Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
7 ก.ย. 2021 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
119 ปี ธนบัตรไทย
ธนบัตรในประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า "ธนบัตร" ใช้คำว่า "หมาย" เรียกแทน ออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2396
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ "ตั๋วกระดาษ" ราคา 1 อัฐ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2417 เพื่อใช้แทนเงินเหรียญกษาปณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อัฐกระดาษ" ที่ใช้เรียกขานกันในหมู่ประชาชน
ตั๋วกระดาษ ราคาอัฐหนึ่ง (Cr. http://www.siambanknote.com/banknote-appraisal/th-att-kradad-price.htm)
ต่อมาเศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากขึ้นจากพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 5 ในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ด้วยการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้มีธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 3 ธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน
และธนาคารแห่งอินโดจีน
ได้ขออนุญาตนำ “บัตรธนาคาร” (แบงก์โน้ต หรือ แบงก์) ออกใช้ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทัน นับว่าเป็น "บัตรธนาคาร" รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในประเทศไทย
2
มีการใช้งานบัตรธนาคารจนถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงทรงให้ยกเลิก และประกาศใช้ "ธนบัตร" แบบแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
2
ธนบัตรแบบที่ 1 จัดพิมพ์ที่บริษัทโทมัสเดอลารู มี 7 ชนิดราคา ได้แก่ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 20 บาท 50 บาท 100 บาท 1,000 บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม ร.ศ. 121 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2445 ให้ธนบัตรใช้แทนเงินเพื่อสะดวกต่อการนับและการพกพาของประชาชน
1
ธนบัตรแบบที่ 1 ทั้ง 7 ชนิดราคา (Cr. http://www.siambanknote.com/banknote-appraisal/th-1st-series-thaibanknote-price.htm)
ธนบัตรใช้หมุนเวียน เป็นธนบัตรที่ใช้แลกเปลี่ยนประจำวันทั่วไป มีมูลค่าแลกเปลี่ยนตามราคาที่ปรากฏในธนบัตร เมื่อมีการชำรุดเสียหายก็จะมีการพิมพ์ทดแทน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีออกมาใช้ทั้งหมด 17 แบบ
เนื่องในวาระ ครบ 100 ปี ธนบัตรไทยในปี 2545 ไปรษณีย์ไทยได้ออกแสตมป์เพื่อเป็นที่ระลึก ชื่อชุด ครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย
จำหน่ายวันแรก 7 กันยายน 2545
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (Note Printing Works, Bank of Thailand)
ขนาดฟันแสตมป์ : 12 1/2
ขนาดดวงแสตมป์ : 30 x 48 มิลลิเมตร
วิธีการพิมพ์ : อินทากลิโอ
จัดพิมพ์ชนิดราคา 5 บาท จำนวน 2,000,000 ดวง
แสตมป์ครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย
เป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) พื้นภาพโดยรอบเลียนแบบลวดลายธนบัตรไทยสมัยโบราณ
แผ่นชีทดวงตราไปรษณีย์ที่ระลึก ครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย ประทับวังเทวะเวสม์ จำนวนพิมพ์ 200,000 แผ่น
และในวาระเดียวกันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา 100 บาท โดยนำรูปแบบธนบัตรแบบที่ 1 มาประยุกต์และออกแบบเพิ่มเติม และประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 และเริ่มจ่ายแลกในวันที่ 9 กันยายน 2545 ในราคาฉบับละ 100 บาท
1
ธนบัตรที่ระลึก ครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย ชนิดราคา 100 บาท ด้านหน้า และด้านหลัง
ในปี 2530 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกบัตรธนาคาร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ครบ 60 พรรษา
ออกแบบและผลิตโดยโรงพิมพ์ธนบัตรในธนาคารแห่งประเทศไทย ขนาดของบัตรธนาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 159 x 159 มม. ในความหมายที่ว่า
เลข 1 คือการออกบัตรธนาคารครั้งแรกของธนาคารแห่งประเทศไทย
เลข 5 หมายถึงพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ
เลข 9 หมายถึงในหลวงรัชกาลที่ 9
1
แม้ว่าบัตรธนาคารนี้จะสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ประชาชนผู้แลกบัตรธนาคารนี้ไปก็มักไม่นิยมนำไปใช้จ่ายเพราะขนาดที่ใหญ่ จึงมักเก็บไว้เป็นที่ระลึก
บัตรธนาคาร วาระในหลวงรัชกาลที่ 9 ครบ 60 พรรษา ชนิดราคา 60 บาท
ที่มาข้อมูล
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ธนบัตรไทย
http://www.siambanknote.com/index.htm
แสตมป์ที่ระลึก
แบงค์เก่าธนบัตรเก่า
ประวัติศาสตร์
5 บันทึก
32
44
12
5
32
44
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย