างอายุประชากรกับ E-commerce เห็นได้ชัดมากยิ่งขึ้นในแง่การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ smartphone (Mobile E-commerce adoption rate)
ที่ประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนมีอัตราการซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือสูงที่สุดในโลก นำโดยอินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ตามลำดับ
สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นเจ้าของและพร้อมใช้โทรศัพท์มือถือ (Mobile-savvy) ในประชากรกลุ่ม Gen Y (Millennials) และ Gen Z ของอาเซียนที่มีสัดส่วนมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
และสามารถลดช่องว่างทางดิจิทัล (digital divide) ที่เกิดจากความไม่ทั่วถึงของเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานได้
1
นอกจากนี้ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networks) อย่างเข้มข้นในภูมิภาคอาเซียนส่งผลให้มูลค่าการค้าปลีกผ่านเครือข่ายหรือ social commerce มีสัดส่วนสูง
อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนผู้ใช้ Facebook ต่อประชากรสูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม และไทย
การซื้อขายผ่าน Facebook หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น (social commerce) เช่น Instagram หรือ YouTube ซึ่งรวมไปถึงการซื้อขายผ่านการคุยโต้ตอบออนไลน์ (conversational commerce) เช่น LINE หรือ Facebook Messenger จึงมีสัดส่วนสูง
โดยเฉพาะในไทยที่คาดว่ามูลค่าค้าปลีกออนไลน์ที่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีสัดส่วนสูงถึงกว่า 40% ของตลาด E-commerce ทั้งหมด (Priceza, 2020)
ซึ่งสะท้อนถึงความนิยมของผู้ค้าหรือร้านค้าที่ต้องการเข้าถึงฐานผู้บริโภคที่ครอบคลุมมากที่สุดถึง 85% ของประชากร
ขณะที่ผู้บริโภคไทยราวครึ่งหนึ่ง (50%) พร้อมซื้อสินค้าจากรูปหรือโพสต์ข้อความบนเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยไม่ผ่านช่องทางอื่น (PricewaterhouseCoopers, 2019)
6
พร้อมเพย์หนุนค้าปลีกออนไลน์ไทย
1
ประการที่สาม การเข้าถึงช่องทางการชำระเงินออนไลน์ (Online Payments) ที่หลากหลายส่งผลให้ E-commerce ไทยเร่งตัว
1
การเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยี 4G ที่มีความเร็วสูง ราคา smartphone ที่ลดลง และช่องทางการโอนและชำระเงินออนไลน์ผ่านทั้งช่องทางต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านธนาคาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านบริการพร้อมเพย์ และที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่นกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital wallet)
ส่งผลให้ในปัจจุบันไทยมีการใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile banking) และการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile payments) สูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก
2
โดยมีสัดส่วนถึง 68% และ 45% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตามลำดับ
1
ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดของ E-commerce ในไทยที่แต่เดิมต้องพึ่งพาบัตรเครดิต (ไทยมีจำนวนผู้ใช้บัตรเครดิตเพียง 10% ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
หรือใช้บริการชำระเงินปลายทาง (Cash on Delivery) เท่านั้น
ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการชำระผ่านโทรศัพท์มือถือส่งผลให้การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile E-commerce มีสัดส่วนสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
E-commerce ส่งเสริมธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
หมดยุคปลาใหญ่ กินปลาเล็ก...ใครว่ายน้ำเร็วกว่าต่างหากที่จะเป็นผู้ชนะ
2
แม้ว่าหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ในไทยจะเติบโตต่อเนื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่การระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคครั้งใหญ่
ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดแล้ว ยังส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องได้รับประโยชน์ไปด้วย
1
ขณะที่มีบางธุรกิจเช่นกันที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
KKP Research มองว่า ภาคธุรกิจหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของค้าปลีกออนไลน์
ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) และขนส่ง (Logistics) นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายธุรกิจที่จะสามารถเติบโตควบคู่ไปได้ อาทิ โฆษณาออนไลน์ และอื่นๆ
1. คลังสินค้า (Warehouse)
การเติบโตอย่างต่อเนื่องของค้าปลีกออนไลน์ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่ของคลังสินค้าขยายตัวขึ้น
แม้ว่าผลกระทบของโควิด-19 และการขยายพื้นที่คลังสินค้าเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต จะทำให้อัตราการถือครองพื้นที่คลังสินค้า (occupancy rate) ของไทยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 86% ในปี 2020
ในระยะต่อไป การเติบโตของร้านค้าปลีกออนไลน์จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อธุรกิจคลังสินค้า
1
โดยเฉพาะคลังสินค้าสมัยใหม่ที่มีรูปแบบการให้บริการครบวงจร (Fulfillment center) ศูนย์กระจายสินค้า รวมถึงห้องเก็บความเย็น (cold chain storage)
ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารและยา
การขยายตัวของธุรกิจคลังสินค้าและทำเลที่ตั้งของประเทศยังสามารถยกระดับและต่อยอดให้ไทยขยายไปสู่การเป็นศูนย์กลางคลังสินค้า (Warehouse Hub) ของภูมิภาคได้อีกด้วย
2. ขนส่ง (Logistics)
การขนส่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาค้าปลีกออนไลน์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและจำนวนผู้ให้บริการขนส่งที่มีมากขึ้นช่วยเกื้อหนุนการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์
ซึ่งจะส่งผลดีต่อเนื่องกลับมายังธุรกิจขนส่งโดยตรง โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งขั้นสุดท้ายหรือ Last-Mile Delivery จากการขยายตัวของฐานผู้บริโภคทั่วประเทศ หลายปีที่ผ่านมาความต้องการขนส่งสินค้าและพัสดุในไทยเพิ่มขึ้นมาก
1
โดยระหว่างปี 2014-2019 จำนวนการขนส่งพัสดุในไทยขยายตัวเฉลี่ยถึง 92% ต่อปี (Kerry Express, 2020) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจขนส่งของทั้งโลกที่อยู่เพียง 4.2%
และหากพิจารณาจำนวนการขนส่งพัสดุต่อประชากรในปี 2019
พบว่าไทยอยู่ที่ 8.3 ต่อประชากรหนึ่งคน ซึ่งยังน้อยกว่าประเทศที่มีการเข้าถึงค้าปลีกออนไลน์สูงกว่า อาทิ จีน (42.6) เกาหลีใต้ (48.2) เป็นต้น
แสดงให้เห็นว่าไทยยังมีโอกาสและช่องทางสำหรับการเติบโตของธุรกิจขนส่ง
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการแข่งขันสูงจากผู้ให้บริการที่เกิดขึ้นหลายราย
ทั้งนี้ Frost & Sullivan (2019) คาดการณ์ว่าการขนส่งของไทยยังจะสามารถขยายตัวสูงกว่า 30% ต่อปีได้ตลอดระยะ 3 ปีข้างหน้า
3. บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ขยายตัวควบคู่ไปกับการเติบโตของค้าปลีกออนไลน์ ข้อมูลจาก Bank of America บ่งชี้ว่า
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์คิดเป็นถึง 12% ของตลาดบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
1
ปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ประกอบกับทิศทางการขยายตัวของ E-commerce ของไทย
โอกาสในการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยังมีแนวโน้มโตต่อเนื่องในอีก 4-5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตในไทยเกือบ 80% ของทั้งหมดมาจากพลาสติก
ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในกระแสบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะถัดไป
ดังนั้น อาจเป็นโอกาสและช่องทางสำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหรือพลาสติกรีไซเคิลที่ยังมีส่วนแบ่งในตลาดน้อยอยู่
4. ธุรกิจดิจิทัลที่เกี่ยวเนื่องกับ E-commerce
1
ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาสื่อโฆษณาออนไลน์ (Digital advertising) ในไทยสามารถขยายตัวอย่างก้าวกระโดดราว 21% ต่อปี
จนในปี 2020 คิดเป็น 23% ของมูลค่าสื่อโฆษณาทั้งหมด ขยายตัวจากปี 2015 ที่อยู่เพียง 7%
โดยมากกว่า 50% ของโฆษณาออนไลน์ในไทยเป็นการโฆษณาบน Facebook และ YouTube
1
ซึ่งสะท้อนรูปแบบการเข้าถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และสอดคล้องกับการที่ไทยมีสัดส่วนของค้าปลีกออนไลน์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social commerce) อยู่ในระดับสูงถึงเกือบ 40%
ในระยะต่อไป KKP Research มองว่าการโฆษณาออนไลน์ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์หรือ E-marketplace จะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้น
1
ตามกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ตลาดสื่อโฆษณาออนไลน์เติบโตควบคู่ไปกับการขยายตัวแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์
1
ซึ่งสามารถวิเคราะห์ลักษณะและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ผ่านการเลือกซื้อสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์ม และเป็นช่องทางชี้ชวนขั้นสุดท้ายก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ จำต้องมีผู้เสียประโยชน์ การขยายตัวของตลาดค้าปลีกออนไลน์อาจส่งผลให้ธุรกิจขนส่งและอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเติบโตต่อเนื่อง
ในขณะที่หลายธุรกิจอาจต้องเผชิญกับความท้าทาย อาทิ ธุรกิจค้าปลีกที่อาศัยหน้าร้าน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือให้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ ร้านอาหารขนาดใหญ่ที่ถูกแย่งส่วนแบ่งจากบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ที่ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
1
หากแต่กลยุทธ์การปรับตัว เช่น การเพิ่มช่องทางออนไลน์ควบคู่กับหน้าร้าน หรือแม้แต่การปรับไปสู่รูปแบบออนไลน์ทั้งหมด
อาจกลายเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะอยู่รอดต่อไป และอาจเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตใหม่ของธุรกิจได้อีกด้วย
โควิด-19 เร่งธุรกิจไทยปรับตัวเพื่อให้รอด…และให้โต
โควิด-19 ทลายข้อจำกัดของธุรกิจเดิมและเป็นตัวเร่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมอาศัยปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3 ด้าน
1
ได้แก่ ทำเลที่ตั้งที่ใกล้แหล่งผู้บริโภค (localization) ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อผู้ขาย (trust) และประสบการณ์หน้าร้าน (human touch)
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ตามมาด้วยการทำงานจากที่บ้าน และมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐไม่เพียงแต่กระทบการดำเนินธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม
แต่ยังเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคหันไปใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ขณะที่ปัจจัยสู่ความสำเร็จชุดเดิมถูกแทนที่ด้วย
(1) การส่งสินค้าถึงบ้าน (home delivery)
(2) ชื่อเสียงของผู้ขายที่สะท้อนผ่านยอดขายและคะแนนรีวิว (online reputation) และ
(3) การสอบถามและบริการหลังการขายผ่านการพูดคุยออนไลน์ (online chat)
ช่องทางออนไลน์เป็นทั้งกลยุทธ์ลดผลกระทบและขยายโอกาสเติบโตในคราวเดียวกัน
KKP Research ประเมินว่าธุรกิจค้าปลีกออนไลน์จะขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูงแม้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงไปแล้ว
ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดของ Google ร่วมกับ Temasek บ่งชี้ว่ากว่า 95% ของผู้ที่เริ่มซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ช่วงโควิด-19 จะยังเลือกใช้บริการออนไลน์ต่อไป
การปรับตัวของธุรกิจดั้งเดิมไปสู่ช่องทางออนไลน์จึงเป็นทั้งกลยุทธ์เพื่อลดกระทบ (mitigation strategy)
จากสถานการณ์โควิด-19 ในห้วงเวลาปัจจุบัน และเป็นการขยายโอกาสเติบโต (growth strategy) สำหรับอนาคต
โดยภาคธุรกิจสามารถปรับตัวเพื่อสอดรับกับการเติบโตของค้าปลีกออนไลน์ได้อย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่
1. ธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มศักยภาพจากการสร้างรอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint)
ในอนาคตที่ประสบการณ์หน้าร้านและทำเลที่ตั้งมีความสำคัญลดน้อยลง ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่อาจเป็นที่รู้จักเฉพาะในท้องถิ่นควรวางแผนในการทำให้ธุรกิจของตนเป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านการสร้างตัวตนในอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้สามารถค้นเจอได้ง่ายจากผู้ใช้ทั่วไป โดยอาจเริ่มต้นจากการเพิ่มข้อมูลธุรกิจ (business profile) บนบริการแผนที่ออนไลน์ (Google Maps, Bing Maps)
หรือการสร้างหน้าบัญชีธุรกิจบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นที่นิยม
เช่น Facebook Instagram หรือ LINE และหมั่นเติมเนื้อหาที่เกี่ยวกับตัวสินค้าและเรื่องทั่วไปเพื่อให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) กับผู้ติดตาม
1
ซึ่งจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นรายได้จากการค้าปลีกออนไลน์ได้
นอกจากนี้ การเริ่มขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce หรือ
E-marketplace จะเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าสู่ธุรกิจ
E-commerce ได้อย่างรวดเร็ว
2. หลอมรวมช่องทางหน้าร้านและออนไลน์เพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภค (omni-channel experience)
สำหรับธุรกิจค้าปลีกที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าที่มียี่ห้อติดตลาด
1
อาจเพิ่มช่องทางการขายหรือการจองสินค้าทางออนไลน์เพื่อเพิ่มความสะดวกกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และสามารถนำมาหลอมรวมกับบริการหน้าร้าน เช่น การลองสินค้าหรือการนัดรับสินค้า
เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคได้ และอาจใช้สินค้าออนไลน์ชักจูงลูกค้าเข้าร้านโดยตั้งราคาให้น่าสนใจ (loss leader) เพื่อดึงให้ลูกค้ามารับของหน้าร้านและใช้จ่ายเพิ่มเติมในสินค้าหรือบริการอื่น
3. ควรกระจายความเสี่ยง (diversification) ผ่านหลากหลายช่องทางและหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์
ในห้วงเวลาที่การค้าปลีกออนไลน์มีการขยายตัวสูง หลายบริษัททั้งจากต่างประเทศและในไทยต่างลงทุนสร้างแพลตฟอร์ม (E-commerce platform)
และจัดรายการส่งเสริมการขาย เช่น การให้ส่วนลดสินค้าหรือลดค่าจัดส่ง เพื่อเพิ่มจำนวนทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด
ซึ่งจะนำไปสู่ความได้เปรียบทางขนาด (scale) และสร้างประโยชน์จากเครือข่าย (network effect) ที่จะส่งผลให้แพลตฟอร์มของตนมีมูลค่าสูงสุด และนำไปสู่ธุรกิจต่อยอดอื่น ๆ ได้
1
อย่างไรก็ตาม KKP Research มองว่าการแข่งขันที่รุนแรงดังกล่าวจะจบลงด้วยการมีผู้ชนะเพียงไม่กี่ราย ขณะที่แพลตฟอร์มที่เหลือจะทยอยปิดตัวลง
ดังนั้นธุรกิจออนไลน์จึงควรกระจายความเสี่ยงโดยการสร้างการมองเห็น (visibility) ของธุรกิจในหลากหลายช่องทาง
ทั้งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Facebook, Instagram) แพลตฟอร์มค้าปลีก (Shopee, Lazada) โฆษณาในเซิร์ชเอ็นจิน (Google, Bing) เว็บบอร์ดเฉพาะกลุ่ม (special interest groups)
หรือแม้แต่การเป็นพันธมิตรกับธุรกิจค้าปลีกที่มีหน้าร้าน เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการที่แตกต่าง และสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่องแม้บางช่องทางหรือบางแพลตฟอร์มอาจต้องปิดตัวลง
บทบาทภาครัฐ เสริมศักยภาพค้าปลีกออนไลน์
KKP Research มองว่าภาครัฐสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
เพื่อยกระดับผลิตภาพในภาคบริการ สร้างงานในภาคธุรกิจใหม่ และสร้างการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมแก่ธุรกิจรายย่อย ผ่านการส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานและลดขั้นตอนและกฎระเบียบใน 3 ด้าน ได้แก่
1. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศ
ผลการสำรวจของ Parcel Perform ระหว่างปี 2019-2020 เป็นที่น่าสนใจว่า
ระยะเวลาเฉลี่ยของการส่งพัสดุในไทยสั้นที่สุดในอาเซียนคือเพียง 2.5 วัน ใกล้เคียงกับประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปอย่างเยอรมนี (2.6 วัน)
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานค้าปลีกออนไลน์ของไทยที่กว่าครึ่งหนึ่งกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (Parcel Monitor, 2020)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่คุณภาพการให้บริการแล้วพบว่าความพึงพอใจต่อบริการยังอยู่ในระดับต่ำกว่าบริการส่งพัสดุในสิงคโปร์และประเทศในแถบยุโรป
ซึ่งอาจสะท้อนการขาดการติดต่อนัดหมายล่วงหน้า การส่งไม่ตรงตามเวลานัดหมาย หรือสภาพความสมบูรณ์ของพัสดุ
ทั้งนี้ ผลสำรวจในยุโรปพบว่าความพึงพอใจต่อบริการโลจิสติกส์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระยะเวลาการจัดส่งอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การส่งเสริมด้านคุณภาพโลจิสติกส์ ผ่าน
(1) การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และ
(2) สนับสนุนการพัฒนาคลังสินค้าดั้งเดิมที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเพื่อรองรับการเป็นศูนย์จัดการคลังสินค้าสมัยใหม่แบบครบวงจร (Fulfillment center) รวมถึง
(3) การเพิ่มความสามารถในการจัดเส้นทางและประมาณการระยะเวลาการจัดส่งพัสดุที่แม่นยำ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีประมวลผลและข้อมูลที่ทันท่วงที (real-time data)
จึงมีความสำคัญต่อการเกื้อหนุนการเติบโตของค้าปลีกออนไลน์และเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวม
2. ส่งเสริมการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ถ้วนหน้าและสนับสนุนการจัดเก็บภาษีบนธุรกิจออนไลน์อย่างโปร่งใสและเป็นระบบ
ด้วยบทบาทของค้าปลีกออนไลน์ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต การสนับสนุนให้เจ้าของธุรกิจค้าปลีกรายย่อยสามารถเข้าถึงการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
(E-Payment) ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ รวมถึงพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่มีต้นทุนการทำธุรกรรมต่ำ (ไม่เกิน 10 บาทสำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกิน 15 บาทสำหรับนิติบุคคล)
จะเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจค้าปลีกออนไลน์
นอกจากนี้ ภาครัฐควรสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการเสียภาษีบนธุรกิจออนไลน์ทั้งในแง่ขั้นตอนและอัตราภาษี
รวมถึงการประสานกับเจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์ในการสร้างระบบเชื่อมโยงเพื่อตรวจสอบตัวตนและยอดขาย
เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ KKP Research มองว่า การจัดเก็บภาษีค้าปลีกออนไลน์ในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในอัตราสูงมากนัก
แต่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในด้านขั้นตอนการจัดเก็บหรือมีการหลบเลี่ยงภาษี
การกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้องผ่านการออกแบบระบบการคำนวณและชำระภาษีที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มต้น
จะช่วยลดปัญหาด้านการจัดเก็บภาษีที่อาจซับซ้อนมากขึ้นในอนาคตเมื่อธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ขยายตัวจากในปัจจุบัน และลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดเก็บซึ่งอาจนำไปสู่การหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยเจ้าหน้าที่รัฐบางราย
3. ขยายตลาดค้าปลีกออนไลน์ให้ไปไกลกว่าตลาดในประเทศผ่านการลดขั้นตอนและกฎระเบียบ
1
ปัจจุบันไทยมีจำนวนประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตประมาณ 54 ล้านคนหรือประมาณ 78% ของประชากร
ซึ่งถือได้ว่าเป็นตลาดสำคัญของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์
อย่างไรก็ตาม ตลาดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยคิดเป็นเพียง 12% ของประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนทั้งหมด 470 ล้านคน (จากประชากร 667 ล้านคนในอาเซียน)
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงโอกาสอันมหาศาลในการลงทุนด้านธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และแผ่ขยายไปในตลาดอาเซียนเพื่อให้ได้ความประหยัดทางขนาด (economies of scale)
1
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาเซียนจะมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ระหว่างกันนับตั้งแต่ปี 1992
แต่ในทางปฏิบัติยังมีความยุ่งยากอยู่มากทั้งในด้านพิธีการศุลกากรข้ามแดนและความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์กับประเทศเพื่อนบ้าน
ส่งผลให้ระยะเวลารอคอยในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ยาวนาน ไม่แน่นอน และประตูสู่โอกาสของผู้ค้าปลีกรายย่อยยังคงถูกปิดกั้นอยู่
KKP Research มองว่าการลดขั้นตอนและกฎระเบียบของการค้าระหว่างแดนผ่านการเจรจาระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี
เช่น การสำแดงสินค้าและชำระอากรล่วงหน้า ณ จุดรับพัสดุที่ได้รับอนุญาต เพื่อยกเว้นหรือย่นระยะเวลาที่จุดข้ามแดน หรือ
การอนุญาตให้รถขนส่งสินค้าสามารถวิ่งข้ามพรมแดนได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นลงที่จุดข้ามแดน จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าลงได้อย่างมาก
ผู้รับในประเทศปลายทางสามารถประเมินเวลารับสินค้าได้ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างมหาศาล
1
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตจำเป็นต้องศึกษากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (rules of origin) และควรพัฒนาคุณภาพสินค้าไทยอย่างต่อเนื่องให้เป็นที่ต้องการในตลาดเพื่อนบ้าน
แทนที่การนำเข้าสินค้าราคาถูกเพื่อเน้นขายเฉพาะในตลาดในประเทศอย่างที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม คลิก >>>>
#KKP #KiatnakinPhatra #KKPResearch #E-commerce #ขยายตัว #โอกาสเติบโต #เครือข่ายสังคมออนไลน์ #โควิด-19 #ธุรกิจค้าปลีก #ช่องทางออนไลน์ #ผู้บริโภค #การแข่งขัน #ธุรกิจแพลตฟอร์ม #ธุรกิจคลังสินค้า #ขนส่ง #บรรจุภัณฑ์ #เกียรตินาคินภัทร
โฆษณา