Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขาคนนั้นในวันวาน
•
ติดตาม
7 ก.ย. 2021 เวลา 14:21 • หนังสือ
Tsundoku vs Bibliomania :ศาสตร์แห่งการดองหนังสือ (พร้อมวิธีลดกองดอง)
จากไลฟ์ของ พส. พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง วลีที่ถูกใจเหล่านักอ่านไม่น้อยคงเป็น “ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในวงการหนังสือ คุณจะไม่รู้ว่าซื้อมาดองคืออะไร” (แอดก็ดอง 555)
วันนี้เพจ เขาคนนั้นในวันวาน เลยพาออกนอกเส้นทางปกติจากที่สัมผัสเกร็ดชีวิตนักเขียน มาเป็นหาต้นตอพฤติกรรมนักอ่านสุดสากลอย่างการดองหนังสือแทน มาเริ่มเจาะหาต้นเหตุการดองของเรากันเลยยย
Tsundoku vs Bibliomania :ศาสตร์แห่งการดองหนังสือ
อภิธานศัพท์สำหรับนักดอง
จริงๆแล้วพฤติกรรมการดองหนังสือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักอ่านทั่วโลก และมีคำที่ใช้อธิบายการดองหนังสืออยู่สองคำหลักๆ คือ “Tsundoku” และ “Bibliomania”
แล้วสองคำนี้มันต่างกันยังไง เราเป็นแบบไหนกันหล่ะนี่?
เริ่มที่คำแรกจากฝั่งญี่ปุ่นก่อนเลย “Tsundoku”
Tsundoku เริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ยุคเมจิโน้นเลยค่ะ ปรากฎครั้งแรกในบทความของ Mori Senzo ปี 1879 โดยใช้คำว่า Tsundoku Sensei เพื่อเสียดสีอาจารย์คนหนึ่งที่มีหนังสือเยอะมากกกก แต่ไม่ได้อ่านหนังสือที่ตัวเองมีอยู่เลย (ไม่รู้ว่าผู้โชคร้ายที่โดนแซะคือใคร แต่สะเทือนมาถึงนักกองดองอย่างเราเลยทีเดียว)
คำว่า Tsundoku เกิดจากการรวมคำสองคำ คือ “Tsun” มาจาก “Tsumu” ที่แปลว่า การกอง หรือเพิ่มขึ้นเป็นกอง (pile up) และ “Doku” ที่แปลว่า การอ่าน พอมารวมกันความหมายเลยกลายเป็น “การซื้อสิ่งใดๆที่อ่านได้ (หนังสือ) มากองไว้”
อาจฟังดูเหมือนเป็นคำที่ใช้เสียดสี (และแรกสุดก็ใช้ในแง่นั้น) แต่จริงๆการใช้คำนี้ในประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีความหมายในเชิงลบหรือเป็นการตีตราที่ไม่ดีใดๆนะคะ ใช้บ่งชี้เฉยๆ สบายใจได้ค่ะเหล่านักอ่าน
และอีกคำที่ถูกส่งประกวดจากฝั่งตะวันตก “Bibliomania”
คำนี้ปรากฎขึ้นครั้งแรกในฐานะชื่อวรรณกรรมของ Thomas Frognall Dibdin ช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งใช้บรรยายพฤติกรรมการสะสมหนังสือชนิดที่ไม่สามารถหยุดตัวเองได้ เข้าขั้นหมกมุ่น
ทว่าสองศตวรรษต่อมา Oxford University Press ได้ระบุนิยามให้ซอฟลง จากสะสมอย่างหมกมุ่น เป็นสะสมอย่างกระตือรือร้นแทนค่ะ (เห้อ โล่งอก)
แล้วมันต่างกันยังไงหนอ?
ความต่างอยู่ที่จุดประสงค์อย่างเดียวเลยค่ะ เหล่า Tsundoku ซื้อมาเพราะตั้งใจจะอ่าน แต่อาจจะซื้อเยอะจนอ่านไม่ทันหรือไม่มีเวลาอ่านจนต้องกองดอง แต่ Bibliomania ซื้อเพราะอยากสะสม เช่น สะสมปกหนังสือที่ออกแบบใหม่ สะสมหนังสือเวอร์ชันพิมพ์ครั้งแรก ปกอ่อน ปกแข็งอะไรว่าไป เพื่อมาเป็นคอลเลคชั่นในการสะสมหนังสือค่ะ (ในคนๆเดียวเป็นทั้งสองแบบก็ได้นะคะ เราไม่ judge กัน)
3
2
เอาหล่ะทีนี้ เรามาว่ากันด้วยต้นตอการกองดองในแบบ Tsundoku ของเรากันดีกว่า เพราะชาว Bibliomania เค้าไม่มีปัญหากับการไล่ตามอ่านกองหนังสืออยู่แล้ว จะมีก็แต่ชาว Tsundoku เรานี่แหละ
เริ่มกันที่ข้อดีของการอ่าน แน่นอนว่ายิ่งเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาของสมอง และผู้คนที่ประสบความสำเร็จก็มักจะมีนิสัยรักการอ่าน เช่น Bill Gates เจ้าพ่อ Microsoft อ่านหนังสือถึง 50 เล่มต่อปี มากกว่าค่าเฉลี่ยการอ่านของคนอเมริกันถึง 4 เท่า, Warren Buffet นักลงทุนสาย VI ในตำนานก็ใช้เวลา 5-6 ชั่วโมงต่อวันในการอ่าน
1
แล้วการซื้อหนังสือมากองดองก็ไม่ใช่เรื่องผิด ด้วยสภาวะของปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมาดึงความสนใจและทำให้เราหลุดโฟกัสง่ายดายเหลือเกิน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งให้เราอ่านได้ช้ากว่าที่คิด และใช้เวลากับหนังสือน้อยกว่าที่คาด ตรงข้ามกับการซื้อหนังสือของเราที่มาเรื่อยๆไม่มีหยุด
2
อีกทั้งเหล่า Tsundoku กองดองเกอร์ ซื้อหนังสือมาก็เพราะเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคตที่หนังสือที่ถูกซื้อมากองเหล่านั้นจะมอบให้แก่พวกเขาได้ ไม่ว่าจะในแง่สุนทรียภาพหรือการเรียนรู้ แล้วจะหยุดซื้อทำไมกันเล่า?
แต่การกองก็ต้องแลกมาด้วยความรู้สึกสงสัยในตัวเองว่าเราบริหารเวลาไม่ดีหรือเปล่า เอ~ หรือว่าเราเปย์ง่ายเกินไป (กรณีของแอดน่าจะทั้งสองอย่างเลย //ร้องไห้)
ดังนั้นเราขอทิ้งท้ายบทความวันนี้สำหรับคนที่รู้สึกผิดเล็กๆ กับ “How to เคลียร์กองดอง” แต่ถ้ามองไปที่กองดองแล้วรู้สึกมีความสุขอยู่แล้วก็ไม่เป็นไรนะคะ ข้ามไปกดแสดงความรู้สึก หรือติดตามเราได้เลย (ขายของค่ะ ขายของ ซื้อเราเถอะ)
มา!
1. การโฟกัสคือเรื่องสำคัญ อย่างที่บอกไปว่าเราอยู่ในยุคที่มีเทคโนโลยีและสิ่งต่างๆรอบตัวที่พร้อมจะแย่งกันดึงความสนใจเรา ดังนั้นเราต้องโฟกัสค่ะ อ่านให้จบเป็นเล่มๆไป
2. จัดลำดับความสำคัญ ว่าเล่มไหนควรอ่านก่อนหลัง หรือจะจัดสลับกันระหว่างหนังสือแนวให้ความรู้ กับวรรณกรรมที่อยากอ่านสลับกันก็ได้ อันนี้ไม่มีสูตรตายตัว แต่จัดลำดับไว้ค่ะ จะได้ไม่วอกแวก
3. กำหนดเวลาอ่าน กำหนดว่าเราจะใช้เวลาอ่านนานเท่าไหร่ต่อวัน อาจเริ่มที่ 10 นาทีแล้วค่อยเพิ่มไป อันนี้แล้วแต่ถนัดเลยค่ะ แต่ต้องกำหนดเป้าหมายการอ่านให้ตัวเองสักนิด
4. จัดการ Process และ Output แล้ว ทีนี้มาจัดการ Input กันหน่อยค่ะ กำหนดการซื้อให้ตัวเองน้อยลงหน่อย เช่น ซื้อกี่เล่มต่อเดือน หรืออาจใช้วิธีซื้อ 1 เล่มเมื่ออ่านจบ 1 เล่มที่เท่าๆกัน (ลดกองไม่ได้แต่ก็รักษาระดับได้หน่อยนะคะ 555)
สุดท้าย 5. ถ้ามีเล่มไหนในกองที่อยู่อาศัยในกองมาเกิน 1 ปีแล้วยังไม่ได้อ่านสักที เราอาจต้องพิจารณาแล้วว่าหนังสือเล่มนั้นถูกจริตเราหรือเปล่า ถ้าไม่…ขายหรือบริจาคค่ะ ให้เพื่อนนักอ่านคนอื่นได้รับช่วงต่อ และให้หนังสือเล่มนั้นได้บรรลุความเป็นหนังสือเสียทีไม่เสียชาติเกิด
4
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของศาสตร์แห่งการดองหนังสือที่นำเสนอในวันนี้ค่ะ หากถูกใจ แอดขอฝากเนื้อฝากตัว มาติดตาม มาเป็นเพื่อนกันได้นะคะ 😃
ที่มา
https://www.bbc.com/news/world-44981013
https://www.psychologytoday.com/ca/blog/the-future-brain/201812/what-your-stacks-unread-books-say-about-you
5 บันทึก
15
18
9
5
15
18
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย