Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต Be Healthy, Be Happy
•
ติดตาม
11 ต.ค. 2021 เวลา 02:58 • ความงาม
เป็นหูดหายได้ ถ้ารักษาอย่างถูกต้อง
หูด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็งบนผิวหนังที่เกิดจากเชื้อฮิวแมนแปปิโลมาไวรัส (Human papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) การติดเชื้อเอชพีวีเป็นสิ่งที่พบได้โดยทั่วไป โดยเชื้อ ไวรัสเอชพีวีมีอยู่หลายชนิดและมีบางชนิดที่ทำให้เกิดหูด
ชนิดของหูด
- หูดธรรมดา (Common Warts) ลักษณะของหูดชนิดนี้จะเป็นตุ่มแข็งที่มีผิวขรุขระ พบบ่อยบริเวณแขน เข่า และบริเวณอื่น ๆ
- หูดฝ่ามือฝ่าเท้า (Palmoplantar Warts) พบได้ที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า
- หูดชนิดแบน (Flat Warts) หูดชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก มีผิวเรียบ
- หูดหงอนไก่ (Genital Warts, Condyloma Acuminatum) พบบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณก้น
อาการแบบไหนที่ควรปรึกษาแพทย์
- เมื่อไม่แน่ใจว่าลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นตุ่ม และที่เป็นคือหูดหรือไม่
- เมื่อรักษาหูดด้วยตัวเองที่บ้านแล้วไม่หาย ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อยืนยันว่าตุ่มนั้นเป็นหูด ไม่ใช่มะเร็งหรือโรคผิวหนังชนิดอื่น
- เมื่ออยากจะรักษาหูดเองที่บ้าน แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะรักษาด้วยวิธีไหน
- เมื่อมีเลือดออกจากหูด และหูดขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
- เมื่อเข้ารับการรักษาหูดและมีอาการผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เช่น ผื่นแดง มีความรู้สึกปวด มีหนองบริเวณที่รักษา ในผู้ป่วยบางคนผื่นแดงและอาการปวดเป็นเรื่องปกติหลังการรักษา ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อทำความเข้าใจถึงผลข้างเคียงของการรักษา
วิธีรักษาโรคหูด
1. การทายา เป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา ไม่ควรซื้อยามาทาเอง
2. การจี้ด้วยความเย็นจากไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy) ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบและเจ็บ ระหว่างถูกจี้ หลังจี้แผลอาจพองเป็นตุ่มน้ำ แผลจะค่อย ๆ ยุบแห้งตะสะเก็ดและหายได้เอง แต่อาจต้องจี้หลายครั้งจนกว่าจะหายขาด
3. การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน สามารถทำลายหูดได้เด็ดขาดในครั้งเดียว หรือไม่กี่ครั้ง แต่อาจมีแผลเป็นได้
4. การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก วิธีนี้ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
5. การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) จะใช้วิธีทำหรือฉีดสารบางชนิดไปยังบริเวณหูด เพื่อกระตุ้นภูมิของร่างกายให้มาทำลายหูด ซึ่งวิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยรายที่มีหูดจำนวนมากหรือใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
ข้อมูลโดย
นพ.สิทธิพร ทับทวี
แพทย์ปฏิบัติการตจวิทยา
ศูนย์ผิวหนังโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นพ.สิทธิพร ทับทวี
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย