30 ส.ค. 2021 เวลา 17:49 • สุขภาพ
healthy – Exercise: ผลของการใช้เทคนิคดรอปเซ็ตต่อการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเมื่อบริหารด้วยท่า Leg extension
สรุปจาก: "Drop-Set Training Elicits Differential Increases in Non-Uniform Hypertrophy of the Quadriceps in Leg Extension Exercise" (https://www.mdpi.com/2075-4663/9/9/119/htm)
ที่มาภาพประกอบ: "freepik" (People vector created by macrovector - www.freepik.com)
วัตถุประสงค์งานวิจัย:
งานวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะเปรียบเทียบผลกระทบจากการฝึกแบบใช้แรงต้านด้วยเทคนิคดรอปเซ็ตกับไม่ได้ใช้เทคนิค โดยที่มีตัวชี้วัดคือความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อกับการขยายขนาดของกลุ่มกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps femoris)
วิธีการศึกษา:
ทำการทดลองโดยนำผู้ชาย 16 คนที่มักทำกิจกรรมที่ค่อนข้างแอคทีฟให้มาใช้เทคนิคดรอปเซ็ตกับขาข้างใดข้างหนึ่งโดยจะเลือกแบบสุ่ม ส่วนอีกขาที่เหลือให้ฝึกด้วยวิธีดั้งเดิม ผู้เข้าร่วมจะฝึกด้วยท่า Leg extension แบบนั่งด้วยโปรแกรมแบบ periodization มีการวัดความหนาของกล้ามเนื้อ Rectus femoris กับ Vastus lateralis ความแข็งแรง 1RM ในท่า Leg extension รวมถึงแรงบิด (torque) สูงสุดและแรงบิดเฉลี่ยที่อัตราเร็ว 60 องศา/วินาทีเมื่อฝึกในท่า Leg extension แบบ Isokinetic ก่อนเริ่มและหลังจบการทดลอง
ผลการศึกษา:
- พบว่าการฝึกทั้งสองวิธีช่วยเพิ่มความหนาของกล้ามเนื้อทั้ง Rectus femoris และ Vastus lateralis ได้เมื่อเทียบก่อนและหลังการทดลอง
- โดยเทคนิคดรอปเซ็ตในทางสถิติแล้วมีการเพิ่มความหนาของ Rectus femoris ได้มากกว่า เมื่อวัดที่บริเวณ 30% และ 50% ของความยาวกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีความแตกต่างเมื่อวัดที่บริเวณ 70% ของความยาวกล้ามเนื้อ ส่วนในกล้ามเนื้อ Vastus lateralis นั้นพบว่าไม่มีความแตกต่างไม่ว่าจะวัดความหนาที่บริเวณใด
-ทั้งเทคนิคดรอปเซ็ตและการฝึกแบบดั้งเดิมต่างก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรง 1RM ได้ไม่แตกต่างกัน (+34.6% และ +32.0% ตามลำดับ) เมื่อเทียบก่อนและหลังการทดลอง
-ทั้งเทคนิคดรอปเซ็ตและการฝึกแบบดั้งเดิมแสดงให้เห็นการช่วยเพิ่มแรงบิดสูงสุดได้พอ ๆ กัน (+21.7% และ +22.5% ตามลำดับ) เช่นเดียวกับแรงบิดเฉลี่ย (+23.6% และ +22.5% ตามลำดับ) เมื่อเทียบก่อนและหลังการทดลอง
สรุป:
งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคนิคดรอปเซ็ตเพื่อช่วยเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ Rectus femoris (แบบไม่สม่ำเสมอ) เมื่อบริหารด้วยท่า Leg extension แม้กระนั้นก็ไม่พบความได้เปรียบเมื่อเป็นกล้ามเนื้อ Vastus lateralis และตัวชี้วัดอื่นที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรง เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีฝึกแบบดั้งเดิม
แนวทางการนำไปปรับใช้:
จากมุมมองในทางปฏิบัติ ผู้ฝึกอาจจะนำเทคนิคดรอปเซ็ตในท่า Leg extension ไปใช้เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ quadriceps หรือเมื่อต้องการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ Rectus femoris โดยเฉพาะ และแนะนำว่างานวิจัยต่อไปจากนี้ควรจะศึกษาว่าจะใช้เทคนิคนี้อย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
สนใจเทรนออนไลน์โดยออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายและแนะนำโภชนาการเบื้องต้นให้เหมาะสมกับเป้าหมายด้านสุขภาพหรือด้านรูปร่างเฉพาะตัว รวมถึงให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโปรแกรม (มีใบรับรอง NBCC จากสมาคมเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย) สามารถดูรายละเอียดบริการได้ที่ https://www.facebook.com/2fifinancefitness/services
ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย: https://linktr.ee/2fi_finance_fitness
"2Fi-รายวัน" ประจำวันที่ 2021.08.31 ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ขอให้ทุกท่านมีการเงินดี มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ดี แล้วพบกันใหม่ครับ 😊
#ฟิตเนส #ออกกำลังกาย #โภชนาการ #ลดไขมัน #เพิ่มกล้ามเนื้อ #สุขภาพ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา