Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Zero Covid Thailand
•
ติดตาม
2 ก.ย. 2021 เวลา 17:31 • สุขภาพ
## How to ไปส่ง...ตัวเอง ชีวิตที่รัก ชีวิตที่ดูแล ##
14
ท่ามกลางบทเรียนและความเปลี่ยนแปลงที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้นำมาสู่ชีวิตและสังคมของเรา หลายคนได้ตระหนักว่า ความตาย อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เคย
10
เราได้รับรู้ถึงการจากไปของคนรู้จัก หรือแม้แต่คนใกล้ชิด หลายคนได้ทราบข่าวของผู้ที่สิ้นลมหายใจในโรงพยาบาลโดยไม่ได้ร่ำลาคนในครอบครัว หรือแม้แต่ข่าวของคนที่ต้องทิ้งร่างเอาไว้ข้างถนนอย่างโดดเดี่ยวเพราะสิ้นแรงที่จะไปต่อ
4
ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้อาจจะเตือนให้เราได้มาทบทวน สร้างความเปลี่ยนแปลง และดูแลกันและกันให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในยามเจ็บป่วย
2
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องรับหน้าที่การดูแลสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยในระยะสุดท้ายด้วยตัวเอง ยิ่งเมื่อเตียงในสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ ในสถานการณ์ที่ประเทศเข้าสู่สังคมสูงอายุ ตลอดจนการมีโรคระบาดของระบบทางเดินหายใจที่จำเป็นต้องลดความแออัดของสถานบริการ
8
ในห้วงเวลาเช่นนี้เองที่เราอาจได้ยินคนพูดถึงหรือมองเห็นความสำคัญของการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (hospice care) กันมากขึ้น
2
☘️ 'การดูแลแบบประคับประคอง' ☘️
การดูแลให้อยู่ดีและตายดี (Palliative care = live well and good death)
3
เราคงเคยได้ยินว่าเมื่อคนถึงคราวก็ต้องตาย การต่อกรกับพญามัจจุราช ยื้อยุดความมีชีวิตเอาไว้อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นหรือไม่ ที่การใช้ชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยหรือการเดินทางไปสู่ความตายโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องเผชิญกับโรคร้ายนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความโศกเศร้าและทุกข์ทรมาน
3
ก่อนจะถึงเส้นแบ่งแห่งชีวิตและความตาย คนเราสามารถเลือกหรือตระเตรียมให้เป็นการจากลาที่งดงามได้หรือไม่
3
ไม่ว่าจะเป็นด้วยการเลือกหรือโดนสถานการณ์บีบบังคับ ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ที่บ้านหรือสถานพยาบาล การดูแลรักษาแบบประคับประคองคือการดูแลทั้งผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิดแบบองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นการดูแลที่ไม่โดดเดี่ยว
2
เป็นการดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้าอกเข้าใจว่าความเจ็บไข้ไม่ได้เป็นเรื่องของความทุกข์ทรมานทางกายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ผู้ป่วยยังมีความคิด อารมณ์ความรู้สึก และมีสังคม และการดูแลรักษาไม่ได้เพียงเป็นเรื่องของตัวผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังมีครอบครัว บุคคลใกล้ชิด และผู้ดูแลด้วย ซึ่งร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้เกี่ยวข้องทุกคนล้วนมีความสำคัญ
6
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
7
#รักษาใจ
ณ รอยต่อระหว่างความเป็นและความตาย ความรู้สึกทางใจและจิตสุดท้ายขณะที่ตายสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดภพภูมิหรือสถานะการเกิดเมื่อละจากชีวิตนี้ไป จิตดี ไปสู่สุคติ จิตหม่นหมอง ไปสู่ทุคติ
5
พระปราโมทย์ ปราโมชโช ได้ยกตัวอย่างของการใช้ธรรมะในการส่งบุคคลอันเป็นที่รักออกเดินทางในวาระสุดท้ายโดยย้ำว่าผู้มาส่งต้องตั้งสติ ไม่ฟูมฟายหรือแสดงอาการเศร้าโศก ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผู้ที่เตรียมจะออกเดินทางจิตตก ใจเสีย เศร้าหมองไปด้วย
“พวกเรา เวลาคนที่เรารักจะตายนะ อย่าคร่ำครวญ อย่าร้องห่มร้องไห้ อย่าไปโอดครวญ อย่าไปจับเค้าเขย่า คนเจ็บหนักๆ จิตตก จิตเสีย เดี๋ยวจะไปทุคติ”
17
#รักษาคน
การดูแลรักษาที่เน้น "คน" เป็นศูนย์กลาง
3
นายแพทย์ บีเจ มิลเลอร์ แพทย์อายุรกรรมและแพทย์ประคับประคองชาวอเมริกัน ที่มีประสบการณ์ตรงรอดชีวิตจากอุบัติเหตุเฉียดตาย ได้เสนอให้มี 'การคิดเชิงออกแบบ' ในเรื่อง 'การดูแลแบบประคับประคอง' ว่าในการที่จะใช้ “การดูแลรักษาคน" เป็นตัวตั้งหรือเป็นศูนย์กลาง แทนที่การเอา “โรค" เป็นศูนย์กลางนั้นทำได้อย่างไรบ้าง
4
นายแพทย์ท่านนี้ตั้งข้อสังเกตว่าการแพทย์แผนตะวันตกในปัจจุบันดูเหมือนจะเน้นที่ตัวโรคหรือการขจัดอาการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในหลายๆ ครั้งทำให้ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดต้องรู้สึกทุกข์ทรมานจนเกินจำเป็น
5
ใช้ความตั้งใจและความคิดสร้างสรรค์ มาสร้างประสบการณ์ของการตายที่สวยงาม
3
นายแพทย์ บีเจ มิลเลอร์ ได้เชิญชวนให้เรามาช่วยกัน คิดใหม่ ทำใหม่ และออกแบบการตายใหม่
5
เพราะความตายเป็นเรื่องใหญ่ ควรทำระบบให้มี 'ความรู้สึกรู้สา' ต่อชีวิต และต่อความทุกข์ทรมานทั้งแบบที่จำเป็นและแบบที่ไม่จำเป็น
1
จริงอยู่ ความทุกข์ทรมานทางกายจากความป่วยไข้นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับความตายที่ใกล้เข้ามา แต่การดูแลแบบประคับประคองคือการจัดเตรียมการเดินทาง การไปส่ง และคือการให้ความตายพาเราไปสู่ความสุข สงบ รื่นรมย์และงดงาม
3
การออกแบบให้มีการดูแลด้วยการเห็นอกเห็นใจกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน #คนดูแล คือ #คนที่แคร์ ที่ใส่ใจ มีหน้าที่ช่วยลดทุกข์ เพิ่มสุข ไม่ใช่จำกัดการใช้ชีวิตจนเป็นการเพิ่มทุกข์ ลดสุข
2
การดูแลแบบประคับประคองเป็นความใส่ใจที่อยู่ควบคู่ตลอดการรักษา ไม่ใช่เพียงการทำตามคำขอครั้งสุดท้ายของผู้ที่ใกล้วายชนม์หรือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการประเมินว่าจะอยู่ได้อีกไม่เกิน 6 เดือนอย่างที่เรียกว่า 'hospice care'
6
การดูแลแบบประคับประคองเป็นการมองว่าทั้งคนที่ให้การดูแลและคนที่รับการดูแลต่างก็เป็น "คน" และมีความเชื่อมโยงกัน การเยียวยารักษาจึงเป็นไปด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน และการร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
3
ประโยชน์สำคัญของการดูแลแบบประคับประคองไม่ใช่การมาอยู่รอความตายไปวันๆ หรือการดูแลให้ได้ตายเร็วๆ แต่ที่จริง คือ การดูแลให้อยู่ดี สุขกาย สบายใจ ตลอดระยะเวลาการอยู่รับการดูแล และถ้าถึงเวลาตาย ก็ให้ได้อยู่ดีและตายดี
1
จากผลการวิจัย นายแพทย์ บีเจ มิลเลอร์ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตที่ใกล้ลาจาก คือ #ความสบายใจ ความรู้สึกหมดห่วงและไม่เป็นภาระให้ใครที่เขารัก รวมถึงความสุขสงบ และความรู้สึกสัมผัสบางอย่างอันน่าอัศจรรย์ตลอดจนความรับรู้ทางจิตวิญญาณ
1
ประสบการณ์เกือบ 30 ปี ณ สถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน Zen Hospice Project ทำให้ได้ตระหนักว่าความใส่ใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แท้จริงแล้วเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เพราะนำไปสู่ความสุขใจและสุนทรียภาพในหัวใจ ที่แม้จะเป็นห้วงเวลาเพียงประเดี๋ยวหนึ่งก็ทำให้ผู้คนรู้สึกได้ถึงรางวัลแห่งการมีชีวิตอยู่
3
รู้สึกถึงความรักจากการสัมผัส ด้วยกาย ด้วยใจ ประคองการมีชีวิตอยู่และตายจากกันไป
☘️ ความสุขใจของผู้ป่วยจากแผลไฟไหม้ ที่ได้สัมผัสความเย็นของหิมะที่หยดลงบนผิวไหม้แล้วละลายกลายเป็นน้ำ การที่ได้อยู่กับสภาวะแห่ง “ขณะนั้น” ได้ “จริงๆ” แบบ “ธรรมดาๆ” ก้อนหิมะเล็กๆ ก็กลายเป็นแรงบันดาลใจและทำให้พบกับความงามของชีวิตได้
☘️ ความสุขใจของผู้ป่วยมะเร็งและเอชไอวี เอดส์ ที่ได้ออกไปล่องแพในขณะที่ร่างกายของเขายังทำได้
1
☘️ ความสุขใจของผู้ป่วยที่ได้รู้ว่าสุนัขตัวโปรดมานอนอยู่ที่ปลายเตียง
1
☘️ ความสุขใจจากการได้ดมกลิ่นหอมๆของขนม เปิดผัสสะรับรู้ชีวิตที่เชื่อมกับสิ่งแวดล้อม ตราบที่ยังสามารถรับรู้ได้
1
☘️ ความสุขใจของผู้ป่วยที่ได้รู้ว่าเมื่อพวกเขาจะเดินทางไกล พวกเขาจะจากไปท่ามกลางความรัก ความปรารถนาดี และความทรงจำที่ดีของผู้คนที่รายล้อมพวกเขาในวาระสุดท้าย ไม่ใช่ภาพในห้องที่มีสายระโยงระยาง เครื่องไม้เครื่องมือส่งเสียงบี๊บๆ หลอดไฟสว่างจ้ากระพริบไปมา จนกระทั่งฝ่ายทำความสะอาดเข้ามาเอาร่างไร้ลมหายใจออกไปจากห้องประหนึ่งร่างนั้นไม่เคยมีชีวิต
6
หลายล้านคนบนโลกที่อยู่และตายไปกับ “ภาวะสมองเสื่อม” (dementia) ที่ลืมหรือจำอะไรในชีวิตไม่ได้ การได้สัมผัส "กลิ่นหอมๆ" จะเป็นการเปิดประตูแห่งความสุขที่ยากจะนิยามของพวกเขาทีเดียว
2
เป็นแรงกระตุ้นให้ #ใจ ได้อยู่กับ #ปัจจุบัน
โดยไม่จำเป็นต้อง #ส่งใจ ไปกังวลกับ #อดีตหรืออนาคต
📌 นายแพทย์ บีเจ มิลเลอร์ สรุปข้อเสนอการออกแบบ "การดูแลแบบประคับประคอง" ไว้ 3 ข้อ
2
#ข้อแรก
การจัดการกับความทุกข์ทรมานที่ไม่จำเป็น ด้วยการหัดเล่น หามุมมองที่จะเล่น หรือลองเปลี่ยนมุมมองของเราเองให้ยอมรับและเป็นสุขได้กับความจริงใหม่ของชีวิตที่ต้องอยู่กับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
1
#ข้อสอง
การคืนสัมผัสแห่งสุนทรียะทางใจ ทางกาย สู่ชีวิตของเรา
#ข้อสาม
การยกระดับการมองถึงองค์รวมแห่งสุขภาวะ เพื่อให้ชีวิต สุขภาพ และการดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งเดียวกัน นำมาให้เห็นความงามและความอัศจรรย์ของชีวิต
2
อย่างไรก็ตาม การจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดการดูแลแบบประคับประคองที่เป็นเรื่องสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และสนุก นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติหรือโดยลำพัง แต่ต้องมีทั้งนโยบาย การศึกษาอบรม และระบบโครงสร้างของการดูแลสุขภาพมาสนับสนุนด้วย
1
☘️ “การตายดี” (good death) ☘️
2
ไทยยอมรับสิทธิการตายดี (right to a good death) ผ่านระบบกฎหมาย โดยผลของมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติว่า
“มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
2
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่ง แล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
ที่ผ่านมามีคนจำนวนมากที่ตายที่สถานพยาบาลหรือเนิร์สซิ่งโฮมได้รับการดูแลที่ไม่ตรงตามความต้องการของตัวเอง ความจริงแล้ว ผู้ป่วยควรได้วางแผนหรือบอกหมอ เจ้าหน้าที่ และครอบครัวล่วงหน้าถึงทางเลือกและแผนการตาย เช่น ถ้าเลือกว่าจะขอรับการรักษาหรือตายที่บ้านโดยไม่ต้องการให้ยื้อชีวิต หรือถึงจุดที่การรักษาสิ้นสุดแล้ว ก็ควรจัดให้ได้ตามนั้น
3
ในระดับโลก การดูแลแบบประคับประคองก็กำลังมีบทบาทมากขึ้น โดยรวมอยู่ในแผน action plan เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2013-2020 และอยู่ในทางเลือกนโยบายของประเทศต่างๆ และอยู่ในกรอบการเฝ้าระวังในระดับโลกด้วย
2
Zero Covid Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ชวนทุกคนมาเพิ่มความใส่ใจดูแลผู้ป่วยและมุ่งความสนใจไปที่ "คน" แทนที่จะปล่อยให้โรคหรือความเจ็บไข้เป็นศูนย์กลาง และเปิดมุมมองใหม่หากช่วงเวลาแห่งความตายได้เข้ามาใกล้หรือมาถึง
4
ในเบื้องต้น การจัดบริการอาจเปลี่ยนรูปแบบบุคลากรที่ให้การดูแลในโรงพยาบาลเป็นบุคลากรเสริมสร้างพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพให้ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน กระตุ้นให้เกิดการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน (home ward: home isolation) เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคจากโรงพยาบาล สร้างโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติสามารถใกล้ชิดกันโดยไม่ต้องประสบปัญหาการจำกัดการเฝ้า #การระบายอากาศดี
2
ในกรณีเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และลดความแออัดของโรงพยาบาลการสร้างวิถีใหม่ของการดูแลแบบประคับประคองในระบบสุขภาพของประเทศจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และทักษะให้บุคลากรทางการแพทย์ในทีมสหวิชาชีพทุกระดับสามารถจัดการอาการได้เป็นอย่างดี
1
ทั้งนี้ เพื่อปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักจากไวร้สโควิด-19 ซึ่ง “แพร่ทางอากาศ” นอกจากการ #ใส่ใจเรื่องอาหาร การกินแล้ว การใส่ #หน้ากากN95 ทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน และอยู่ในที่ที่มี #การระบายอากาศดี อยู่เสมอ ก็เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นเหตุการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ค่ะ
2
การแพทย์-ประคับ-ประคอง
มองการ “จาก”-ด้วยใจ-ผ่องใส
พาสำรวจ-มุมลอง-มองใกล้ใกล้
เตรียมตายไว้-ได้สู่-สุขมรรค
2
ปรารถนา-สิ่งใด-ในบั้นปลาย
ฤา-สุขสบาย-สายใยรัก
ใช้ชีวิต-งามสง่า-น่ารู้จัก
หรือเพียงพัก-ใจกาย-เมื่อวายชนม์
9
ติดตามเราได้ที่
Twitter :
twitter.com/zerocovidthai
Website :
www.zerocovidthai.org/
Facebook :
www.facebook.com/zerocovidthailand
Blockdit :
www.blockdit.com/zerocovidthai
2
อ้างอิง:
What really matters at the end of life | BJ Miller: TED
https://www.ted.com/talks/bj_miller_what_really_matters_at_the_end_of_life
Palliative Care: Who is it For, What Does it Do, Why Should I Want it and When?
University of California Television (UCTV)
https://www.youtube.com/watch?v=SbV8_U6iycw
Experts discuss how pandemic has changed palliative care | COVID 19 Update for American Medical Association (AMA)
https://www.youtube.com/watch?v=I5rTWbcfxPA
Palliative Care คืออะไร?: นพ.กิติพล นาควิโรจน์
https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative1th
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตอนที่ 4: ชำแหละปัญหา-เดินหน้ายกระดับ “ตายดี”
https://thaitgri.org/?p=39042
การดูแลจิตคนป่วยก่อนตาย: พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
https://www.youtube.com/watch?v=EB-E-t-gAeo
อยู่ให้เป็น ตายให้เป็น
https://www.dhamma.com/live-wisely-die-wisely/
Palliative Care Model in Thailand: Suchira Chaiviboontham
https://med.mahidol.ac.th/nursing/Chronic/Document/Feb13/Feb13_PalliativeCare.pdf
1
World Health Assembly Resolution on Agenda
Strengthening palliative care as a component of comprehensive care
http://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA67/A67_31-en.pdf
ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) ของคำที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) สำหรับประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/261/T_0003.PDF
การตายดี: สิทธิซึ่งทุกคนพึงได้รับกับปัญหาในทางปฏิบัติ: ยงยุทธ ภู่ประดับกฤติ
https://www.krisdika.go.th/data/activity/act13459.pdf
1
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: 2557: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.skko.moph.go.th/dward/document_file/perdev/common_form_upload_file/20150316154846_2129601774.pdf
คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) และระยะสุดท้ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ - กรมการแพทย์
https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Practice_guidelines/Attach/25640114130713PM_aw%20คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง_5.pdf
126 บันทึก
231
20
202
126
231
20
202
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย