Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KidKorn คิดก่อน
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2021 เวลา 03:49 • ความคิดเห็น
ชวนคุยประเด็น “ปัญหาการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศในสังคมไทย”
ข่าวการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศในสังคมไทยตอนนี้เกิดบ่อยและถี่ขึ้นมาก ซึ่งมีความรุนแรงต่อเหยื่อเพิ่มขึ้นด้วย อายุเฉลี่ยของเหยื่อยิ่งน้อยลงทุกที หลายครั้งที่เราเห็นข่าวและรู้สึกสลด มันเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย และทางออกในการแก้ปัญหานี้มีแนวทางอะไรบ้าง
วันนี้เราอยากเชิญชวนทุกท่านที่เห็นโพสท์นี้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหานี้ร่วมกันค่ะ
เว็บไซต์ประชาไทได้ทำซีรีส์ความรุนแรงทางเพศ พูดคุยกับนักวิชาการประวัติศาสตร์ ย้อนรอย 100 ปีประวัติศาสตร์การข่มขืนในประเทศไทย ทำไว้เมื่อปี 2563 ซึ่งเราขอแปะลิ้งค์ไว้ให้ทุกท่านได้เข้าไปอ่านอย่างละเอียด มีประเด็นที่น่าสนใจเรื่องของเหยื่อคดีข่มขืนในอดีตกับเรื่องชายเป็นใหญ่ ที่รัฐไทยไม่เคยแก้ทัศนคตินี้
https://prachatai.com/journal/2020/05/87759
การข่มขืนในสังคมไทยสมัยโบราณมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย แต่เราสามารถรู้ได้ว่าค่านิยมเรื่องการข่มขืนเป็นอย่างไรได้ผ่านวรรณดีไทย
ยกตัวอย่างเช่น ขุนช้างขุนแผน เร็วๆนี้ก็มีละครเรื่องวันทอง ตีความใหม่เล่าใหม่ ซึ่งก็ยังคงสะท้อนค่านิยม ความรุนแรงทางเพศภายในครอบครัว และ สังคมชายเป็นใหญ่ จากวรรณคดี นางวันทองก็ถูกขุนช้างปล้ำจนมุ้งขาด นางแก้วกริยาถูกขุนแผนข่มขืน และอีกหลายเรื่องที่ "ความรักเริ่มต้นจากการข่มขืน"
ละครเรื่องวันทอง ทางช่องวัน 31 (Credit : One31)
"ความรักที่เริ่มต้นจากการข่มขืน" ส่งผลให้ตัวละครชายผู้กระทำรู้สึกว่าตนต้องรับผิดชอบต่อนางเอกหรือผู้หญิงที่โดนกระทำ และนำไปสู่ข้อผูกมัดบางอย่างในอนาคต เช่น การแต่งงาน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อสังคมตั้งคำถามว่าทำไมทัศนคติการข่มขืนถึงอยู่ในสังคมไทย ไม่หายไปไหนซักที แล้วทุกคนมักจะตอบว่า เพราะ "การปลูกฝังของละครไทย"
สิ่งเหล่านี้สืบทอดมาจนถึงสังคมไทยในยุคปัจจุบัน หลายๆครั้งเราจะเห็นแฮชแท็กในโซเชียลมีเดีย วิจารณ์ละครไทยในยุคปัจจุบัน ที่ความรักเริ่มต้นจากการข่มขืน ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งเหยื่อที่เป็นหญิงและชาย แต่จะเป็นผู้หญิงเสียมากกว่า
ประโยคที่มักจะปรากฏในละครไทย เช่น "ฉันจะยัดเยียดความเป็นผัวให้เธอ" ที่พระเอกหรือตัวร้าย พูดกับนางเอกก่อนข่มขืน ถูกมองว่าเป็นการลดทอนความรุนแรงของการข่มขืนให้กลายเป็นการแสดงความรักของตัวละคร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าละคร "ประเภทนี้" กลายเป็นอัตลักษณ์ละครไทยที่ประสบความสำเร็จ เรตติ้งดีเป็นว่าเล่น
Credit : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000012408
ทำให้เกิดคำถามว่าเรารับได้กับการข่มขืนในละคร แต่ทำไมเรารับไม่ได้กับข่าวข่มขืนที่เกิดขึ้นจริง
ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าพระเอกที่ข่มขืนนางเอก ถูกตั้งธงไว้แล้วว่าเขาเป็น "พระเอก" ทำไปเพราะความรัก แถมหล่อรวย ใครๆก็คงอยากใกล้ชิด แต่ในชีวิตจริงเรารับไม่ได้กับข่าวข่มขืนเพราะมันรุนแรงและน่ารังเกียจ
แต่ถ้าคนรวยหรือคนหล่อข่มขืน ก็อาจจะไม่น่ารังเกียจเท่า คอมเมนท์ในโซเชียลมีเดียหลายครั้งแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติเรื่องการข่มขืนของสังคมไทยอาจจะยังไม่ก้าวไปไหนมากนัก
เหล่านี้เป็นทัศนคติที่สังคมไทยกำลังรับไม่ได้และถกเถียงกันอยู่เพื่อให้ทัศนคติเหล่านี้หมดไปเสียที การข่มขืนไม่ควรจะเกิดขึ้นกับใครก็ตาม ไม่ว่าผู้นั้นจะหล่อรวย หรือเป็นใครก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์ข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศผู้ใด
ตัวอย่างคอมเมนท์จากข่าว "หนุ่ม 19 บุกข่มขืน นศ. - สาว ๆ แห่เมนต์อยากโดนบ้าง หลังเห็นผู้ต้องหาหล่อ เจอซัดตรรกะป่วย" (Credit : Krapook)
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงก็ตามมา ทัศนคติเรื่องการข่มขืนในละครไทย "ถูกแบนและเป็นเรื่องที่รับไม่ได้"
นี่อาจจะเป็นทิศทางที่ดีที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องการข่มขืนในสังคมไทย จะเห็นได้ว่าละครอย่าง จำเลยรัก และ สวรรค์เบี่ยง ที่ครั้งหนึ่งกวาดเรตติ้งจากคนดูถล่มทลาย กลับเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์การส่งผ่านทัศนคติการข่มขืนในปัจจุบัน
รวมถึงการรีเมคละครที่ "บทตกยุค" และ "ปรากฏความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ" กำลังโดนสังคมวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น
Credit : https://www.posttoday.com/ent/news/644901
รากเหง้าปัญหาข่มขืนในสังคมไทย
แต่ทำไมการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศในสังคมไทยยังคงมีอยู่ หนำซ้ำสถิติยังมีมากขึ้นด้วย
#เดนนรก #นรกบนดิน กำลังเป็นที่พูดถึงในตอนนี้บนโลกออนไลน์ของไทย และยังมีอีกหลายๆกรณีที่มีให้เห็นตามหน้าข่าวแทบทุกวัน
ปัญหาเรื่องการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่มีความซับซ้อนมากกว่าที่เห็น ที่พ่วงมาด้วยปัญหาชายเป็นใหญ่ และการกดทับเพศหญิง
หลายครั้งที่เราเห็นคอมเมนท์ในหน้าข่าว หรือ โซเชียลมีเดีย ตั้งคำถามหรือกล่าวโทษเหยื่อเสียเองว่า "ก็แล้วคุณทำงานอะไรล่ะถึงโดนข่มขืน" "ก็แต่งตัวสะแบบนี้ไงถึงโดนข่มขืน" "คุณเป็นผู้หญิงแบบไหน ประพฤติตัวอย่างไร" "ดึกดื่นมืดแล้วทำไมถึงออกมาเดินอยู่คนเดียว" หรือ "เป็นผู้หญิงทำไมไปอยู่ท่ามกลางผู้ชายเยอะๆ"
เหล่านี้สะท้อนกรอบเรื่อง "ผู้หญิงที่ดี และ ผู้หญิงที่ไม่ดี" ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสังคม ที่ไม่ค่อยให้ความยุติธรรมต่อผู้ถูกข่มขืนหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเหล่านี้ส่งต่อมาในสังคมไทย
ดังนั้นสิ่งแรกสำหรับที่ควรเปลี่ยนคือ "ทัศนคติและค่านิยม" สังคมต้องมองว่าการข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ เป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ และไม่ควรโทษเหยื่อ ไม่ว่าเขาจะแต่งตัวอย่างไร มีหน้าที่การงานอย่างไร ประพฤติตัวอย่างไร "ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ"
ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ นำเสนอมาตรการเพื่อแก้ปัญหานี้ไว้ด้วยกัน 3 ภาคส่วน ดังนี้
1. สังคม : การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง - ปฏิรูปเพศศึกษา - ความรับผิดชอบจากสื่อ
2. เหยื่อ : หยุดกล่าวโทษ - เพิ่มความมั่นใจ - ฟื้นฟูดูแล
3. ผู้กระทำผิด : ดำเนินคดีอย่างโปร่งใส-ไม่มีข้อยกเว้น-ลงโทษอย่างเหมาะสม
สำหรับเราทั้ง 3 ข้อนี้ค่อนข้างครบแล้วในการเริ่มแก้ปัญหาการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศ เราขอแปะลิ้งค์ไว้ให้ทุกคนอ่านทุกประเด็นอย่างละเอียด ไว้ที่ด้านล่าง
อ่านเพิ่มเติม
the101.world
การล่วงละเมิดทางเพศ - บาดแผลเดิมที่ถูกฉายซ้ำทุกวัน
พริษฐ์ วัชรสินธุ ชวนคิดต่อจากละคร ‘เมียจำเป็น’ เมื่อฉากการข่มขืนและวัฒนธรรมโทษเหยื่อถูกผลิตซ้ำๆ บนละครโทรทัศน์ และยิ่งส่งเสริมความไม่เท่าเทียมทางเพศในสังคม
ดังนั้นทุกคนคิดเห็นอย่างไรในประเด็น “ปัญหาการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศในสังคมไทย” กันบ้าง ค่านิยมเรื่องนี้ในสังคมไทยควรจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การแก้ปัญหาควรจะมีอะไรบ้าง กฎหมายควรมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดหรือไม่
ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลยค่ะ
References:
https://workpointtoday.com/rape-in-thailand-drama-update/
https://thestandard.co/rape-scene-in-thai-tv-series/
https://prachatai.com/journal/2020/05/87759
https://www.the101.world/butterfly-effect-5/
https://www.tcijthai.com/news/2020/27/scoop/10402
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย