3 ก.ย. 2021 เวลา 11:28 • สุขภาพ
D-Alpha Tocopheryl Acetate :วิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินอี (Vitamin E) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. โทโคเฟอรอล (Tocopherol) 2. โทโคไตรอีนอล (Tocotrienols) วิตามินอี เป็นหนึ่งในวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ซึ่งวิตามินประเภทละลายไขมันนี้ จะสามารถถูกกักเก็บไว้ตามกล้ามเนื้อหรือไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ภายหลังจากที่เรารับประทานเข้าไป
ข้อดี คือ เราไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินกลุ่มนี้ทุกวันเพราะมีสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ แต่หากเรารับประทานวิตามินเหล่านี้มากเกินไป จะเกิดการสะสมมากเกินไปในส่วนต่างๆ ทำให้เป็นพิษจากวิตามินได้
วิตามินอี เป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายในด้านสุขภาพและมีประโยชน์ด้านความงาม และเพื่อการเสริมวิตามินอีที่ถูกต้องเหมาะสม จึงควรทำความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการวิตามินอีในร่างกาย และการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินอี รวมถึงประโยชน์ของวิตามินอีในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ยา อาหาร และเครื่องสำอาง
จะพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ถั่ว เมล็ดพันธุ์ ผักใบเขียว ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน ถั่วเหลือง น้ำมันพืช น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพดถั่ว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) และปวยเล้ง
คุณประโยชน์ของวิตามินอี
- วิตามินอีช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ช่วยให้แลดูอ่อนกว่าวัย
- วิตามินอีช่วยป้องกันภาวะแท้งของหญิงตั้งครรภ์
- เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
- ป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง
- ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด
- ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ลดกระบวนการอักเสบในร่างกาย
- รักษาสมดุลของกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle)
- วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ในการชะลอและป้องกันการเสียหายของเซลล์ ทำให้เซลล์มีความเสถียรมากขึ้น
- วิตามินอีกับการป้องกันโรค
- นำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทนทาน
- ปกป้องปอดจากมลพิษทางอากาศ โดยทำงานร่วมกับวิตามินเอ
- บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาทในกระบวนการ
ต้านการอักเสบ
ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
เสริมภูมิคุ้มกัน
ซึ่งมีการศึกษาการป้องกันโรค ดังนี้
โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
ช่วยเพิ่มการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับการแข็งตัวของหลอดเลือด เช่น ลดการเกิดลิ่มเลือด และลดระดับคอเลสเตอรอล
โรคมะเร็ง (Cancer) โดยวิตามินอีจะช่วยยับยั้งการสร้างสารบางชนิดที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ต้อกระจก (Glaucoma) เกิดจากกรดไขมันที่เลนส์ตาสัมผัสกับออกซิเจน โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตช่วยกระตุ้นบ่อยๆ จนเกิดปฏิกิริยาสร้างอนุมูลอิสระ
(free-radical) ทำให้เลนส์ตารับแสงได้น้อยลงจากการที่เคยเห็นภาพต่างๆ
ได้ชัดเจน กลายเป็นเห็นภาพขุ่นมัว วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลอิสระไม่สามารถทำปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไปได้ จึงลดการเกิดต้อกระจก
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) โดยวิตามินอีสามารถยับยั้งการผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง และช่วยป้องกันมิให้เซลล์ประสาทถูกทำลาย
ไวรัสเอชไอวี (HIV) และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Autoimmune diseases) วิตามินอีเป็นสารต้านการอักเสบที่สำคัญ โดยพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักบกพร่องในการต้านการอักเสบ จากการศึกษาผู้ชายที่มีระดับวิตามินอีในเลือดสูงกว่า 23.5 μm / L มีความเสี่ยงต่อการก้าวหน้าของโรคลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) วิตามินอีช่วยกระตุ้นกลไกการป้องกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มกระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytic function) ซึ่งเป็นกระบวนการดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมของเซลล์
ความต้องการวิตามินอีของร่างกาย
ตามคำแนะนำของ Recommended Dietary Allowance (RDA) หรือปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจําวัน ของวิตามินอี ได้แก่
เด็ก
1-3 ขวบ เท่ากับ 6 มิลลิกรัมต่อวัน (9 IU)
4-8 ขวบ เท่ากับ 7 มิลลิกรัมต่อวัน (10.4 IU)
9-13 ขวบ เท่ากับ 11 มิลลิกรัมต่อวัน (16.4 IU)
ผู้ใหญ่
หญิง 14 ปีขึ้นไป และตั้งครรภ์ เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อวัน (22.4 IU)
หญิง ให้นมบุตร เท่ากับ 19 มิลลิกรัมต่อวัน (28.5 IU)
ชาย 14 ปีขึ้นไป เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อวัน (22.4 IU)
หากเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เป็นประจำ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดวิตามินอี ในบางรายอาจต้องการวิตามินอีมากกว่าคนทั่วไป เช่น คนที่มีปัญหาการดูดซึมวิตามินอี เป็นต้น
ที่มา hd .co.th, pobpad .com ,
โฆษณา