1 ก.ย. 2021 เวลา 13:47 • การศึกษา
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้แน่แท้ ว่าสำนวนนี้มีที่มาจากสัตว์ชนิดใดกันแน่... ใช่ "สุนัข" อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจจริงหรือ?
20
ก่อนจะไปอ่านที่มาของสำนวนนี้ รุ้งอยากให้ผู้อ่านเตรียมคำตอบไว้ในใจ แล้วมาอ่านเฉลยในบทความถัดจากนี้กันค่ะ
5
หลายคนคงคุ้นเคยดีกับสำนวนนี้ "ตัดหางปล่อยวัด" ซึ่งมีความหมายคือ
“ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป” (อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔)
1
เช่น เขาโกรธที่ลูกสาวไม่เชื่อฟัง ยังดึงดันที่จะคบกับผู้ชายคนนั้น จนคนเป็นพ่อถึงกับประกาศว่าตัดหางปล่อยวัด
1
มาถึงเฉลยของสำนวนนี้ ซึ่งมีที่มาจากการตัด "หางไก่" 🐓 นั่นเอง (ไม่ใช่ตัดหางสุนัขอย่างที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจแต่อย่างใด) แล้วนำไปปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือแก้เคราะห์ในสมัยโบราณ
19
(SOURCE : https://www.pinterest.com)
มีหลักฐานในกฎมนเทียรบาลว่า เมื่อเกิดสิ่งที่เป็นอัปมงคล เช่น มีวิวาทตบตีกันถึงเลือดตกในพระราชวัง ต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาไก่ไปปล่อยนอกเมือง เพื่อให้พาเสนียดจัญไรไปให้พ้น
1
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีประกาศกล่าวถึงการนำไก่ไปปล่อยที่วัดเพื่อสะเดาะเคราะห์ สันนิษฐานว่า ไก่ที่จะนำไปปล่อยที่วัดจะตัดหางเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นไก่ที่ปล่อยเพื่อการสะเดาะเคราะห์ด้วย
ตัดหางปล่อยวัด เป็นเคล็ดการนำไก่อัปมงคล มาตัดขนหางออกแล้วนำไปปล่อยวัดขจัดอัปมงคลจากบ้านจากผู้เลี้ยงไปปล่อยวัด
1
เพราะวัดเป็นพุทธสถาน พุทธจักร ขจัดสารพัดกาลกิณี สยบทุกอัปมงคล จนเป็นสำนวนกล่าวขานการตัดขาดจากกันว่า “ตัดหางปล่อยวัด”
2
อ่านจบแล้วมีใครตอบถูกบ้างคะ? เชื่อว่าคงมีผู้อ่านส่วนหนึ่งที่รู้ที่มาของสำนวนนี้อยู่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่เคยรู้และเพิ่งมารู้จากบทความนี้ ต้องขอสารภาพ ณ ตรงนี้เลย หนึ่งในนั้นคือรุ้งด้วยค่ะ 🙋🏻‍♀️
15
เช่นเคย : อ่านจบแล้ว..คอมเม้นท์บอกเราหน่อยว่าคุณเพิ่งรู้สำนวนนี้จากบทความเราหรือรู้มาตลอดอยู่แล้ว 💡
7
ที่มา
บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
1
เรียบเรียงโดย : ครูรุ้งพาเพลิน
โฆษณา