Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักเรียนหมอไทย - Thai traditional medicine student
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2021 เวลา 02:21 • ประวัติศาสตร์
👉ข้อห้ามสำหรับคนท้องตามความเชื่อโบราณที่ควรรู้!!
...สวัสดีค่ะ วันนี้เมเริ่มเรียนวิชาผดุงครรภ์คาบแรก อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องความเชื่อโบราณสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
ทำให้เมเริ่มสงสัยว่า...
ทำไมคนโบราณเค้าถึงได้มีข้อห้ามเด็ดขาดในบางเรื่อง เลยมาวิเคราะห์แต่ละ"ความเชื่อ"โดยอ้างอิงตาม"ความเป็นจริง"ค่ะ
1.ห้ามเตรียมของใช้เด็กไว้ก่อน
โบราณเชื่อว่า ถ้าเตรียมเสื้อผ้า ของใช้เด็กไว้ก่อน เด็กจะไม่ได้เกิด เพราะจะมีวิญญาณที่อิจฉามาพรากเด็กไป
- ความเชื่อนี้เมคิดว่าที่คนโบราณไม่อยากให้เตรียมของไว้ก่อนเยอะๆเพราะ การทำคลอดสมัยนั้นมีความเสี่ยงสูง พ่อแม่อาจจะเห่อลูก เตรียมของเกินความจำเป็น หรืออาจเพราะการเตรียมของไว้ล่วงหน้านานๆจะทำให้สิ่งของปนเปื้อน เกิดฝุ่นหรือเชื้อราได้ แน่นอนว่าเด็กอ่อนมีความบอบบางมากๆ อาจจะเกิดอันตรายได้
2.ห้ามกินกล้วยน้ำว้า
โบราณเชื่อว่า ถ้าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์กินกล้วยน้ำว้าจะคลอดลูกยาก เพราะจะทำให้เด็กตัวใหญ่
- ความเชื่อนี้เมค่อนข้างที่จะเห็นด้วยนะคะ เพราะกล้วยน้ำว้ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล้วยห่ามก็ทำให้คุณแม่ท้องผูกได้อันตรายมากเวลาเบ่งขับถ่าย ในกล้วยน้ำว้าสุกจะมีแป้งและน้ำตาลมาก หากคุณแม่ทานมากลูกในครรภ์อาจจะสมบูรณ์มากส่งผลให้คลอดตามธรรมชาติยากเพราะสมัยก่อนยังไม่มีการผ่าคลอดจะเป็นอันตรายได้ทั้งคุณแม่และคุณลูกค่ะ
3.ห้ามเย็บปักถักร้อย
โบราณเชื่อว่า จะทำให้ลูกเกิดมาปากแหว่งเพดานโหว่
- เอ๋!! อันนี้มันจะสอดคล้องกันยังไงกันนะ อาการปากแหว่งเพดานโหว่เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นโครโมโซมผิดปกติ ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ปัจจัยต่างๆขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ได้รับสารเคมี หรือผลข้างเคียงของยาบางชนิด มีงานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าคุณแม่ที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีโอกาสทำให้ลูกมีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ได้มากกว่าคุณแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3เท่า แต่อย่างไรก็ตามการเย็บปักถักร้อย เป็นการทำงานที่ต้องก้มๆเงยๆ ใช้สายตาเพ่งเป็นเวลานาน ทำให้คุณแม่เวียนศีรษะหน้ามืดได้ง่าย ไม่ดีต่อสุขภาพแน่นอนค่ะ ดังนั้นก็ควรจะหลีกเลี่ยงการเย็บปักถักร้อยนะคะ
4.ห้ามกินผักที่เป็นเถา-เครือ
โบราณเชื่อว่าจะทำให้คุณแม่ปวดเมื่อยร่างกายมากกว่าปกติ
