Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธ
ธรรมะจากพระไตรปิฎก
•
ติดตาม
30 ส.ค. 2021 เวลา 12:08 • การศึกษา
ไม่มีเจตนา มีผลกรรมหรือไม่ ? กตัตตากรรมคืออะไร
ที่มา
http://www.dmda61.com/%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/
กะทู้น่าสนใจ
กรรมที่ทำโดยไม่เจตนามีผลไหมครับ?
https://pantip.com/topic/38863810
"เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม"
https://pantip.com/topic/37192458
เรียบเรียงโดย นิมฺมโลภิกขุ
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม” ฉะนั้นถ้าไม่มีเจตนา ก็ไม่เรียกว่าเป็นกรรม หรือถ้าเป็นกรรม ก็ไม่ส่งผลรุนแรงเท่ากับการกระทำที่มีเจตนาแรงกล้า
กรรมนั้นโดยสภาพ ของอภิธรรมแล้ว ได้แก่ตัวธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า "เจตสิก" (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต เป็นตัวเจตสิกที่มีชื่อว่า "เจตนา" คือ เจตนาเจตสิก
"เจตนา" คือ เจตนาเจตสิก พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เ"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"[1] ที่ สำเร็จนั้น ก็เพราะอำนาจเจตนา ดังนี้ เจตนาเจตสิกนี้ จะเป็นกรรมได้ก็ต่อเมื่อเจตนานั้นประกอบกับจิตที่เป็นอกุศล และกุศล)
เจตนา คืออะไร? ตามความหมายของอภิธรรม ท่านกล่าวว่า เจตนาได้แก่ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือน และชักชวน สัมปยุตธรรมในอารมณ์เพื่อให้ทำหน้าที่ของตน ๆ ให้เจตสิกอื่น ๆ และจิตที่เกิดร่วมกับเจตนานั้นทำหน้าที่ของตน ๆ เพื่อให้สำเร็จกิจ เจตนาจึงหมายถึงตัวกระตุ้นที่ทกให้การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง สำเร็จได้
พระครูภาวนาวิรัช
http://www.saddhadhamma.org/sattatam29/page10.htm
กตัตตากรรมคืออะไร
กตัตตากรรม หรือกฏัตตาวาปนกรรม คือ อกุศลกรรมและกุศลกรรมที่แต่ละคนได้กระทำมาแล้วทั้งในอดีตชาติและในปัจจุบันชาติ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นเป็นครุกรรม อาสันนกรรม และอาจิณณกรรม เป็นเพียงกรรมที่ผู้กระทำไม่มีเจตนา หรือไม่ได้มีความตั้งใจที่จะกระทำ
กรรมสักแต่ว่าทำ แต่ไม่ประกอบด้วยเจตนา
กุศลกรรมที่สักแต่ว่าทำก็เป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน
กตัตตากรรมนี้จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะให้ผลแน่นอน เพราะเป็นกรรมที่มีกำลังอ่อนที่ช่วยเสริมกรรมอื่น ซึ่งเปรียบกตัตตากรรมเหมือนลูกศรที่คนตาบอดยิงออกจากแล่งธนู ปกติแล้วลูกศรที่คนตาบอดยิงออกไป ไม่สามารถที่จะยิงไปให้ตรงจุดหมายได้ เพราะว่าเขาไม่ทราบถึงเป้าหมายว่าอยู่ตรงไหน เพียงแต่รู้ว่า ลูกศรนี้จะต้องตกลงมาบนพื้นดิน กตัตตากรรมก็เช่นกันที่จะกำหนดเวลาที่จะให้ผลในชาตินั้นชาตินี้ไม่ได้ กำหนดได้เพียงว่าจะต้องให้ผลแน่นอนไม่ภพชาติใดก็ภพชาติหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะกตัตตากรรมเป็นกรรมที่มีกำลังอ่อนจนแม้แต่ตัวผู้กระทำเองก็ไม่รู้ว่าเป็นบุญเป็นบาปหรือไม่ กระทำด้วยความไม่รู้ ด้วยเหตุนี้กตัตตากรรมนี้จึงให้ผลโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน
หากสร้างกรรมโดยไม่เจตนา จะต้องรับผลแห่งวิบากนั้นหรือไม่
มีพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาลซึ่งเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง วันหนึ่งท่านได้เดินทางอยู่ โดยเดินสวนทางเข้ากับนายพรานคนหนึ่ง พอได้เห็นนายพรานคนนี้เป็นพรานป่าล่าสัตว์ เห็นเดินถือหอกยาวๆ ปลายแหลมมาแต่ไกลก็เกิดความกังวลกลัวจะโดนหอกเข้าก็เลยหลบเข้าพุ่มไม้ไปก่อน รอให้นายพรานเดินผ่านไปแล้วค่อยออกมา
นายพรานเห็นพระมาแต่ไกลจู่ๆ ก็หายวับหลบเข้าพุ่มไม้ไปก็นึกสงสัยว่า พระรูปนั้นนี่น่าจะสวนทางกับเราตอนนี้เวลานี้ท่านไปไหน หรือบางทีท่านเห็นเราถือหอกมีคมเดินมาท่านจะกลัวเราก็ได้ ก็เลยเอาหอกนั้นพุ่งทิ้งไว้ตรงป่าข้างทางก่อนแต่กลายเป็นว่า หอกอันนั้นกลับพุ่งลงไปปักที่อกของพระที่หลบข้างทางพอดีจนถึงกับมรณภาพ
ภิกษุทั้งหลายเกิดความสงสัยว่า พระภิกษุรูปนี้ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแท้ๆ แต่เพราะเหตุใดจึงต้องตายด้วยเหตุที่ไม่น่าเชื่อเช่นนั้น
พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าให้ฟังถึง อดีตชาติของทั้งสองที่มีความเกี่ยวข้องกันว่า ในอดีตชาติพระภิกษุรูปนั้นก็ได้เกิดมาเป็นภิกษุส่วนนายพรานเกิดมาเป็นตัวเรือด วันหนึ่งพระภิกษุรูปนี้กำลังเย็บจีวรอยู่ ท่านกำลังเย็บจีวรไปตามปกติ ก็มีตัวเรือดตัวหนึ่งเกาะอยู่ในตะเข็บจีวร พระท่านไม่เห็นเข็มก็ไปทิ่มแทงเอาตัวเรือดตายเข้า
เมื่อตัวเรือดก็ตายไปก่อนต่อมาไม่นานพระรูปนั้นก็ตายลง ด้วยวิบากกรรมอันนี้จึงทำให้ตัวเรือดเกิดมาเป็นนายพราน และพระรูปนั้นก็ได้เกิดมาเป็นพระอีกและได้มาเสวยผลแห่งวิบากที่เหลืออยู่ต่อกัน แต่ไม่นับว่า “เป็นการจองเวรซึ่งกันและกัน” เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ได้เจตนา
กตัตตากรรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรมและกตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม
กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรม
กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายบาป หรือกรรมฝ่ายชั่ว ที่จะชักนำผู้ที่กระทำกตัตตา-กรรมนี้ให้ไปเกิดในทุคติภูมิ ให้ไปรับทุกข์โทษหลังจากที่ตายไปแล้ว
กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎกฝ่ายอกุศลกรรม
บุพกรรมของเปรต18)
ชาวนาผู้หนึ่งที่เกิดในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า วันหนึ่งมีประชาชนพากันไปทำบุญและทำสักการบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนเหล่านั้นได้มาชักชวนให้เขาทำบุญด้วยกัน เขาไม่เห็นประโยชน์คิดแต่เพียงว่า เสียเวลาทำมาหากิน เขาจึงพูดว่าไม่ไป เพราะเสียเวลาไถนา แม้คนเหล่านั้นจะบอกว่า การไปทำบุญกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่าการไถนา
เขาจึงถามเพื่อตัดความรำคาญว่า
“ พระกัสสปพุทธเจ้าวิเศษอย่างไร สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้าท่านสามารถที่จะไถนาอย่างเรานี้ได้หรือไม่”
คนเหล่านั้นแสดงท่าทางตกใจ แล้วก็พูดสดุดีคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและตักเตือนไม่ให้เขาพูดดูหมิ่นเช่นนั้น ทั้งยังพรรณนาโทษแห่งการดูหมิ่นพระพุทธองค์อย่างมาก จนเขาหมั่นไส้เลยพูดตัดบทออกไปโดยไม่มีเจตนาว่า
“ พวกท่านอย่ามาสาธยายให้หนวกหูเรา เลย เอาละ เป็นอันว่าพระกัสสปะวิเศษจริง แต่เราก็ได้ตั้งใจไว้แล้วว่า ถ้าพระพุทธองค์ไม่สามารถไถนาให้เราได้ เราจะไม่ไปทำบุญ ไม่ทำการสักการบูชาพระพุทธองค์ แต่ถ้าพระพุทธองค์สามารถมาจับหางไถแล้วไถนาอย่างเราเมื่อไร เราจึงจะไปทำบุญและสักการบูชา”
ด้วยวจีกรรมเพียงเล็กน้อยนี้ที่ชาวนานั้นหวังจะประชดประชันคนเหล่านั้นเท่านั้น ทำให้เมื่อเขาเสียชีวิตก็มาดลบันดาลให้เกิดเป็นเปรต ต้องอดอยากและไถนาอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้พักผ่อนเลย
กตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม
กตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายบุญหรือฝ่ายดีที่จะชักนำให้ผู้ที่กระทำกตัตตากรรมนี้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ
กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก
เทพบุตรกบ19)
ในสมัยพุทธกาล ใกล้รุ่งวันหนึ่ง ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารริมฝั่งสระ-โบกขรณีใกล้เมืองจัมปา พระพุทธองค์ทรงตรวจพิจารณาสัตวโลกแล้ว ทรงเห็นว่าในเย็นวันนั้น ขณะที่กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชนทั้งหลาย จะมีกบตัวหนึ่งถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระองค์ ตายแล้วไปบังเกิดในสวรรค์ เมื่อทรงทราบดังนั้นก็ทรงดำเนินพุทธกิจตามปกติ เช่น นำพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ออกบิณฑบาต แสดงข้อวัตรปฏิบัติแก่เหล่าภิกษุทั้งปวง เป็นต้น
ในเวลาเย็น เมื่อบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันเพื่อจะฟังพระธรรมเทศนาตามปกติ พระองค์จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เข้าสู่มณฑปซึ่งตั้งอยู่ริมสระโบกขรณี ประทับเหนือพุทธอาสน์ เมื่อทรงทราบว่าบริษัททั้งหลายพร้อมที่จะฟังพระธรรมเทศนาแล้ว จึงเปล่งพระสุรเสียงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นปาฏิหาริย์ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม
ในขณะนั้น มีกบตัวหนึ่งกำลังแหวกว่ายขึ้นจากสระโบกขรณี ได้ยินพระสุรเสียงที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ทั้งที่ไม่ได้มีความเข้าใจเนื้อความที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเลย แต่รู้สึกซาบซึ้งยินดีในพระสุรเสียงที่ได้ยิน จึงกระโดดไปนอนฟังอยู่ด้านท้ายๆ หลับตาฟังพระสุรเสียงแสดงธรรมของพระพุทธองค์ด้วยความเบิกบาน แต่ขณะที่กำลังฟังพระสุรเสียงอย่างเพลิดเพลินอยู่นั้น มีคนเลี้ยงโคคนหนึ่ง เดินผ่านมาในบริเวณนั้น เห็นพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางเหล่าพุทธบริษัท ด้วยพระอาการอันน่าเลื่อมใสยิ่ง ก็บังเกิดความยินดีใคร่จะฟังธรรม จึงไปยืนใกล้กับที่กบนอนอยู่ โดยที่ไม่เห็นกบ ขณะยืนฟังอยู่ได้เอาไม้สำหรับต้อนโคปักลงไปที่พื้นดิน ไม่ได้ปักถูกบนหัวของกบเข้าพอดี จนทำให้กบนั้นตาย
เมื่อกบนั้นตายแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรมีรูปร่างงดงาม ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทั้งนี้เป็นเพราะถือเอานิมิตในพระสุรเสียงแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ว่าจะไม่รู้เนื้อความที่พระพุทธองค์ทรงแสดง แต่เพราะเหตุแห่งการถือเอานิมิตในพระสุรเสียงนั้นจึงเป็นกตัตตากรรมชักนำให้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ
สรุปความว่า ปากทานปริยายจตุกกะ คือ กรรมที่ให้ผลตามลำดับความหนักเบามีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งถ้าบุคคลใดกระทำกรรมทั้ง 4 ประเภทแล้ว ครุกรรมย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้กระทำก่อนเป็นลำดับแรก เพราะเป็นกรรมที่หนักที่สุดจึงมีกำลังมากในการให้ผล ถ้าเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศลกรรมก็จะชักนำบุคคลที่กระทำไปเกิดในอเวจีมหานรก โดยเฉพาะสังฆเภทที่จะให้ผลก่อนและทำให้บุคคลที่กระทำต้องได้รับโทษตลอดกัปเป็นเวลานาน แต่ถ้าเป็นครุกรรมฝ่ายกุศลกรรมก็จะชักนำบุคคลที่กระทำไปบังเกิดยังพรหมโลกตามอำนาจของฌานที่ตนกระทำไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์
ถ้าบุคคลไม่ได้กระทำครุกรรม แต่ได้ทำกรรมทั้ง 3 ที่เหลือ อาสันนกรรมซึ่งเป็นกรรมที่มีกำลังแรงรองลงมาก็จะให้ผลแก่บุคคลที่กระทำไว้ก่อนกรรมอื่น ถ้าบุคคลใดทำอาสันนกรรมฝ่ายอกุศลกรรมก็จะชักนำบุคคลที่กระทำไปเกิดในทุคติภูมิ แต่ถ้าเป็นอาสันนกรรมฝ่ายกุศลกรรมก็จะชักนำบุคคลที่กระทำไว้ไปสู่สุคติภูมิ
ถ้าบุคคลใดไม่ได้กระทำครุกรรมและอาสันนกรรม แต่ได้กระทำกรรมทั้ง 2 ที่เหลือ คือ อาจิณณกรรมและกตัตตากรรม อาจิณณกรรมก็จะมีกำลังในการให้ผล เพราะเป็นกรรมที่มีกำลังแรงรองลงมาจากอาสันนกรรมก็ย่อมจะให้ผลแก่บุคคลผู้ที่กระทำก่อน ซึ่งถ้าบุคคลใดทำอาจิณณกรรมฝ่ายอกุศลกรรมเป็นประจำก็จะมีผลทำให้บุคคลนั้นไปเกิดในทุคติภูมิ แต่ถ้าบุคคลใดกระทำอาจิณณกรรมฝ่ายกุศลกรรมเป็นประจำจนคุ้นเคยก็จะชักนำพาบุคคลผู้กระทำกุศลกรรมไปสู่สุคติภูมิ
ถ้าบุคคลใดไม่ได้ทำครุกรรม ไม่ได้ทำอาสันนกรรมและไม่ได้ทำอาจิณณกรรม ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่ไม่ได้ทำทั้งอกุศลกรรมและกุศลกรรมที่มีกำลังมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ กตัตตากรรมซึ่งเป็นกรรมที่มีกำลังน้อยที่สุดย่อมให้ผลแก่บุคคลนั้น ซึ่งถ้าเป็นกตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรมก็จะชักนำบุคคลนั้นไปสู่ทุคติภูมิ แต่ถ้ากตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรมก็จะชักนำบุคคลนั้นไปสู่สุคติภูมิ
จะเห็นได้ว่า ปากทานปริยายจตุกกะแต่ละประเภทนั้นจะให้ผลที่แตกต่างกันตามลำดับของกรรมที่มีความหนักเบา โดยเฉพาะกตัตตากรรมซึ่งเป็นกรรมที่เกิดจากการไม่มีเจตนา แม้จะเป็นการกระทำแค่ชั่ววูบและไม่รู้ไม่ทราบอะไรเลย กระทำด้วยความไม่ตั้งใจ ยังมีผลเป็นความทุกข์ทรมานแสนสาหัส เพราะฉะนั้นอย่าได้ประมาท ต้องมีสติยับยั้งให้ดี ไม่ควรล่วงเกินใครด้วยกาย วาจา ใจ และหมั่นสั่งสมทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ชื่อว่ากรรมที่เราทำไว้แม้เพียงเล็กน้อยย่อมให้ผล บุคคลใดเมื่อทำอย่างนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต สมกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่เกิดมายากแสนยาก ดังเช่นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียว”20)
ดังนั้น เมื่อการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นยากอย่างนี้ จึงควรใช้ชีวิตในแต่ละวันให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดสมกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การหมั่นสั่งสมบุญทุกบุญเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สิ่งใดที่เคยทำผิดพลาดมาก็ลืมไปให้หมด หมั่นสร้างแต่กรรมดีอยู่ทุกวัน และต้องทำใจของเราให้ใสตลอดเวลา เพื่อไม่ให้บาปได้ช่องแต่กลับให้บุญกุศลได้โอกาสในการให้ผล เมื่อทำอย่างนี้แล้ว ชีวิตก็จะปลอดภัยจากภัยในทุคติภูมิ แต่จะมีบุญกุศลกรรมที่คอยสนับสนุนให้ความความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไปและเข้าใกล้สุคติภูมิ เหมือนมีแก้วโชติรสที่คอยบันดาลความสุขความสำเร็จให้บังเกิดขึ้นในชีวิต
18) เปรตไถนา, อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ, มก. เล่ม 49.
19) มัณฑูกเทวปุตตวิมาน, อรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ, มก. เล่ม48 หน้า 419.
20) ปฐมฉิคคฬสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 หน้า 475.
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย