31 ส.ค. 2021 เวลา 10:23 • ประวัติศาสตร์
ยุคเอโดะและการฟื้นฟูยุคเมจิ (Tokugawa Period and Meiji restoration)
ญี่ปุ่นในสมัยของ “โทคุงาวะ (Tokugawa)” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ยุคเอโดะ (Edo Period)” คือช่วงเวลาตั้งแต่ค.ศ.1603-1867 (พ.ศ.2146-2410) และเป็นช่วงเวลาสุดท้ายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมแบบเดิม ก่อนจะเข้าสู่ยุค “ฟื้นฟูเมจิ (Meiji Restoration)” ในปีค.ศ.1868 (พ.ศ.2411)
2
การมาเยือนของยุคฟื้นฟูเมจิ ทำให้การปกครองของรัฐบาลโชกุนโทคุงาวะหรือรัฐบาลเอโดะ ต้องล่มสลาย และเป็นแรงขับเคลื่อนให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
ที่ผ่านมา อำนาจของรัฐบาลโชกุนโทคุงาวะ ซึ่งเริ่มต้นจาก “โทคุงาวะ อิเอยาสุ (Tokugawa Ieyasu)” ได้ปกครองญี่ปุ่น สร้างสันติสุขและความรุ่งเรืองแก่ญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานกว่า 250 ปี ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะได้เกิดกลุ่มชนชั้นพ่อค้าในญี่ปุ่น และญี่ปุ่นก็เริ่มพัฒนาเป็นสังคมเมืองเต็มตัว
4
โทคุงาวะ อิเอยาสุ (Tokugawa Ieyasu)
และเพื่อป้องกันอิทธิพลจากภายนอก รัฐบาลเอโดะก็ได้พยายามจะปิดกั้นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะการเข้ามาของศาสนาคริสต์
3
แต่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 รัฐบาลเอโดะเองก็เริ่มอ่อนแอ จึงได้เกิดกลุ่มตระกูลที่คิดจะล้มล้างรัฐบาล ได้ร่วมมือกันในค.ศ.1868 (พ.ศ.2411) เพื่อที่จะชิงอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการ “ฟื้นฟูราชวงศ์”
1
การฟื้นฟูยุคเมจิ คือจุดเริ่มต้นของจุดจบของระบอบฟิวดัลในญี่ปุ่น และจะเป็นสิ่งที่นำพาญี่ปุ่นไปสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่ การเมืองแบบใหม่ รวมทั้งสังคมที่ทันยุคทันสมัย
สำหรับภูมิหลังของประวัติศาสตร์บทนี้ ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16
ในศตวรรษที่ 16 อำนาจการปกครองในญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ มีการรบพุ่ง ชิงอำนาจระหว่างผู้ครองแคว้นต่างๆ หรือ “ไดเมียว (Daimyo)” ซึ่งการรบพุ่งนี้ก็มีมาเป็นเวลานานเกือบ 100 ปี
“โทคุงาวะ อิเอยาสุ (Tokugawa Ieyasu)” ผู้ซึ่งได้รับชัยชนะใน “ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (Battle of Sekigahara)” ในปีค.ศ.1600 (พ.ศ.2143) ได้กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจมหาศาล
1
อำนาจบารมีของโทคุงาวะ มากซะจนทำให้ในปีค.ศ.1603 (พ.ศ.2146) ราชสำนักต้องแต่งตั้งให้เขาเป็นโชกุน (Shogun) หรือผู้นำทางการทหารชั้นสูงสุด และเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มอำนาจที่จะปกครองญี่ปุ่นต่อเนื่องมาอีกเกิน 200 ปี
ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (Battle of Sekigahara)
เมื่อขึ้นสู่อำนาจ รัฐบาลโทคุงาวะก็ได้มุ่งเป้าไปที่การฟื้นฟูกฎระเบียบต่างๆ ในสังคม รวมทั้งการเมืองและการต่างประเทศ ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะสงครามมาเป็นเวลานับ 100 ปี
ด้วยโครงสร้างทางการเมืองที่โทคุงาวะเป็นผู้จัดสร้าง และสืบทอดต่อผ่านลูกชายและหลานชายของเขา ทำให้ไดเมียวทุกคนขึ้นตรงต่อโชกุน และจำกัดอำนาจไดเมียวไม่ให้มีที่ดินและอำนาจมากจนเกินไป
แต่ในเวลาต่อมา รัฐบาลโทคุงาวะก็เริ่มหวั่นเกรงถึงอิทธิพลของตะวันตก ซึ่งอาจจะเข้ามาแทรกแซงภายในญี่ปุ่น รวมทั้งลัทธิล่าอาณานิคม
เมื่อเป็นอย่างนี้ รัฐบาลจึงทำการกีดกันและขับไล่มิชชันนารีออกไปจากญี่ปุ่น รวมทั้งแบนศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น
ก่อนที่รัฐบาลโทคุงาวะจะเรืองอำนาจ มีชาวคริสต์ในญี่ปุ่นประมาณ 300,000 คน แต่ภายหลังการปราบปรามกบฏชาวคริสต์ ในเหตุการณ์ “กบฏชิมาบาระ (Shimabara Rebellion)” ซึ่งเป็นเหตุการณ์จลาจลในแถบชิมาบาระ ก็ทำให้ชาวคริสต์ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ
1
กบฏชิมาบาระ (Shimabara Rebellion)
สำหรับลัทธิสำคัญในสมัยโทคุงาวะ ก็คือลัทธิขงจื๊อ (Confucianism)
เพื่อเป็นการปิดกั้นไม่ให้ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ รัฐบาลโทคุงาวะจึงได้กีดกันการค้ากับชาติตะวันตก และกีดกันไม่ให้พ่อค้าชาวญี่ปุ่นทำการค้ากับต่างชาติ
และด้วยการกีดกันนี้ ทำให้อีกกว่า 200 ปีต่อมา ญี่ปุ่นก็ปิดประตูใส่ชาติตะวันตก แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประเทศใกล้เคียงอย่างเกาหลีและจีน เป็นการรับรองว่าการเมืองในเอเชียตะวันออกจะยังคงเข้มแข็งและไม่มีการแทรกแซง
1
สำหรับระบอบชนชั้น มีทฤษฎีที่กล่าวถึงระบอบชนชั้นในรัฐบาลโทคุงาวะ โดยชนชั้นในยุคนั้น มีเพียงสี่ชนชั้น
1.นักรบ
3
2.ช่างฝีมือ
3.ชาวนา
4.พ่อค้า
และเมื่อในเวลานั้น ว่างเว้นสงคราม ซามูไรหลายคนจึงเป็นขุนนาง และทำการค้า สร้างฐานะ
แต่ในขณะเดียวกัน ซามูไรก็ต้องรักษาเกียรติของตน และยังต้องเตรียมพร้อมรบ ทำให้ซามูไรหลายนายก็ไม่ค่อยพอใจในชีวิตตนเองนัก ส่วนชาวไร่ก็ต้องทำการเกษตรอย่างเดียว ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ เนื่องจากทางการสั่งห้ามไม่ให้ทำอะไรนอกเหนือจากการเกษตร เพื่อเป็นการรับรองว่าทางการซึ่งครอบครองที่ดิน จะได้รับผลประโยชน์สม่ำเสมอ
ในยุคของรัฐบาลโทคุงาวะนี้เอง เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากการเกษตรแล้ว การค้าและอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ชนชั้นพ่อค้าก้าวขึ้นมามีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย และทำให้เมืองต่างๆ ในญี่ปุ่นเติบโต
ในขณะที่การเกษตรเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เมื่อเทียบกับการค้า ทำให้เหล่าซามูไรเริ่มจะมีฐานะเป็นรองกลุ่มพ่อค้า และถึงแม้จะมีการพยายามปฏิรูป แต่รัฐบาลโทคุงาวะก็เริ่มตกต่ำตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 เนื่องด้วยความอดอยากของประชาชน ทำให้เกิดการจลาจลบ่อยครั้ง
จากนั้น ยังมีสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมซึ่งญี่ปุ่นต้องเผชิญ โดยสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้ก็คือสัญญาที่ชาติซึ่งแข็งแกร่งกว่า กดดันและบีบบังคับชาติที่อ่อนแอกว่าในเอเชียตะวันออก ทำให้เกิดความไม่สงบในประเทศ
ที่เด่นๆ ก็คือ “สนธิสัญญาคานางาวะ (Convention of Kanagawa)” ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมเปิดท่าเรือให้เรืออเมริกันเข้ามาได้ และต้องอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาตั้งสถานทูตในญี่ปุ่นได้ แลกกับการที่สหรัฐอเมริกาจะไม่โจมตีเอโดะ
1
ในปีค.ศ.1867 (พ.ศ.2410) ได้มีแคว้นที่ทรงอำนาจสองแคว้น นั่นคือ “แคว้นโชชู (Choshu Clan)” และ “แคว้นซัทสึมะ (Satsuma Clan)” ได้ร่วมมือกัน วางแผนจะล้มล้างรัฐบาลโทคุงาวะ และในปีต่อมา ก็ได้ฟื้นฟูระบอบจักรพรรดิ ภายใต้ “จักรพรรดิเมจิ (Emperor Meiji)” ผู้ซึ่งในเวลานั้น มีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา
รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ฉบับปีค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) เป็นรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นจนถึงปีค.ศ.1947 (พ.ศ.2490) ได้กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติ และมีผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกของประชาชน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากจักรพรรดิ
สันติภาพและความมั่นคงในยุคโทคุงาวะ รวมทั้งความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เป็นแรงขับให้ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่เจริญและทันสมัย ภายหลังการปฏิรูปเมจิ
ในยุคเมจิ ซึ่งจบลงพร้อมกับการสวรรคตขององค์จักรพรรดิในปีค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) ญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ รวมทั้งการล้มเลิกระบอบฟิวดัล และการกำเนิดของระบอบรัฐบาล โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บริหาร
ในยุคสมัยใหม่นี้ ระบอบรัฐบาลใหม่ได้เปิดประเทศ เปิดรับวัฒนธรรมและการค้าจากตะวันตก รวมถึงการก่อร่างสร้างกองทัพจนทำให้ญี่ปุ่นก้าวไปสู่เวทีโลก
ในปีค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) รัสเซียภายใต้การปกครองของ “จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)” เป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ใหญ่และทรงอำนาจที่สุดในโลก
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงสนพระทัยในเมืองท่าเรือในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเมืองท่านี้จะมีประโยชน์ทางด้านการค้า รวมทั้งมีประโยชน์สำหรับกองทัพเรือที่กำลังขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
บริเวณที่พระองค์ทรงเล็งไว้ คือเกาหลีและแถบคาบสมุทรเหลียวตง
1
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)
ญี่ปุ่นเองก็นั่งไม่ติด เนื่องจากเกรงว่ารัสเซียจะแผ่อิทธิพลเข้ามาในแถบนี้
ในทีแรก รัสเซียและญี่ปุ่นก็ได้ทำการเจรจากัน โดยรัสเซียปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นที่จะยกแมนจูเรียให้รัสเซียควบคุม และการเจรจาก็ไม่ได้ผล
เมื่อตกลงกันไม่ได้ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) ญี่ปุ่นก็ได้ทำการโจมตีกองเรือของรัสเซียในตะวันออกไกล ทำให้เกิด “สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War)”
สวครามนี้เป็นสงครามที่รุนแรงครั้งหนึ่ง มีทหารที่ต้องเสียชีวิตมากกว่า 150,000 นาย โดยสงครามนี้ดำเนินไปตั้งแต่ค.ศ.1904-1905 (พ.ศ.2447-2448)
1
สงครามนี้จบลงด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น และการลงนามใน “สนธิสัญญาพอร์ตสมัท (Treaty of Portsmouth)” โดยมี “ทีโอดอร์ รูสต์เวลต์ ( Theodore Roosevelt)” ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ว่าเป็น “สงครามโลกครั้งที่ศูนย์ (World War Zero)” เนื่องจากเป็นปฐมบทของสงครามครั้งใหญ่ในยุคต่อมา ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมหน้าของการเมืองระหว่างประเทศไปตลอดกาล
โฆษณา