- ความเชื่อนี้เมเห็นด้วยค่ะ เพราะผักจำพวกเถาเครือที่นิยมนำมารับประทานมักจะเป็นพวกยอดอ่อน เช่น ยอดตำลึง ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง ซึ่งผักเหล่านี้ เป็นอาหารที่มีพิวรีนสูงเมื่อถูกเผาผลาญในร่างกายแล้วจะทำให้กรดยูริกในเลือดสูง ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามข้อตามร่างกายได้ค่ะ แต่ก็มีบางงานวิจัยที่กล่าวว่าผักสดไม่มีผลกับโรคเก๊าท์นะคะ ถ้ามีโอกาสเมจะโพสต์ข้อมูลเจาะลึกเรื่องผักเถาเครือค่ะ ^^
5.ห้ามคนท้องรอดรั้ว
โบราณเชื่อว่าจะทำให้คลอดลูกอยาก
- อาจเพราะบ้านสมัยก่อนมักล้อมรั้วด้วยหนาม หรือไม้ไผ่ หากผุพังอาจจะทิ่มแทงเกิดอันตรายได้ค่ะ แต่เอาจริงๆเมว่า ไม่ใช่แค่คนท้องนะคะ ทุกคนก็ไม่ควรรอดรั้ว 5555 มันจะเกิดอุบัติเหตุได้นะคะ
หรืออาจจะมาจากประวัติของพระองคุลีมาล มีตอนหนึ่งเล่าไว้ว่าพระองค์ออกบิณฑบาตร ไปถึงบ้านหญิงท้องแก่ที่รอตักบาตรพระ เมื่อเธอเห็นพระองคุลีมาลก็จำหน้าได้ว่าเคยเป็นโจรที่ตัดนิ้วคน เธอจึงตกใจและวิ่งหนีรอดรั้วไป ทำให้ท้องติดกับรั้วและคลอดลูกที่ริมรั้วในตอนนั้น
6.ห้ามไปงานศพ
โบราณเชื่อว่าจะมีวิญญาณตามกลับ
- ความเชื่อนี้อาจจะเพราะในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นมาก ทำให้คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวน ขึ้นสุดลงสุดได้ง่าย หากไปงานที่มีบรรยากาศน่าเศร้าหดหู่ อาจจะกระทบกระเทือนจิตใจ อ่อนไหวมากกว่าคนปกติ มีงานวิจัยหลายฉบับเลยนะคะที่พูดถึงโรคซึมเศร้าหลังคลอดซึ่งหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดคืออยู่ในบรรยากาศโศกเศร้าขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นขณะตั้งครรภ์คุณแม่ทุกคนต้องพยายามควบคุมสภาพจิตใจ ให้สดใส อยู่เสมอนะคะ
อย่างไรก็ตามความเชื่อต่างๆที่ผู้ใหญ่เล่าต่อๆกันมา ล้วนมาจากความรักและห่วงใยลูกหลานนะคะ
~ เด็กรุ่นใหม่อย่างเมที่มีสนใจในองค์ความรู้คำสอนโบราณ ก็อยากรักษาให้คงไว้เพื่อสืบทอด ส่งความรู้ดีๆที่มีประโยชน์ต่อไปค่ะ ~
บางสิ่งบางอย่างเราอาจจะฟังแล้วรู้สึกว่า
"...หืมม....มันใช่หรอ?? ^^"
มันก็ไม่ผิดที่เราจะไม่เชื่อนะคะ
แต่สิ่งที่เราควรทำคือค้นคว้าหาความจริงเพื่อเรียนรู้ต่อไปค่ะ
เพื่อนๆสามารถติดตามเมได้ในช่องทาง
youtube : MAY-Awiga
facebook : นักเรียนหมอไทย
หรือคลิกลิ้งนี้ได้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/mayawiga/
หวังว่าเพื่อนๆทุกคนจะมีความสุขกับข้อมูลดีๆที่เมนำมาแบ่งปันในวันนี้นะคะ หากมีข้อมูลผิดพลาดหรือมีท่านใดอยากเสนอแนะติชมตรงไหน แชร์กันได้เลยนะคะ
ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในทุกๆวันค่ะ และเจอกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ ^^
บันทึก
2
7
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย