31 ส.ค. 2021 เวลา 07:50 • สุขภาพ
💉 Remdesivir ยาฉีดเบอร์หนึ่งรักษา Covid-19 มีที่มายังไง
Easy talk about Remdesivir and its use.
👇เสียงภาษาอังกฤษ
นกว่า ตอนนี้ ชื่อยารักษาโควิด ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ก็เป็นที่รู้จักติดหูแทบทุกคนแล้วนะคะ เพราะเราได้ยินกันบ่อยมากจากข่าวต่าง ๆ ที่เอ่ยถึงชื่อ ยาฟาวิ ๆ ..นอกจาก ยาสมุนไพรอย่างฟ้าทะลายโจร ที่ใช้กันในช่วงโควิด ติดลมบนจนเป็นที่รู้จักใช้กันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งต้องใช้ให้ถูกโด๊สและระวังของปลอมด้วย💥💢) ก็ ยาฟาวิ นี่ล่ะค่ะ ที่คนคุ้นหูกัน แต่ทีนี้ เรายังมีอีกยาหนึ่งค่ะ คือ Remdesivir (เรมเดซิเวียร์) ที่เป็นอีกหนึ่งพระเอกสำหรับรักษาโควิด จริง ๆ ต้องว่าเป็นพระรอง ..เพราะเขาเป็นยาฉีดช้อยส์สอง ที่หมอจะให้เมื่อคนไข้ที่เป็นโควิด-19 ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ 😮 นกเลยจะชวนคุณ ๆ มาเจาะลึกดูรายละเอียดของยาเรมเดซิเวียร์กัน ว่ามันมีที่มายังไง ทำไมใช้รักษาโควิดได้ เหมาะรึไม่เหมาะกับคนไข้แบบไหน.. มาดูกันด้วยภาษาง่าย ๆ ที่ไม่ใช่หมอก็รู้เรื่องค่ะ 💖
During this year, the name of the antiviral drug “Favipiravir” is well-known to us, same as the herbal medicine named Fah-Tha-Lay-Joan or Andrographis extracted, that both of them have been used for the purpose of Covid-19 (SAR-CoV2) treatment. Apart from them, there is also a novel drug for injection for this treatment, remdesivir which is usually the great option of hospitalized patients who have the covid-19 infection in their lungs. Thus, in this chapter, I would like to invite you to see what its action and use for covid-19 patients.
= = = = = =🔆
🤔 Remdesivir มีที่มายังไง How come?
โบราณว่าไว้.. ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ..🐘 แต่ถ้าจะดูแน่ ๆ ให้ดูถึงแม่ถึงยาย .😚..ก่อนเราจะไปรู้จักลูกสาวบ้านนี้ ที่ชื่อเรมเดซิเวียร์ เรามารู้จัก 'ตัวแม่' หรือบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เป็นผู้ผลิตกันก่อนนะคะ
In this section, I would like to introduce you to the drug company which put a lot of effort for making novel drug “Remdesivir” and definitely own its patent, GILEAD SCIENCES.
🏭 รู้จัก Gilead เจ้าของลิขสิทธิ์ Remdesivir
About GILEAD SCIENCES drug company
นกขอเริ่มที่ บริษัทยาเจ้าของลิขสิทธิ์เรมเดซิเวียร์นะคะ เป็นบริษัทยาขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหลักหมื่น ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อายุอานามกว่าสามสิบปีแล้วค่ะ (ก่อตั้งปี ค.ศ.1987) ในนามว่า Gilead Sciences (กิลเลียด) ซึ่งตอนนี้เขาอยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ ของอเมริกา ในชื่อว่า GILD ราคาช่วง 20 สิงหา 64 วันที่ทำบทความนี้อยู่ที่ 72.56 US$ ค่ะ .. (นกให้ข้อมูลไว้สำหรับท่านที่สนใจการลงทุน 📈 แต่อย่างที่ทราบกันนะคะ.. การลงทุนทุกครั้งมีความเสี่ยง พิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจค่ะ)
https://nokdinoschool.com/remdesivir/
Gilead เขามีผลงานเด่นชัดมาก ๆ ตลอดสามสิบกว่าปี ในการสร้างสรรค์โมเลกุลยาที่มีฤทธิ์จัดการกับเชื้อไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จในการ 'เล่นของยาก' ค่ะ 🤩.. เพราะไวรัสเป็นเชื้อที่มีความซับซ้อน มีกลไกชั้นสูงในการพรางตัวเองให้รอดพ้นสายตาระบบภูมิคุ้มกันหรือตระกูลเม็ดเลือดขาวของร่างกาย การที่ Gilead จับทางด้านนี้จนได้ผลงานอย่างต่อเนื่อง ออกมาเป็นยาต้านไวรัสสำหรับโรคต่าง ๆ ได้ต่อเนื่อง เราต้องยกนิ้วให้เขาเลยค่ะ 👍👍👍
GILEAD SCIENCES has been established since 1987 under a great vision of researching and producing novel biomedical products into the world commercial market. And now, this company is one of the drug companies that you can find its name “GILD” in the NASDAQ stock market of America.
After thirty years of working hard, GILEAD SCIENCES became famous in many antiviral drugs and cancer drugs. Last several years, the great success has belonged to the new drug “Remdesivir” for world pandemics, COVID-19.
💮 ผลงานของ Gilead ก่อนทำ Remdesivir
Other drugs from Gilead Sciences
ก่อนเข้าชื่อยา ..อยากชวนให้สังเกตว่า เวลาเราอ่านเปเปอร์หรือข่าวเกี่ยวกับการวิจัยยา ถ้ายาใด ๆ ยังอยู่ในระยะ ‘ทดสอบ’ มันจะยังไม่มีชื่อที่อ่านได้เป็นคำ ๆ ค่ะ สูตรโครงสร้างหนึ่ง ๆ ของมัน จะถูกตั้งเป็นรหัสเฉพาะตัวเหมือนบาร์โค้ดสินค้าที่รู้กันเป็นสากล เช่น AT99999  VZ13579  ....ประหนึ่ง ลูกที่ยังอยู่ในท้องแม่ ไม่แน่ว่าจะได้คลอดหรือไม่ เราก็จะแค่ตั้งชื่อเล่นลูกไว้ก่อน..  ชื่อคนเราอาจจะซ้ำได้ แต่รหัสของยาแบบนี้ จะไม่ซ้ำกันแน่ค่ะ 🌟
ก่อนจะไปที่ชื่อยาตัวอย่างผลงานของกิลเลียด อยากให้ท่านได้สังเกตว่า ในระยะแรกนะคะ..ยาทุกตัวที่ผลิตใหม่ ไม่ว่าจากบริษัทไหน จะ 'ติดสามเหลี่ยม' ⚠ เพื่อแสดงให้เห็นว่ายังอยู่ในระยะเก็บข้อมูลเพิ่ม โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในการใช้กับคนหมู่มากค่ะ ถ้าสังเกตที่ข้างกล่องของยาใหม่ ๆ จะมีค่ะ ถ้ายานั้น ๆ มีข้อมูลด้านอาการข้างเคียง หรือ อันตรายที่พบภายหลัง ขั้นรุนแรง ก็อาจจะต้องมีการถอนออกจากตลาดยา .. แต่ถ้าผ่านจุดสกรีนความปลอดภัยนี้ไปได้ ยานั้น ๆ ก็จะจำหน่ายได้ตามปกติ และจะไม่มีรูปสามเหลี่ยมที่กล่องให้เห็นแล้ว
จริง ๆ แล้ว ผลงานโปรดักส์ชั่นการผลิตยาสู่ตลาดโลกของกิลเลียด Gilead เขามีมากมายเลยค่ะ ท่านที่สนใจว่าบริษัทนี้ยังผลิตยาอะไร ใช้รักษาโรคอะไรอีกบ้าง หรืออยากดูเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับยาของกิลเลียดแบบเจาะลึกรายตัว เชิญคลิกชมค่ะ ในที่นี้ นกขอยกตัวอย่างยาของเขามาเพียงแค่เล็กน้อยก่อนค่ะ ล้วนเป็นยาที่คนป่วยได้มีโอกาสใช้กันอย่างแพร่หลายตามข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ มีชื่อยี่ห้อ®,™ ดังนี้ค่ะ
The first thing you should know is that when the focused substances are under experiments, whatever in vitro or in vivo studies, they are called in official code such as AT99999, VZ13579 etc. Later, when they are mass produced to the drug market it will be licensed under generic names such as paracetamol, ibuprofen, propranolol, and also remdesivir. While the trade name or brand name is presented by each pharmaceutical company such as Atripla®, Tecartus™ and Veklury®.
ยาต้านไวรัส HIV หรือโรคเอดส์ (AIDS)
อย่างเช่น
ยา Atripla® ที่มีตัวยาสามอย่างรวมกันใน 1 เม็ด คือ Efavirenz 600 mg + Emtricitabine 200 mg + Tenofovir disoproxil fumarate 300 mg
ยา Viread® เม็ดสีฟ้าสดใส มีตัวยาเดียวเลย คือ Tenofovir disoproxil fumarate 300 mg .... แหม่ แค่ชื่อยาก็ยาวแล้วเนอะ😅
ยาโรคตับ ที่เกิดจากไวรัสลงตับทำให้เป็นตับอักเสบ
ไวรัสตับอักเสบปัจจุบันมี 5 ชนิด คือ ชนิด A B C D และ E ซึ่งนกขอบอกว่า ตับที่อักเสบจากไวรัส BและC มีเปอร์เซ็นต์เสี่ยงเป็นมะเร็งตับตามมาได้ ฉะนั้นอย่าชะล่าใจต้องเจาะเลือดตรวจหาไวรัสตับอักเสบกันเป็นระยะด้วยนะคะ
ตัวอย่างยาที่ Gilead ส่งเข้าประกวด .. (ม่ายช่ายนางงาม 😅)....ได้แก่
ยา Epclusa® มีตัวยาสองอย่างผสมกัน คือ Sofosbuvir 400 mg + Velpatasvir 100 mg
ยา Vosevi® ที่มาจากตัวยาสามอย่างรวมกันในเม็ดเดียว คือ Sofosbuvir 400 mg, Velpatasvir 100 mg และ Voxilaprevir 100 mg ค่ะ
ยาสำหรับมะเร็งบางชนิด
เช่น
ยาฉีด Tecartus™ เป็นตัวยาเดี่ยวคือ Brexucabtagene autoleucel
ยาฉีด Yescarta® เป็นตัวยาเดี่ยวเช่นกัน คือ Axicabtagene ciloleucel ค่ะ
= = = = = =🔆
🤔 หลักการ ‘ดีไซน์’ ยาใหม่
Novel drug design
จากที่นกเล่ามา น่าจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Gilead ได้อยู่นะคะ ว่า 'พี่เค้าไม่ได้มาเล่น ๆ'😎 ...ฉะนั้น ก็ไม่แปลกที่เขาจะมีคลังข้อมูล หรือ Gilead Library ขนาดมหึมา สำหรับให้นักเคมีของเขามาทดลอง บวก ลบ คูณ หาร สมการเคมี ..ดูว่า ถ้าเอา สาร A มาผสมกับสาร B ในสภาวะ xx องศา มีความเป็นกรดด่างเท่านั้นเท่านี้ แล้วใส่สาร C D E F เป็นสเต็ป ๆ ไป ผลลัพธ์แต่ละขั้นตอน จะได้สารอะไรออกมาบ้าง 😮
หากได้สารใหม่จากปฏิกิริยาเคมีที่ว่า ..นกสมมติเรียกว่า สาร WOW .. เจ้า WOW นี่จะถูกวิเคราะห์ต่อ ว่ามันมีฤทธิ์อย่างไร สามารถจับกับตัวรับ (Receptor) ต่าง ๆ อย่างเฉพาะเจาะจงตามโครงสร้างสามมิติ 3D แบบแม่กุญแจที่เข้าคู่กับลูกกุญแจได้ไหม (จริง ๆ มีหลายแบบกลไกออกฤทธิ์ของยาเลยค่ะ)
ถ้าคำตอบ คือ "ได้" เจ้าสาร WOW นี่ก็จะเข้าสู่การผลิตในล็อตที่ใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนจากโมเดลตัวต้น สำหรับการทดสอบในไซส์ใหญ่ต่อไป แล้วเข้าสู่สเต็ปของการดูผลในหลอดทดลอง ..ในสัตว์ ..และในคน ตามลำดับขั้นตอนการวิจัยทางการแพทย์ค่ะ
นี่ก็เป็น หลักการคร่าว ๆ ที่บริษัทยาใช้กับการสังเคราะห์หรือทดลองจับนั่นผสมนี่อย่างมีหลักการ เพื่อสร้างยาใหม่ค่ะ.. จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนไม่ง่ายเลย ต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ นักเคมี และผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน กว่าจะผ่านการทดสอบ เป็น ยาใหม่ ที่ใช้ได้ 🏆.. จึงไม่น่าแปลกใจที่ยามีการจดสิทธบัตรยา หรือ Patent และมีระยะคุ้มครองไม่ให้บริษัทอื่นมาผลิตเป็นคู่แข่งนานถึง 20 ปีค่ะ (อ่านสิทธิบัตรยาเพิ่มเติม)📜
Generally, the principle of exploring new drugs is based on chemical reaction. When chemists mix two substances under controlled conditions, some novel substances may appear. The next process is checking its capacity for capturing specific receptors. If it works, it will be produced in large quantities for further in vitro and in vivo studies.  Since the enormous expense in novel drug discovery, it is not surprising that there is a legal patent for a new launched drug for 20 years.
= = = = = =🔆
👀 หน้าตา Remdesivir เป็นยังไง❓
What about remdesivir?
เจ้าเรมดิซิเวียร์ เป็นยารูปร่างเทอะทะค่ะ เพราะมีส่วนที่เป็นโครงสร้างฟอสเฟตอยู่  โดยเป็น "monophosphoramidate prodrug"....  ถ้าเห็นคำว่าฟอสเฟตที่ไหน ให้นึกถึงความกางแขนง้าง ๆ ของปูไว้ค่ะ🦀 และสังเกตที่คำว่า “prodrug” ด้วยค่ะ เห็นที่ไหนแปลว่า ยานั้น ๆ ตอนแรกมันจะไม่อยู่ในรูปที่พร้อมทำงานค่ะ เหมือนคนที่ใส่ผ้าคลุมว่ายน้ำอยู่ ต้องเปลื้องผ้าออกก่อน เหลือแต่ชุดว่ายน้ำ ถึงเหมาะที่จะลงเล่นน้ำได้ 👙🩱 .. ที่ต้องทำเป็น prodrug ไว้ ก็อาจเป็นเรื่องของความเสถียร ความคงตัวของยา การป้องกันการเสื่อมสภาพ ฯลฯ ค่ะ
ถามว่า แล้วยาจะออกฤทธิ์ยังไง ตอนไหน.. ก็จนกว่ายานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เหมาะสมตอนที่ถูกใส่เข้ามาในร่างกายคนแล้ว (เช่น กิน ฉีด ดม พ่น เหน็บ ฯลฯ) ถูกผ่านกระบวนการที่เรียกว่าเมตาบอลิซึม (metabolism) ถึงจะกลายเป็นยาที่ออกแอคชั่นวาดลวดลายได้ (active drug) นั่นเองค่ะ ..  และสำหรับเจ้าเรมเดซิเวียร์ ก็เป็นแบบนี้ด้วยค่ะ 😊
https://nokdinoschool.com/remdesivir/
ในรูป ซีกซ้ายมือ (ฟ้า+เหลือง) คือ ตัวยาเรมเดซิเวียร์ ซึ่งเป็น prodrug ค่ะ มันเป็นยาฉีด เมื่อถูกฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เข้ามาสู่ร่างกายแล้ว จะถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ตัดก้อนเมฆฟอสเฟตสีฟ้าออกแล้วเหลือแต่ส่วนสีเหลืองที่พร้อมทำงานจัดการกับไวรัสโควิด-19 นั่นคือส่วน active drug นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ เรมเดซิเวียร์ตอนอยู่ในขั้นวิจัย เขาถูกตั้งรหัสว่า GS-5734 ส่วนตัวก้อนเหลือง active form ของเรมเดซิเวียร์ ก็ถูกตั้งรหัสไว้ด้วย ไม่น้อยหน้ากัน คือ GS-441524 ค่ะ
และด้วยความที่เรมดิซิเวียร์หน้าตาคล้าย nucleotide ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสายพันธุกรรมดีเอ็นเอ เราก็เลยเรียกว่ามันเป็นยากลุ่ม nucleotide analog ด้วยค่ะ (คำว่า analog คือ ความคล้ายหรือเลียนแบบค่ะ)
แถม ๆ ค่ะ
คำว่า Pro+drug ไม่ใช่ Pro+duct นะคะ .. Prodrug เหมือนเด็กที่ติดโปร จะยังไม่ผ่าน ยังเรียนไม่จบ จนกว่าจะสอบให้ผ่าน.. Prodrug ต้องผ่านกระบวนการนิดหน่อย ก็จะกลายเป็น Active drug ที่พร้อมทำงานค่ะ
และคำว่า Prodrug ก็ไม่เหมือนคำว่า Proactive ด้วย เพราะ Proactive คือ คำชม มีความหมายในทางที่ดี ว่า เป็นคนกระตือรือร้น ไม่ต้องรอให้สั่ง ก็รู้งานหยิบนั่นทำนี่ เป็นที่รักของเจ้านายและเพื่อนร่วมงานค่ะ ส่วน Prodrug คือ ยาที่ยังไม่พร้อมทำงานค่ะ 😄
Remdesivir (GS-5734) is an inactive form of bulky drugs which is called "monophosphoramidate prodrug". As shown in the below drawing, the bulky blue cloud 🔵 is the phosphate group which will be cut-off when remdesivir is metabolized in the body. The rest is a yellow cloud  🟡 (GS-441524) which is the active form of this drug. This active form can grab onto the RNA polymerase enzyme which plays a role in virus replication. After this enzyme is inhibited, the virus cannot continue to reproduce in the host. Moreover, the structure of remdesivir is most likely the nucleotide, it is grouped as NUCLEOTIDE ANALOG.
= = = = = =🔆
🧪🧫 Remdesivir ใช้กับอะไรมาแล้วบ้าง?
📌ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในโลกเรามีสารมากมายที่ให้ผลน่าสนใจเมื่อทำกับเซลล์เพาะเลี้ยงหรือหลอดทดลอง (in vitro) หรือแม้กระทั่งทดสอบกับสัตว์ เช่น หนู สุนัข ลิง ค่ะ ..แต่เมื่อผ่านกระบวนการส่วนแรกแล้วไปทดสอบต่อในคน หรือเป็นระดับ clinical study ที่ไล่เรียงจากทดสอบในคนสุขภาพดีที่พร้อมเป็นอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ แล้วขยายใหญ่ขึ้นไปสู่คนไข้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคนั้น ๆ แล้วดูผลที่ตามมา จากการมีระบบเก็บข้อมูลอย่างละเอียด ทั้งด้านบวก (ประโยชน์ในการรักษา) และด้านลบ (พิษต่ออวัยวะสำคัญในการเปลี่ยนยาอย่าง ตับ ไต และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เช่น หัวใจ)
รวมถึงศึกษาการใช้ในกรณีพิเศษ เช่น สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ก็จะพบว่า มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างที่เราคาดเดาไม่ได้ทั้งหมดค่ะ .. นั่นเพราะภายในระบบร่างกายของคนเรามันมีความซ้ำซ้อนมาก นี่จึงเป็นความท้าทายของการวิจัยทางการแพทย์และด้านยาค่ะ 😊 ขึ้นชื่อว่า การวิจัยและพัฒนา (Research & Development ; R&D) ไม่มีคำว่าสิ้นสุดค่ะ จึงอาจมีผลวิจัยอื่น ๆ ที่มาสนับสนุนหรือหักล้างกันได้อีกในอนาคตนะคะ และในที่นี้ นกก็ยกมาบอกเล่าเพียงบางส่วนนะคะ 😊
Actually, there are many interesting substances that have inhibitory actions against pathogens or germs in vitro studies. But when they come to further study in animals or humans (clinical studies), the results are not the same. Additionally, some novel drugs which have been proven to have the advantages of medical therapy, their serious or uncommon side effects may appear later in a large or specific population.
และนกอยากให้ข้อสังเกตไว้เล็กน้อยก่อนเล่าต่อไปค่ะ ว่า เรากำลังสนใจผลของยาเรมเดซิเวียร์กับเชื้อไวรัสบางตัวก่อน เพราะหนึ่งในไอเดียของการพัฒนายาหรือรักษาโรค ..ก็มาจากการโฟกัสว่าจัดการเชื้อที่มีหน้าตาหรือพันธุกรรมคล้ายกันก่อนค่ะ
อย่างที่จะได้อ่านการวิจัยต่อไปข้างล่าง เขาศึกษาผลของยาต่อไวรัสเมอร์ส  MERS-CoV, ไวรัสซาร์ส (SARS-CoV) และ ไวรัสโควิด (SARS-CoV2) ซึ่งทั้งสามล้วนเป็นไวรัสในตระกูล (Virus Family) เดียวกัน คือ โคโรน่าไวรัส "Coronaviruses" คือ ใช้ RNA ในการเก็บข้อมูลพันธุกรรมและสำคัญต่อการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนใน Host หรือสิ่งมีชีวิตที่มันไปอาศัยอยู่ (ในทีนี้ ก็คือ คนค่ะ)..ส่วนเจ้าไวรัสอีโบล่า Ebola เป็นเชื้อของอีกตระกูล ชื่อ ตระกูล Filoviruses ค่ะ ..แล้วเรามาดูกันว่าได้ผลอย่างไรบ้างนะคะ
Remdesivir has tested the antiviral action in three types of virus in the same family, Coronaviruses - MERS-CoV, SARS-CoV and SAR-CoV2 (Covid-19). It is called Coronaviruses because its RNA is a genetic material for propagation. And the other type is EBOLA virus which is classified as a member of the family Filoviruses.
https://nokdinoschool.com/remdesivir/
🧪 เรมเดซิเวียร์กับไวรัส MERS และ SAR-CoV
How does remdesivir work on MERS-CoV and SAR-Cov?
ไวรัสโรค MERS ย่อมาจากคำว่า Middle East Respiratory Syndrome หรือ กลุ่มอาการโรคในระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลางค่ะ ที่ได้ชื่อนี้เพราะถูกเรียกตามตำแหน่งที่พบการระบาดครั้งแรกคือ ประเทศซาอุดีอาระเบียนั่นเอง
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยง ที่เอาเนื้อเยื่อชั้้นผิว epithelial  ของปอดคน หรือ  lung epithelial cell line Calu-3 2B4 (2B4) มาทดสอบว่า เมื่อได้รับยาเรมเดซิเวียร์เข้าไป ที่ความเข้มข้นเท่าไร (Inhibitory concentration) ที่จะยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส MERS ได้ แล้วก็ได้พบว่าที่ความเข้มข้น 0.03 uM (ไมโครโมล่าร์) เจ้าเรมดิซิเวียร์สามารถยับยั้งได้ ทำให้เชื้อไวรัสนี้หายไปครึ่งหนึ่งได้ เราเรียกค่านี้ว่า IC50 ค่ะ.. และยิ่งค่านี้ต่ำ ก็ยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพว่าใช้แค่ความเข้มข้นน้อย ๆ ก็ได้ผลแล้ว
‘Middle East Respiratory Syndrome’ or MERS is caused by MERS-COV which is related to its first pandemic of this disease in Saudi Arabia. The research is studied in cell culture. Using the human lung epithelial cell line, Calu-3 2B4 to observe what is the IC50 or inhibitory concentration at 50% against MERS-CoV. The IC50 of this drug is 0.03 uM which is interesting because it can infer that remdesivir may have a great potency against this pathogen.
💥 ในงานชิ้นเดียวกันนี้ เขายังทดสอบเพิ่มเติมกับเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดอื่น คือ HAE cell โดยนำไวรัสสองชนิด คือ ไวรัสโรค MERS และ ไวรัสโรคซาร์ส / SAR-CoV (ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโควิด) ไปติดสีโปรตีนที่เรืองแสงฟลูออเรสเซ้นต์สีแดง หรือ Red fluorescent protein (RFP) ไว้ แล้วดูว่า พอให้ยาเรมเดซิเวียร์ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ แล้ว ยานี้จะยับยั้งการแบ่งตัวเติบโตของไวรัสได้มากน้อยแค่ไหน คือ จะดูจากความสามารถในการทำให้เซลล์เพาะเลี้ยงที่ติดไวรัสมีจำนวนลดลงไป หรือ หายไปมากน้อยแค่ไหน ผ่านการดูด้วยกล้องฟลูออเรสเซนต์แบบพิเศษ ที่สามารถคำนวณได้ค่ะ ว่าเหลือเซลล์ที่มีการเรืองแสงเพราะติดเชื้อไวรัสอยู่อีกแค่ไหน
...และผลจากการวิจัยนี้ ก็คือ ณ ความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของยาเรมเดซิเวียร์ สามารถจัดการให้ไวรัสหายไปได้มากขึ้นเรื่อย ๆ หรือ มีความสัมพันธ์กันโดยเทียบจากการเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์สีแดงที่น้อยลง ๆ ค่ะ 🔴🟠⚪ (อ่านเปเปอร์)
Furthermore, the inhibitory action of remdesivir against two coronaviruses (MERS-CoV and SAR-CoV) is studied in another cell ine, HAE cell. By observing the absence of fluorescence  of virus-infected cells, it shows the potency of drug action. At the low dose of drug, the fluorescence is much more present that at the higher dose. So, the antiviral action of this drug is dose related.
ตรงนี้ นกขอเล่าเพิ่มเติมว่าเชื้อไวรัสซาร์ส (SARS-CoV) และไวรัสโควิด (SARS-CoV2) นับว่าเป็นญาติใกล้ชิดกันค่ะ ..เพราะมีการเรียงลำดับของสารพันธุกรรมบนสายนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เหมือนกันถึง 79.6% และการที่ทั้งคู่ชอบพิชิตเหยื่อที่ปอด ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการฟอกเลือดให้มีออกซิเจนเพียงพอต่อการทำงานของทุกเซลล์ในร่างกาย  เราจึงเรียกไวรัสเชื้อสองตัวนี้ว่า "SARS" ที่ย่อมาจาก Severe Acute Respiratory Syndrome หรือ โรคทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันรุนแรง นั่นเองค่ะ
In addition, SARS-CoV and SAR-CoV2 (Covid-19) are genetically related. More than 79.6% of their nucleotides are identical. Also, lung tissue which plays a critical role in the oxygen exchange cycle is both of their target. So, we named both of them as SAR virus which stands for ‘Severe Acute Respiratory Syndrome’.
👦 เรมเดซิเวียร์กับไวรัส Ebola
How does Redesivir work on Ebola virus?
ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสอีโบล่า ซึ่งจัดเป็นไข้เลือดออกประเภทหนึ่ง หรือ Ebola Hemorrhagic Fever ก็เป็นความท้าทายใหม่ในวงการแพทย์อีกเช่นกันในการหาทางรับมือค่ะ ในช่วงปี 2019 นั้น ได้มีการศึกษาใช้ยานี้ในคนไข้โรคอีโบลา โดยทำการศึกษากับคนไข้จำนวนมากถึง 681 คนค่ะ โดยเขาเลือกแบบสุ่มแยกคนไข้ลงเป็นสี่กลุ่ม เพื่อรับยาแตกต่างกัน หนึ่งในนั้นมียาเรมเดซิเวียร์ค่ะ
สำหรับขนาดหรือโด้สยาเรมเดซิเวียร์ในงานวิจัยนี้ ก็ใช้เหมือนสำหรับการรักษาโควิด-19 ในตอนนี้ค่ะ คือ โหลดโด้สสูงที่ 200 mg ครั้งเดียวในวันแรก หลังจากนั้นตามด้วย 100 mg วันละครั้ง ฉีดต่อเนื่องจนครบ 9-13 วันตามปริมาณเชื้อไวรัส (ดูจากค่า viral load) ที่ยังหลงเหลืออยู่ค่ะ
ส่วนคนไข้อีกสองกลุ่ม จะได้โปรตีนแอนตี้บอดี้ชนิดใดชนิดหนึ่งระหว่าง MAb114 (เป็น single human monoclonal antibody) กับ REGN-EB3 (เป็นลูกผสมสามอย่างของ IgG1 monoclonal antibodies) และคนไข้กลุ่มสุดท้ายจะเป็นกลุ่มควบคุม (control group) คือได้รับแอนตี้บอดีชนิด triple monoclonal antibody หรือ ZMapp ค่ะ
When the Ebola Hemorrhagic Fever Outbreaks, it is a huge challenge for medical science. In 2019, there is one interesting research which studied among 681 Ebola virus-infected patients. The patients were randomized into four groups for different treatment.
One of four groups received a 200 mg loading dose of remdesivir, then 100 mg once daily for 9-13 days. You will notice that the loading and maintenance dose of remdesivir in this study is the same as for covid-19 treatment presently.
The remaining three groups are given different antibodies : (1) ZMapp - triple monoclonal antibody (control group) (2) Mab114 - single human monoclonal antibody and (3) REGN-EB3 (mixed IgG1 monoclonal antibodies) to compare the antiviral potency and side-effects.
ในการวัดผล จะดูจากค่า Viral Load หรือปริมาณเชื้อไวรัสที่เหลืออยู่ในร่างกายจากการเจาะเลือด ควบคู่กับค่าผลเลือดที่บอกถึงปัญหาพิษต่อตับ คือ ค่าเอ็นไซม์ Aminotransferase และ พิษต่อไต คือ Serum creatinine และดูจำนวนการเสียชีวิตในแต่ละกลุ่มในช่วงระยะเวลา 28 วันนับจากที่เริ่มรักษาค่ะ
ผลจากการศึกษานี้ พบว่า ยาเรมเดซิเวียร์ให้ผลในการรักษาอีโบล่าที่ไม่น่าพอใจ เพราะเมื่อเทียบกับการใช้แอนตี้บอดี้ MAb114 และ REGN-EB3 แล้ว พบว่าการใช้ antibody ทั้งสองช่วยลดอัตราการเสียชีวิตดีกว่าการใช้ยาเรมเดซิเวียร์และ ZMapp ค่ะ ส่วนค่าเอ็นไซม์จากตับไตที่บ่งบอกถึงปัญหาที่ตามมาจากการใช้ยา พบว่า คนไข้ที่ได้ยาเรมเดซิเวียร์และ ZMapp มีค่าเอ็นไซม์ตับและไตสูงกว่าคนที่ได้แอนตี้บอดี้ทั้งสองชนิดอีกด้วยค่ะ (อ่านเปเปอร์)
The quantity of the viral load or remaining virus in the bloodstream can be evaluated throughout this study. As well as the recording of two important enzymes, aminotransferase and serum creatinine level which imply the toxicity of these substances to liver and kidney respectively. The mortality within 28 days was also reported.
Anyways, the conclusion of this study is unsatisfactory. The clinical outcomes of remdesivir for Ebola treatment are not as good as we expected. The mortality rate of remdesivir treatment is higher than that of MAb114 and REGN-EB3. Moreover, the level of liver and kidney enzymes is elevated in remdesivir and ZMapp-treated patients than the rest.
= = = = = =🔆
💥 Remdesivir จัดการยังไงกับไวรัส COVID-19?
How does remdesivir inhibit the SAR-CoV2
ขอย้อนนึดหนึ่ง ที่นกเล่าไปในตอนต้นค่ะ ..ว่า เจ้า Remdesivir เขาเป็น prodrug ที่ยังไม่พร้อมทำงาน แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าตาด้วยกระบวนการที่เรียกว่า เมตาบอลิซึม (metabolism) ทำให้มันมีหน้าตาไปละม้ายคล้าย C-adenosine nucleoside triphosphate ซึ่งเจ้าตัวนี้ ถ้าเป็นของแท้ ๆ แล้ว เขาคือสารตั้งต้นที่ต้องใช้เพื่อการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนของไวรัสโควิดค่ะ
As I said, Remdesivir itself is an inactive form or prodrug, so it has to be changed by metabolic processes in our body. Then, its active form which looks like C-adenosine nucleoside triphosphate - one of the precursors of viral propagation- will appear.
พอเจ้าเรมเดซิเวียร์ ถูกเปลี่ยนโฉมให้เป็นตัวออกฤทธิ์ (ก้อนสีเหลืองในรูปด้านล่าง) ที่นกขอเรียกเล่น ๆ ว่าเป็น ของก๊อปแท้ งาน Mirror เกรดเอ ..ด้วยความคล้ายกันกับสารตั้งต้นที่จะไปต่อสาย RNA ก็เลยทำให้เจ้าเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า RNA polymerase (ก้อนสีชมพูตุ้ยนุ้ยในรูป) ที่โดยปกติจะมาช่วยจับเพื่อต่อสาย ..มันเกิดอาการสับสนแล้วจับผิดค่ะ.. คือ แทนที่จะจับกับ C-adenosine nucleoside triphosphate เพื่อขยายพันธุ์ไวรัส ก็ดันมาจับกับยาเรมเดซิเวียร์ที่เป็น active form แทน ..บทสรุปคือ เจ้าไวรัสโควิด ก็เลยถูกควบคุมประชากรแพร่พันธุ์เพิ่มไม่ได้และถูกกำจัดออกจากร่างกายเราไปในที่สุดค่ะ
The RNA polymerase is the key enzyme for RNA synthesis that is the critical step for viral replication. One of the components it catches is C-adenosine nucleoside triphosphate. So, when the active forms of remdesivir happen. It will catch this enzyme instead of its true precursor. Finally, the virus can't reproduce in our body anymore.
นอกจากด้วยวิธีสับขาหลอกให้เอ็นไซม์ RNA polymerase มาจับแล้ว ยาเรมเดซิเวียร์ยังอาจมีฤทธิ์ทำให้ไวรัสผิดเพี้ยนไปในการสร้างสารพันธุกรรม คือ สร้างออกมาแต่เป็นไวรัสที่หน้าตาพิกลพิการ ทำให้แพร่พันธุ์ไม่ได้และถูกกำจัดเช่นกัน และอาจมีกลไกที่สามที่ไปสกัดยับยั้งตรง ‘หน้าด่าน’ ที่เชื้อไวรัสโควิดจะผ่านเข้ามาในเซลล์ร่างกายเราได้ด้วย ถือว่า Remdesivir เป็นยาที่มีกลไกโดดเด่นหลายอย่างคอมโบ้ในตัวเดียวเลย ..😮
Apart from that action, Remdesivir may be responsible for the generation of abnormal viruses. Moreover, it may block the entry of SAR-CoV2 into target cells.
https://nokdinoschool.com/remdesivir/
🧫 ในเซลล์เพาะเลี้ยง in vitro
In vitro studies
มีการศึกษาทดสอบดูว่าเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อไต Vero E6 cell เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด (2019-nCoV) แล้วจะสามาถจัดการด้วยยาเรมเดซิเวียร์ได้ไหม ก็ปรากฏว่าเจ้าเรมเดซิเวียร์มีค่า EC50 หรือ  Effective Concentration 50% (ความเข้มข้นที่ยาออกฤทธิ์จัดการไวรัสได้ 50%) อยู่ที่ 0.77 uM (ไมโครโมล่าร์) เมื่อเทียบกับยาคลอโรควิน Chloroquine ซึ่งใช้เป็นตัวเทียบฤทธิ์มาตรฐาน เพราะคลอโรควินเป็น Board spectrum anti-viral drugs (มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสได้กว้างมาก) ที่ให้ค่า EC50 ที่ 1.13 uM
ส่วนค่า EC90 (ความเข้มข้นของยาที่จัดการไวรัสได้ถึง 90%) ของยาเรมเดซิเวียร์ในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ที่ 1.76 uM ในขณะที่ค่า EC90 ของยาเทียบอย่างคลอโรควินอยู่ที่ 6.90 uM ค่ะ แถมการศึกษานี้ยังทำกับเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อตับ Huh-7 cells ก็พบว่าให้ผลตอบสนองต่อยาเรมเดซิเวียร์ที่น่าสนใจด้วยค่ะ
ดังนั้น จากงานวิจัยนี้ แสดงถึงฤทธิ์ของเรมเดซิเวียร์ต่อเชื้อโควิดในเซลล์เพาะเลี้ยง in vitro ที่ดีมากทีเดียวค่ะ (อ่านเปเปอร์)
There is a cell culture experiment with the Vero E6 cell line for finding out the  Effective Concentration 50% (EC50) of remdesivir against SAR-CoV2. Chloroquine is the broad spectrum of antiviral drugs, so it is used to be the comparable standard in this experiment. The EC50 of this drug is 0.77 whereas that of Chloroquine is 1.13 uM. The lower concentration refers to the greater potency. So, it is interesting that remdesivir has effective potency to block the SAR-CoV2 propagation.
As well as the concentration of EC90, remdesivir is 1.76 uM which is much lower than 6.90 uM in Chloroquine-testing. The results of an in vitro experiment handled in the liver cell line, Huh-7 cells are shown the same way.(Read more)
👩‍🦰 ใช้กับคนไข้โควิด Clinical study
The clinical study
การศึกษาที่นกจะเล่าต่อไปนี้ เป็นการใช้ยาเรมเดซิเวียร์กับคนป่วยโควิดที่อาการรุนแรง คือ วัดค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen saturation ย่อว่า O2 sat) ได้น้อยกว่า 94% ...ซึ่งขอเทียบกับเกณฑ์ที่คนทัวไปตอนนี้จะรู้จักกันดี จากการมีเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วแบบพกพาจำหน่ายให้ทุกคนมีไว้ติดบ้านเพื่อวัดตัวเองช่วงโควิดระบาด .. ถ้าเราวัดได้ค่า O2 sat น้อยกว่า 96% ก็ควรเตรียมใช้เครื่องออกซิเจนช่วยหายใจแล้วค่ะ (จะเริ่มหายใจเหนื่อย หายใจถี่ หรือหายใจหอบ เพราะออกซิเจนในเลือดต่ำ ร่างกายไม่พอใช้ในการทำงานของเซลล์ต่าง ๆค่ะ)
ในการศีกษานี้ ทุกรายจึงเป็นคนไข้ที่นอนโรงพยาบาล โดยโด้สแรกจะให้เจ้าแรมเดซิเวียร์ 200 มิลลิกรัมฉีดเข้าเส้นเลือดดำ  (iv) ครั้งเดียว ส่วนวันต่อ ๆ มาจะฉีดเข้าเส้นที่ 100 mg ต่อเนื่องจนครบ 10 วัน ระหว่างนั้นก็จะมีการจดค่า O2 sat (ที่ควรต้องค่อย ๆ สูงขึ้น หากอาการดีขึ้น) และบันทึกอาการต่าง ๆ (นี่ จึงเป็นการวิจัยแบบตามเฝ้าสังเกตหรือ Cohort study) แล้วมาสรุปวิเคราะห์ผลในท้ายที่สุดค่ะ
จากงานชิ้นนี้ ก็ได้ผลลัพธ์ว่า คนไข้ 36 จาก 53 คน (คิดเป็น 68%) มีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ที่ใช้ออกซิเจนแบบหน้ากากครอบสูด (Non-invasive ventilation) หรือรายที่ต้องมีการเจาะคอเพื่อสอดท่อช่วยหายใจ (Invasive ventilation) และไม่ว่าจะเป็นคนไข้กลุ่มอายุน้อย (คือน้อยกว่า 50 ปี) , ช่วงอายุ 50-70 ปี หรือเป็นผู้สูงวัยอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป โดยนับจากวันที่เริ่มได้รับยานี้ และติดตามผลหลังจากหยุดยาแล้วจนครบ 36 วันค่ะ👍 ..อย่างไรก็ตาม มีเสียชีวิตไป 7 ราย (คิดเป็น 13%)  โดยเป็นเคสที่อาการรุนแรงขนาดต้องเจาะคอใส่ท่อ 6 คนค่ะ😔 (อ่านเปเปอร์)
Here is an interesting study observed in hospitalized patients who had been diagnosed with covid-19 infected lung. They were treated with the first 200 mg-loading dose of remdesivir, then followed by a 100 mg-maintenance dose until 10 days. The percentage of saturated oxygen and patients symptoms were all recorded. The data were collected until 36 completed days after the starting date. Then, they were evaluated at the end of this cohort study.
Sixty-eight percent of 53 patients showed great improvement during their treatment whether they were invasive or non-invasive. Remdesivir was entirely effective among all three age divided groups of <50 years’ group, 50-7- years’ group and >70 years' group. Anyways, seven patients (13%), six of them were invasive cases, died. (Read more)
= = = = = =🔆
🧑 ใครควรใช้ Remdesivir ?
Who should be treated with remdesivir for the treatment of Covid-19?
จากผลการศึกษาต่าง ๆ บริษัทกิลเลียด Gilead Sciences จึงแนะนำให้ใช้ยาเรมเดซิเวียร์กับคนไข้โควิดที่อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปค่ะ โดยควรมีน้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัมขึ้นไป และต้องเข้าเกณฑ์ว่าใช้ยาอื่นที่เป็นตัวเลือกแรก (First Choice) อย่างเช่น การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ รวมถึงเป็นเคสที่อาการหนักหน่อย คือ วิกฤตแบบที่ต้องใช้เครื่อง ECMO -  extracorporeal membrane oxygenation มาช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอดในภาวะฉุกเฉิน*  การใช้เจ้าเรมเดซิเวียร์จึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพื่อประเมินการตอบสนองและเช็คอาการข้างเคียงต่าง ๆ จากการใช้ยาอย่างใกล้ชิดค่ะ
*ใช้ตามแนวทางของ IDSA - Infectious Diseases Society of America)  และ US-NIH - สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ / The National Institutes of Health
It is recommended to use remdesivir in people aged more than 12 years old. The weight of patients should be more than 40 kilograms. And it should be the second option for patients who can’t be treated with favipiravir. Remdesivir is also suggested to use for severe cases of covid-19 patients who have to be hospitalized with ECMO equipment.
👶 ถ้าเป็นเคสเด็กที่ดูแล้วว่าสมควรต้องใช้ยานี้จะคิดตามน้ำหนัก ให้โด้สยาเรมเดซิเวียร์ในวันแรก 5 mg/kg ครั้งเดียว และวันต่อมาจะลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือ 2.5 mg/kg วันละครั้งเดียวเช่นกันค่ะ  .. คือ ยาสำหรับเด็ก ๆ เราจะคิดตามน้ำหนักตั ให้ได้โด้สต่ำสุดที่ยังได้ผลและปลอดภัย ลดปัญหาอาการข้างเคียงต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพราะระบบอวัยวะกำจัดยา เช่น ตับ ไต ของเด็ก ๆ จะยังทำงานไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ รวมถึงจะได้หลีกเลี่ยงการรบกวนต่อพัฒนาการทางร่างกายของระบบอื่น ๆ ของเด็กด้วยค่ะ
The remdesivir dose should be adjusted according to the weight of children under 12 years old. The initial loading dose is 5 mg/kg once daily followed by 2.5 mg/kg once a day thereafter.
= = = = = =🔆
💉 Remdesivir ใช้ยังไง?
How to use remdesivir for Covid-19 treatment
เจ้าเรมเดซิเวียร์ เขาทำเพื่อให้เราใช้สำหรับเป็นยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือ iv ที่ย่อจาก intravenous ค่ะ.. โดยตัวของยาเรมเดซิเวียร์นั้น จริง ๆ แล้วมีข้อจำกัดตรงที่การละลายค่ะ คือ ละลายยาก.. ทางกิลเลียด Gilead บริษัทแม่เจ้าของลิขสิทธิ์ยานี้ จึงต้องใช้กรรมวิธีเพื่อทำให้เป็นยาฉีดที่ละลายได้ดีด้วยการเติมสาร Captisol หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Sulfobutyl Ether beta cyclodextrin Sodium หรือ Betadex Sulfobutylether Sodium ในตำรับยาค่ะ
The route of administration for Remdesivir is intravenous injection (i.v.). Each vial contains 100 mg Remdesivir as the active ingredient. A captisol is added to the formulation in order to increase the solubility also.
🎯 สำหรับโด้สยาหรือปริมาณยาที่ใช้ ในวันแรก หรือ day1 (ย่อว่า d1) จะเป็นโด้สอัดปริมาณสูงหน่อย เพื่อให้ระดับยาในกระแสเลือดเพิ่มสูงเร็วให้ถึงจุดที่ออกฤทธิ์ได้ หรือที่เรียกว่า Loading dose ที่ปริมาณ 200 mg ค่ะ ..ในยี่ห้อ Veklury® (อ่านว่า VEK-lur-ee) ของบ.Gilead 1 ไวแอล (vial) หรือ 1 ขวด จะมีปริมาณตัวยาเรมเดซิเวียร์ที่ 100 mg ค่ะ และพอพ้นจากวันแรกจะเป็นโด้สควบคุมที่ปริมาณคงที่ หรือ Maintenance dose ที่เท่ากันทุกวัน คือ 100 mg วันละครั้งเดียว ต่อเนื่องไปจนครบ 5 วันค่ะ (มีการวิจัยพบว่าการใช้ 5 วันได้ผลดีเท่ากับการใช้ 10 วันจากผลการวิจัยระยะแรก แต่ถ้าเป็นคนไข้หนักที่ต้องใช้เครื่อง ECMO จะแนะนำให้ใช้ยาเรมเดซิเวียร์ไปครบ 10 วันค่ะ)
Hospitalized Covid-19 patients should receive remdesivir 100 mg once daily for at least 5 days, after a loading dose of double the maintenance dose on day 1. For the patients using the ECMO machine, they should be treated with remdesivir for 10 days continuously.
https://nokdinoschool.com/remdesivir/
👱‍♀️ คนท้อง ใช้ Remdesivir ได้ไหม?
Is remdesivir safe to use in pregnancy?
⭐ ตรงนี้เป็นจุดเด่นของเจ้าเรมเดซิเวียร์เลยค่ะ เพราะการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ยังไม่มีหลักฐานมากนัก ว่ามันปลอดภัยต่อเด็กในท้อง แต่เรมเดซิเวียร์มีข้อมูลว่าปลอดภัยกับหญิงท้องและไม่กระทบต่อลูกในท้องค่ะ ..ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ประกาศ 21 กรกฎาคม 2564) จึงแนะนำให้เจ้าเรมเดซิเวียร์กับ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อโควิดที่ปอด ไม่ว่าไตรมาสไหน อายุครรภ์เท่าไร ถ้ามีอาการแสดงของปอดอักเสบ และยิ่งชัดเจนจากผลฟิล์มเอกซเรย์ปอด ว่ามีภาวะอักเสบจากโควิด ปอดเป็นฝ้าขาวด้วย ..แบบนี้จะเลือกฉีดยาเรมเดซิเวียร์ให้ค่ะ
แต่หากเป็นคุณแม่ที่เพิ่งท้องอ่อน ๆ ช่วงไตรมาสแรก (ท้องเดือนที่ 1-3) แล้วมีอาการโควิดน้อย ๆ จะรักษาตามอาการไปค่ะ ส่วนคุณแม่ตั้งท้องช่วงกลาง ๆ ราวท้องราวเดือนที่ 4 ขึ้นไป (ไตรมาสที่สอง) และอาการจากโควิดนั้นก็ถูกประเมินแล้วว่าไม่รุนแรง หมอจะมีการเลือกชั่งน้ำหนักระหว่างการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์กับเรมเดซิเวียร์ ว่าใช้ตัวไหนแล้วจะดีกว่า ประโยชน์มากกว่าโทษ หรือ Benefit > Risk แบบนี้ จะว่ากันไปเป็นเคส ๆ  (แต่ถ้าพบว่าปอดมีการอักเสบจากโควิด ก็มีแนวโน้มสูงที่จะใช้ยาฉีดเรมเดซิเวียร์ค่ะ)😊
Actually, this point is the highlight of using remdesivir. Because the use of favipiravir is not much evidence that it is safe for pregnant women and unborn children when compared to that of remdesivir. So, it is suggested to treat pregnant mothers infected with SAR-CoV2 in her lungs with remdesivir. No matter how many months pregnant.
But at an early stage of pregnancy (1-3 months) with mild symptoms of Covid-19 pathology, remdesivir is not necessary. In the second trimester of pregnancy with moderate infection of SAR-CoV2, physicians should weigh the risk and benefit for each patient cautiously.
💢 คนเป็นโรคตับ-โรคไต ใช้ Remdesivir ได้รึเปล่า?
Is remdesivir toxic to the liver or kidney?
จากที่ศึกษามา ตัวยาเรมเดซิเวียร์ไม่ทำให้ค่าเอ็นไซม์ตับไตเพิ่มสูงขึ้น จนต้องปรับขนาดยาอย่างยาฟาวิพิราเวียร์ นั่นคือ มีความปลอดภัยต่อการใช้ในคนไข้ที่มีปัญหาสองโรคนี้มากกว่าค่ะ แต่‼ คนที่มีปัญหาโรคไตอยู่แต่เดิม จะพิจารณาให้โดยดูจากค่าการกรองของเสียออกทางปัสสาวะค่ะ ถ้าค่าการกรองของเสียเขาไม่ดี ค่า GFR หรือ glomerular filtration rate เจาะเลือดวัดแล้วได้น้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อนาที ก็จะไม่ฉีดยาเรมเดซิเวียร์ให้ค่ะ
ส่วนคนที่มีปัญหาโรคตับอยู่แต่เดิม การใช้เรมเดซิเวียร์จะปลอดภัยกว่าการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ (ที่มีต้องปรับขนาดยาถ้ามีปัญหาโรคตับระดับปานกลางถึงรุนแรงค่ะ) เพราะเมื่อยาเรมเดซิเวียร์ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายเราแล้ว จะถูกกำจัดออกด้วยเอ็นไซม์ hydrolases ทำให้แป๊บเดียวระดับยาในเลือดก็ลดลง ผลต่อตับจึงน้อยมาก ๆ ค่ะ .. แต่ถ้าคนไข้รายนั้น ๆ วัดค่าเอ็นไซม์ตับ หรือ ALT (ย่อจาก Alanine transaminase หรือ Alanine aminotransferase) มากกว่า 5 เท่าของค่าปกติซึ่งแสดงว่าตับมีภาวะอักเสบค่อนข้างมากอยู่ ก็จะไม่ให้ยานี้ค่ะ (อ่านเปเปอร์)
From many studies, Remdesivir itself is not harmful to the liver and kidney. It differs from favipiravir,the first line drug for Covid-19 treatment. The dose of favipiravir should be adjusted in patients with liver problems. Remdesivir should be avoided in patients with glomerular filtration rate (GFR) less than 30 ml/minute. (The normal rate of GFR should be 95-125 ml/min)
Remdesivir is metabolized by hydrolases, then broken down and eliminated from the body in hours. It doesn’t take long to get rid of this drug. So, it is safer to use in patients who have liver disease when compared to favipiravir. Anyways, it should be avoided in patients with alanine transaminase (liver enzyme which indicates the level of liver damage) much more than 5 times of normal level. (The normal range of ALT is 0 - 48 U/L.) (Read more)
🔅 อาการข้างเคียงของ Remdesivir?
Side effects of remdesivir
เจ้าเรมเดซิเวียร์ ถึงจะเป็นยาฉีดที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษา แต่ก็มีอาการข้างเคียงอยู่เหมือนกันค่ะ อย่าง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ความดันตก แต่ถือว่าน้อย ยังอยู่ในจุดที่ยอมรับได้ หากเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับเมื่อต้องใช้ยานี้ในกรณีที่ปอดติดเชื้อโควิด-19 ค่ะ (อ่านเปเปอร์)
Some side effects of remdesivir are reported such as nausea, vomiting, constipation and hypotension. However, there are more potential advantages when compared to these side effects. (Read more)
= = = = = =🔆
🤔 ทำไมไม่ใช้ Remdesivir เป็นช้อยส์แรกรักษา COVID-19?
Why is remdesivir not the first choice for covid-19 treatment?
อย่างที่นกเล่าในช่วงต้น ๆ เจ้าเรมเดซิเวียร์นี่มีแอคชั่นน่าสนใจทีเดียว แต่ที่ไม่ใช้เป็นพระเอกเบอร์หนึ่งตั้งแต่ต้นสำหรับคนป่วยโควิด-19 ที่ต้องนอนโรงพยาบาล ก็น่าจะเพราะตอนนี้เรามีทั้งยาที่ราคาถูกกว่า แถมเป็นยาเม็ดที่กินง่าย (บริหารยาง่าย) อย่างเจ้ายาฟาวิพิราเวียร์ Favipiravir อยู่แล้วค่ะ
คือ ถ้าดูที่ราคา.. ตอนนี้ราคายา Favipiravir 200 mg จะอยู่ที่เม็ดละประมาณ 120-150 บาท ในคอร์สการรักษาหนึ่ง ๆ จะใช้อย่างน้อย ๆ ก็ 50 เม็ดต่อคน ดังนั้น 'เฉพาะค่ายา' ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการแพทย์และอื่น ๆ ก็ 6,000-7,500 บาทต่อรอบการป่วยครั้งหนึ่งค่ะ💢 ส่วนยา Remdesivir นั้น 100 mg 1 ไวแอล ต้นทุนราคาไม่ต่ำกว่า 3,000 บาทขึ้นไป ซึ่งหนึ่งคนต้องใช้ 6-11 ไวแอล ตามความรุนแรงของอาการ ก็จะเป็นค่าใช้จ่าย 'เฉพาะค่ายา' ก็ไม่น้อยกว่า 2-3 หมื่นบาทแน่นอนค่ะ (ดูตัวอย่างราคากลางจัดซื้อ เรมเดซิเวียร์ คณะแพทย์ มอ. 17 สิงหาคม 2564) 💥
จะเห็นได้ว่า แม้จะฤทธิ์ที่ดีในการจัดการไวรัสโควิด แต่ความเป็นรองของยาเรมเดซิเวียร์ ต่อฟาวิพิราเวียร์ก็มีอยู่หลายอย่าง ทั้งการเป็นยาฉีดที่บริหารจัดการยากกว่ายาเม็ด ยาฉีดมีต้นทุนการผลิตสูงกว่ายาเม็ด (ต้องทำในสถานที่ปลอดเชื้อ เก็บรักษาในอุณหภูมิที่ควบคุม) ทำให้ราคายาที่สถานพยาบาลจัดซื้อจากบริษัทค่อนข้างสูง และการที่เป็นยาฉีดใช้ในภาวะปอดอักเสบ ด้วยภาวะของโรคที่ค่อนข้างรุนแรงก็ยิ่งจำเป็นต้องดูแลให้ยา ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล จึงทำให้โดยรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายต่อคอร์สการรักษาสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ
ยังไม่นับประเด็นสำคัญ คือ 'ความพร้อมจะจ่าย' หรือ สิทธิ์การเบิกรักษา (สิทธิ์ข้าราชการ ประกันสังคม บัตรทอง ประกันสุขภาพของบริษัทประกัน ฯลฯ) ของเรา ๆท่าน ๆ แต่ละคนอีกด้วยนะคะ 😅 ตรงจุดนี้ ท่านที่ไม่มีสิทธิ์ที่ครอบคลุมการเบิกจ่ายมากนัก คงต้องเริ่มมองหาตัวช่วยสำรองไว้ตั้งแต่ก่อนป่วย อย่างการทำประกันโควิด ประกันสุขภาพต่าง ๆ ที่มีสิทธิประโยชน์ตอบโจทย์ตรงนี้ด้วยค่ะ
Even though the efficacy of remdesivir is very interesting, it is not the first choice in all cases of SAR-CoV2 infection. Nowaday we have favipiravir which is cheaper and easier to use. The cost of each favipiravir tablet is 120-150 Thai baht, whereas that of remdesivir is more than 3000 Thai baht per single-dose vial.
Actually,we have to take more than 50 tablets of favipiravir in one course of treatment. So the overall payment must be at least 6,000-7,500 Thai baht. Whereas the 5-10 day-course of remdesivir is more expensive, we have to pay about 20,000 Thai baht or more. Besides that, many people have limited reimbursements for their medical expenses. So, remdesivir will be used in a specific case that matches the certain criteria.
✍ภญ.กนกรัตน์ ไชยลาโภ [นกไดโนสคูล]
💎ติดต่องาน 💌E-mail : contact@nokdinoschool.com🌸
ทีมเภสัชพี่นก
= = = = = =🔆
📙 แหล่งอ้างอิง References
Gilead Sciences, Inc. https://www.gilead.com
Remdesivir: From Ebola to COVID-19 https://doi.org/10.1016/j.bbrc.2020.11.043VEKLURY® (VEK-lur-ee) PATIENT INFORMATION veklury_patient_pi.pdf (gilead.com)
Broad-spectrum antiviral GS-5734 inhibits both epidemic and zoonotic coronaviruses https://stm.sciencemag.org/content/9/396/eaal3653/tab-pdf
A Randomized, Controlled Trial of Ebola Virus Disease Therapeutics https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1910993
Trends in the development of remdesivir based inventions against COVID-19 and other disorders: A patent review https://doi.org/10.1016/j.jiph.2021.06.013
Remdesivir therapy in patients with COVID-19: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials https://doi.org/10.1016/j.amsu.2020.12.051
Hepatobiliary Adverse Drug Reactions Associated With Remdesivir: The WHO International Pharmacovigilance Study https://doi.org/10.1016/j.cgh.2021.04.039
Remdesivir and chloroquine effectively inhibit the recently
emerged novel coronavirus (2019-nCoV) in vitro  https://doi.org/10.1038/s41422-020-0282-0
Compassionate Use of Remdesivir for Patients with Severe Covid-19 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32275812/
Remdesivir in COVID-19: A critical review of pharmacology, pre-clinical and clinical studies https://doi.org/10.1016/j.dsx.2020.05.018
Safety profile of the antiviral drug remdesivir: An update https://doi.org/10.1016/j.biopha.2020.110532
แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สิทธิบัตรยา สิทธิบัตรยา - วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
ตัวอย่างราคากลางจัดซื้อ เรมเดซิเวียร์ คณะแพทย์ มอ. 17 สิงหาคม 2564 RX_PRICE_20210819_160937.pdf (psu.ac.th)
Tiago Vieira, Expansion of Remdesivir (Veklury®) Manufacturing Capacity to Meet Global Demand. การประชุมเภสัชสมาคมแห่งประเทศไทย (ภสท.) 19 สิงหาคม 2564
โฆษณา