31 ส.ค. 2021 เวลา 07:47 • การเกษตร
การปลูกพืชไร้ดิน
#ตอนที่3
การปลูกพืชไร้ดินที่คิดว่าง่ายและเหมาะสมก็น่าจะเป็นวิธีไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นมือใหม่ คือ ระบบ NFT (Nutrient Film Technique)
เตรียมอุปกรณ์ในการปลูกพืชไร้ดิน
โดยหลักการแล้ว วัสดุอุปกรณ์จะคล้ายกัน ต่างกันแต่วิธีการให้สารอาหารแก่พืช ส่วนนี้จึงต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างออกไปในแต่ละแบบ
1.เตรียมพื้นที่และโต๊ะสำหรับวางราง หรือกระบะปลูกผัก ต้องยกสูงกว่าพื้น เพื่อสะดวกให้สารละลายได้ไหลเวียน
2.รางปลูกในแต่ละแบบ และวางระบบการไหลของสารอาหาร
3.เมล็ดพันธุ์พืช+วัสดุอุปกรณ์สำหรับเพาะเมล็ด เช่น ฟองน้ำ ถาดเพาะ
4.ปั๊มน้ำ หากปลูกแบบแอร์โรโพนิกส์จะเพิ่มตัวพ่นละอองน้ำเข้าไปด้วย หากปลูกแบบใช้วัสดุอื่นทดแทนก็จะเพิ่มวัสดุนั้นๆ เข้าไปต่างหาก
5.สารอาหาร หรือ ปุ๋ยน้ำ AB และถังสำหรับกักเก็บ
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1.การเตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูก ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุดไฮโดรโปนิกส์ และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน
2.พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือ
2.1 เคลือบดินเหนียว เนื่องจากเมล็ดผักมีขนาดเล็ก ทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว เมล็ดที่เคลือบจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน
2.2 ไม่เคลือบ คือเมล็ดพันธุ์ปกติ
3. การเพาะต้นกล้า นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย รดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
4. การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร
4.1 ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
4.2 นำต้นกล้าที่แข็งแรง อายุประมาณ 2 สัปดาห์ ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
5. การดูแลประจำวัน
5.1 รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร
5.2 ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง
5.3 ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก หรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
6. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน
แหล่งที่มา:https://www.nfc.or.th/content/7487
โฆษณา