31 ส.ค. 2021 เวลา 13:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กลุ่ม CP ปรับโครงสร้าง โยกกิจการโลตัส ไปให้ Makro ถือหุ้น
6
สรุปให้เข้าใจในโพสต์เดียว
เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มซีพีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง CPALL, CPF, MAKRO ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัท โดยเอกสารมีกว่า 100 หน้า หลายคนอาจไม่เข้าใจ แต่ลงทุนแมนจะสรุปให้แบบง่าย ๆ ดังนี้
4
1. กลุ่มซีพีจะโอนกิจการทั้งหมดของโลตัส ที่ตอนนี้ถือหุ้นโดย บริษัทของซีพี 3 บริษัทคือ CPALL, CPM, CPH ไปให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ Makro
3
CPM เป็นบริษัทที่เป็นบริษัทลูกของ CPF
ส่วน CPH เป็นบริษัทลูกของบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์โดยตรง
1
2. โดยการรับกิจการโลตัสในครั้งนี้ Makro จะให้ออกหุ้นเพิ่มทุนของ Makro เองเป็นการตอบแทนแก่ CPALL, CPM, CPH
3. แต่เดิม CPALL ถือหุ้น Makro อยู่ 93.08% และผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 6.92%
4
4. พอมีดีลนี้เกิดขึ้น ก็แปลว่าหลังจากนี้ บริษัท Makro จะมีจำนวนหุ้นเยอะขึ้น และจะมีผู้ถือหุ้นหน้าใหม่เข้ามาถือ Makro ด้วย นั่นก็คือ CPM, CPH
7
5. สัดส่วนการถือหุ้นหลังจากดีล จะเป็นดังนี้
CPALL จะถือหุ้น Makro ลดลงเหลือ 65.97%
CPM เข้ามาถือหุ้น Makro 10.21%
CPH เข้ามาถือหุ้น Makro 20.43%
ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย จะมีสัดส่วนถือหุ้น Makro ลดลงจาก 6.92% เหลือ 3.39%
8
จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อย ถูก Dilute หรือถูกลดสัดส่วนการถือหุ้น Makro ลงเกือบครึ่งหนึ่งหลังจากดีลนี้ เพื่อแลกกับกิจการโลตัสที่ได้รับเข้ามาใน Makro
4
สรุปง่าย ๆ อีกทีก็คือ
หลังจากดีลนี้ บริษัท Makro จะเป็นเจ้าของทั้งกิจการ Makro ของตัวเอง และกิจการโลตัสที่รับเข้ามา ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro เดิมก็ต้องยอมถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นครึ่งหนึ่ง
7
ถ้าถามว่า มันจะคุ้มหรือไม่ สำหรับรายย่อยที่ถือหุ้น Makro
ก็ต้องบอกว่า แล้วแต่ความเห็นต่อ “มูลค่ากิจการของโลตัส”
9
ถ้าผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro คิดว่าโลตัสควรจะมีมูลค่าน้อยกว่า กิจการ Makro เดิมมาก ดีลนี้ก็อาจไม่คุ้ม
แต่ถ้าคิดว่า โลตัสมีมูลค่ามากกว่า กิจการ Makro เดิม ดีลนี้ก็อาจจะคุ้ม
7
สำหรับผู้ถือหุ้นของ CPALL
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ CPALL จะมีสัดส่วนการถือหุ้น Makro น้อยลงหลังจากดีลนี้ จาก 93.08% เป็น 65.97% เพราะเสมือนว่า CPALL แบ่งหุ้นไปให้ CPM และ CPH เข้ามาถือ Makro ซึ่งแลกกับการที่ CPALL จะมีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการโลตัสมากขึ้นกว่าเดิมจาก 40% เป็น 65.97% (ผ่านการถือหุ้น Makro)
5
ซึ่งหลังจากดีลนี้ CPALL ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วน 65.97% ทำให้ CPALL ยังสามารถ Consolidate หรือรวมงบการเงินของ Makro เข้ามาที่บริษัทได้
4
สำหรับรายได้ของงบรวม CPALL จะมากขึ้นในงบการเงินหลังจากดีลนี้ เพราะจะมีรายได้ของกิจการโลตัสเข้ามาอยู่ในรายได้ของงบรวมด้วย ซึ่งแต่เดิมจะรับรู้การถือกิจการโลตัสอยู่ในรูปของส่วนแบ่งกำไรขาดทุน แต่หลังจากดีลนี้จะ Consolidate รายได้ของโลตัสได้แล้ว
14
แต่ในแง่ของกำไร CPALL จะมีส่วนได้เสียเพิ่มขึ้นในกิจการโลตัส และต้องเสียส่วนแบ่งกำไรของกิจการ Makro เดิมให้ CPM และ CPH
1
และสำหรับผู้ถือหุ้นของ CPF จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เพราะแต่เดิม CPF นั้นจะเกี่ยวข้องกับกิจการโลตัสทางอ้อม ผ่านการถือหุ้น CPALL และ CPM อยู่แล้ว
3
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าหลังจากดีลนี้เสร็จ Makro ก็จะเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะอีกไม่เกิน 12.9% เพื่อให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยเพิ่มให้ถึงเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดที่ 15% ด้วย
4
มาถึงตรงนี้หลายคน คงสงสัยว่าทำไมต้องโยกกิจการโลตัสมาอยู่ใต้ Makro
5
เบื้องหลังของดีลนี้อาจมีหลายเหตุผล
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า Makro เป็นบริษัทเดียวในกลุ่มซีพี ที่ยังมีหนี้ไม่มาก
4
และหลายคนก็คงรู้กันว่าโลตัสน่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการล็อกดาวน์ในวิกฤติโควิดในครั้งนี้
8
การที่โยกกิจการโลตัสมาในบริษัท Makro ก็น่าจะทำให้โลตัสสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มเติม จากการช่วยเหลือของ Makro ได้
4
และถ้าให้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งหมด
ก็จะเห็นได้ว่า กิจการโลตัสเป็นประเด็นหลักในดีลนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
CPALL จะมีส่วนได้เสียในโลตัสมากขึ้น 65%
Makro จะมีส่วนได้เสียในโลตัสมากขึ้นแบบมีนัยสำคัญ ซึ่งมีขนาดมูลค่าเท่ากับกิจการ Makro เดิมเลยทีเดียว
ส่วน CPH จะถือหุ้นในโลตัสน้อยลง แต่ได้หุ้น Makro มา
1
เรื่องนี้อาจจะบอกเป็นนัยได้ว่า CPH อยากลดการมีส่วนได้เสียในกิจการโลตัส แต่อยากเพิ่มการมีส่วนได้เสียในกิจการ Makro
1
และอีกสาเหตุหนึ่งก็คงเป็นกิจการโลตัส ที่มีลักษณะคล้าย Makro อยู่มาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกที่เน้นราคาถูกเป็นหลัก การรวมกันของ 2 กิจการนี้ภายใต้บริษัทเดียวกัน ก็น่าจะทำให้เกิดการ Synergy กันไม่มากก็น้อย
10
แต่ในขณะเดียวกันในฐานะเราที่เป็นผู้บริโภคก็น่าตกใจไม่แพ้กัน
ยกตัวอย่างง่าย ๆ
ต่อไปนี้ ถ้าเราคิดจะซื้อสินค้าราคาถูก
ไม่ว่าเราจะเดินเข้าโลตัส หรือ Makro
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ 2 ร้านนี้ จะมีเจ้าของเป็นบริษัทเดียวกัน..
15
เมื่อก่อนเราคุ้นชื่อ เทสโก้โลตัส แต่ตอนนี้ เราอาจเจอชื่อใหม่ว่า แม็กโครโลตัส..
2
Reference
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฆษณา