4 ก.ย. 2021 เวลา 12:22
เพราะขี้อวดแบบนี้ไง คนถึงไม่ชอบ!
.
.
ทราบมั้ยคะว่าการอวดก็มีหลายรูปแบบ แล้วการอวดแบบไหนที่ทำให้คนมองแรง เรามาหาคำตอบกันค่ะ
งานวิจัยที่นำมาเผยแพร่ได้รับการนำเสนอในงาน Mediated Minds Conference ของมหาวิทยาลัย Cincinnati ปี 2019 ค่ะ
(Source: ภาพพื้นหลังจาก The Daily Californian)
การโอ้อวด (Bragging) นับว่าเป็นกลยุทธ์การนำเสนอตัวเองรูปแบบหนึ่งเพื่อเรียกการยอมรับทางสังคมและการชื่นชมจากผู้อื่น
.
แม้ว่าการอวดจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแสดงความสามารถและดึงความเห็นอกเห็นใจและความเคารพจากผู้อื่นได้ แต่มันก็ส่งผลเสียในแง่ความนิยมชมชอบและทำให้คู่สนทนารู้สึกไม่ดีได้ด้วย เนื่องจากคนขี้อวดดูอวดดีและเย่อหยิ่งค่ะ
.
ด้วยเหตุนี้ คนขี้อวดก็เลยพยายามเอาชนะสายตาเหล่านี้ด้วยการอวดแบบอ้อมๆ ให้ดูถ่อมตัวขึ้นนั่นเอง
การแสดงออกในลักษณะนี้เรียกว่า การอวดแบบถ่อมตัว (Humblebragging) ที่จะช่วยให้ผู้อวดได้รับทั้งคำชมและลดระดับความอวดดีลงในคราวเดียวกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้ค่ะ
.
🔹1. อวดแบบถ่อมตัว (Humility-based) เช่น “ไม่เข้าใจเลยว่าทำไมทุกคนถึงชมรูปร่างหน้าตาฉัน”
.
🔹2. อวดแบบบ่น (Complaint-based) เช่น “เหนื่อยจังที่ต้องเป็นคนมีน้ำใจตลอดเวลา”
.
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่ว่า การอวดแบบถ่อมตัวเป็นวิธีการนำเสนอตัวเองที่ไม่ดีเอาเสียเลย เพราะคนอื่นจะรู้สึกไม่ชอบและคิดว่าคนขี้อวดแบบนี้ไร้ความสามารถกว่าคนที่อวดแบบตรงๆ ค่ะ
(Source: Shutterstocks)
งานวิจัยชิ้นนี้จึงศึกษาประเด็นเพิ่มเติมว่า 1) ประเภทของการอวด และ 2) หัวข้อการอวด ใดที่ทำให้ผู้ฟังคิดว่าคนเหล่านี้อวดดีมากกว่ากัน
.
โดยให้ผู้ร่วมการทดลองจำนวน 146 คนอ่านทวีตข้อความที่ตั้งใจเขียนขึ้น (ตามรูปด้านล่าง) และให้ประเมินว่าข้อความนี้มีความเย่อหยิ่งมากแค่ไหน
.
(Source: ภาพต้นฉบับจาก Devenport)
ผลการศึกษาพบว่า
🔸การอวดแบบถ่อมตัวได้รับการยอมรับจากสังคมน้อยกว่าการอวดแบบตรงๆ
🔸คนจะหมั่นไส้คนที่อวดรูปร่างหน้าตาผ่านการบ่นมากกว่าความสำเร็จค่ะ
แต่สุดท้ายแล้วการจะโอ้อวดแบบไหนก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล หากเรารู้สึกว่ามัน toxic ก็แค่เพิกเฉยคนเหล่านั้นไปค่ะ:)
อ้างอิงงานวิจัย
Does This Make Me Look Arrogant? Examining People’s Perceptions Of Humble-braggers On Social Media (Davenport, 2019)
โฆษณา