7 ก.ย. 2021 เวลา 07:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การใส่ห่วงคอที่มีน้ำหนัก 1-7 กิโลของชนเผ่ากะเหรี่ยงช่วยทำให้คอยาวจริงหรือ? แล้วปฏิเสธการใสห่วงคอได้หรือไม่..?
11
ชนเผ่าคอยาวหรือในภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า "ปาดอง" หมายถึงผู้สวมหวงทองเหลืองไว้ที่คอ ปาดองส่วนใหญ่ในปัจจุบันต้องการให้เรียกชื่อว่า "กะยัน" ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยง วันนี้จะพาเพลินมาทำความรู้จักเกี่ยวกับวัฒนธรรมนี้ให้มากขึ้น
6
✍️ ตำนานการสวมใส่ห่วงที่คอ..?
มีเรื่องเล่าต่อกันมาถึงการใส่ห่วงคอของชนเผ่าคอยาวไว้หลายเรื่อง เช่น ภูตผีวิญญาณไม่พอใจชนเผ่าคอยาวจึงส่งเสือมากัดกินโดยเฉพาะผู้หญิง บรรพบุรุษชนเผ่าคอยาวเกรงว่าถ้าผู้หญิงล้มตายกันจนหมด เผ่าพันธุ์จะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้
6
จึงให้ผู้หญิงใส่ห่วงที่คอเพื่อป้องกันไม่ให้เสือกัดคอในระหว่างการเดินทางไปไหนมาไหน และอีกตำนานหนึ่งเล่าว่าชนเผ่าคอยาวมีแม่เป็นหงส์และมังกร จึงต้องใส่ห่วงคอเพื่อทำให้คอยาวสง่างามเหมือนดั่งคอหงส์และมังกรนั่นเอง
✍️ เริ่มใส่กันตั้งแต่อายุเท่าไร..?
เด็กหญิงชนเผ่าคอยาวจะเริ่มต้นสวมห่วงคอตั้งแต่วัยเด็กในอายุ 5 ขวบขึ้นไป ก่อนใส่จะต้องหาฤกษ์ยามที่ดีที่สุด โดยจะมีหมอผีประจำเผ่าเป็นผู้ทำพิธี ท่องมนต์และกลอนเตือนใจให้สำนึกว่าต้องพยายามกู้ชาติชิงแผ่นดินคืน
5
(SOURCE : https://tribes06.files.wordpress.com)
ซึ่งห่วงคอนี้จัดว่าเป็นเครื่องประดับที่ใส่ในเพศหญิงเท่านั้น นอกจากสวมใส่ห่วงคอตามความเชื่อในตำนานแล้ว ยังสวมใส่เพื่อเสริมความงาม ให้ดูสง่า ยิ่งใส่ห่วงคอยาวเท่าไร จะยิ่งดูมีฐานะ ดูรวยกว่าคนที่ใส่ห่วงคอที่สั้น
2
โดยเหตุผลอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพื่อไม่ให้มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ หรือพูดง่าย ๆ ว่าป้องกันผู้หญิงในเผ่าไปแต่งงานกับคนเผ่าอื่น
3
✍️ การปฏิเสธใส่ห่วงคอ..?
4
การปฏิเสธใส่ห่วงคอจะถูกสังคมในหมู่บ้านรังเกียจ ทำให้เกิดความอับอาย บางคนถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านทำให้เกิดความอ้างว้าง กลัดกลุ้มจนล้มป่วยและในที่สุดก็ตายหรือไม่ก็ฆ่าตัวตายก็มี
4
✍️ ถอดออกตอนไหนบ้าง..?
1
เมื่อสวมใส่ห่วงที่คอแล้วจะไม่มีการถอดออก จะคงใส่ไว้ตลอดชีวิต เมื่อคำนวณแล้วพบว่าจะเปลี่ยนขนาดครั้งสุดท้ายเมื่ออายุได้ 45 ปี ซึ่งไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะสวมใส่ให้หรือถอดออก จะมีหมอผีประจำเผ่าที่คอยจัดการเรื่องการสวมใส่และถอดออกให้
6
และยิ่งไม่ถอดห่วงออกจากคอจะยิ่งทำให้รอบคอดูเรียวเล็กขึ้น สวยงาม กว่าคนปกติทั่วไปอย่างเรา
(SOURCE : https://youtu.be/YaJe5R-W2-4)
มีหลายกรณีด้วยกันที่จะมีการถอดห่วงออก ก็ต่อเมื่อ..
1. ถอดออกมาล้างทำความสะอาดปีละ 1 ครั้ง
4
2. จะมีการเพิ่มจำนวนที่ยาวกว่ามาแทนที่ ตามจำนวนอายุของผู้ที่ใส่
1
3. ถอดห่วงเมื่อถูกทำโทษ เช่น ทางชู้สาว โดยจะถูกทำโทษให้ถอดห่วงออก เพื่อทำให้เกิดความอับอาย
4
4. เพื่อเหตุผลทางการแพทย์ในการรักษาพยาบาล เช่น ถอดห่วงเมื่อตอนตั้งท้องเตรียมจะคลอดบุตร แต่เมื่อคลอดแล้วก็จะใส่เข้าตามเดิม
ซึ่งเมื่อพวกเธอถอดห่วงออกแล้ว จะไม่สามารถประคองหัวตัวเองให้ตั้งตรงเหมือนคนปกติทั่วไป บางคนถึงขนาดมีอาการเวียนหัว เพราะไม่คุ้นชิน
✍️ใส่แล้ว..กระทบกับชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง..?
เช่น การนอน แม้กระทั่งยามนอนหลับก็จะสวมห่วงคอไว้ไม่ถอดออก โดยจะใช้ม้าที่แข็งแรงมารองรับหมอนอีกชั้นหนึ่งให้มีความสูงขึ้น เพื่อให้พอดีกับสรีระ ซึ่งจัดว่าเป็นความสูงกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
1
(SOURCE : https://youtu.be/YaJe5R-W2-4)
ในทุก ๆ อริยาบทนั้น ก็จะมีห่วงใส่ที่คอตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทั้งการนอน การทำงาน หรือแม้กระทั่งตอนอาบน้ำ ก็จะไม่มีการถอดออก นับว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชนเผ่าคอยาวไปแล้ว
✍️ น้ำหนักของห่วง..?
ห่วงทำขึ้นมาจากทองเหลืองที่มีความหนาประมาณ ½ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. มีลักษณะตัน ที่ต้องตันเพราะถ้ากลวงแล้ว จะนำมาดัดเป็นวงกลมได้ไม่สวย เดิมใช้ทองคำแท้แต่ปัจจุบันใช้ทองเหลืองที่นำมาจากเมืองเบลอง ประเทศพม่า
3
ห่วงนี้สำหรับผู้ใหญ่น้ำหนัก 5 กิโลกรัมกว่า (SOURCE : https://th.tripadvisor.com)
เดิมห่วงที่ใส่ทั้งตัวนี้มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 22-36 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันจะสวมน้อยลงเหลือแค่ 7 กิโลกรัม
4
✍️ใส่ห่วงแล้ว ทำให้คอยาวจริงหรือ..?
นายแพทย์เกซิเซียน ได้ถ่ายเอกซเรย์หญิงปาดองที่โรงพยาบาลย่างกุ้ง พบว่า “คอไม่ได้ยืดยาว” แต่เป็นเพรากระดูกซี่โครงที่เกาะอยู่กับกระดูกสันหลังเปลี่ยนรูป ช่วงหน้าอกที่ถูกผลักดันลงมาให้ทรุดลง หนำซ้ำ..เมื่อเพิ่มขนาดห่วงเข้าไป จะกดทับกระดูกซี่โครงที่ 1 และ 2 และกระดูกไหปลาร้าโค้งงอลงจนทรุดตัวลง
1
เพราะต้องมารับน้ำหนักจากห่วงทองเหลืองที่กดทับไว้ ไม่เกี่ยวกับการยืดตัวของกระดูกบริเวณคอแต่อย่างใด ดังภาพ
(SOURCE : https://tmdocclusion.com/home/bone-remodeling)
สรุป คือ กระดูกคอไม่สามารถยืดได้ คอไม่ได้ยาวขึ้น ที่ดูยาวขึ้นเป็นเพราะน้ำหนักของห่วงไปกดไหล่แล้วลู่ลงมา ทำให้ดูเหมือนคอยาวขึ้น แต่ความจริงแล้วบริเวณกระดูกตรงไหล่ต่างหากที่ทรุดตัวลง
9
✍️ ความคิดเห็นที่มีต่อวัฒนธรรมนี้..
ส่วนตัวแล้ว..มองว่าเป็นค่านิยมความงามที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว รุ้งรักและเคารพวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่นะคะ
3
แต่ทั้งนี้..ถ้าหากวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เมื่อวิทยาศาสตร์บ่งบอกถึงข้อเสีย หวังว่าประเพณีต่าง ๆ ในอนาคตจะผ่อนปรนเพื่อความเหมาะสมกับวิถีชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต
6
ที่มา
เรียบเรียงโดย : ครูรุ้งพาเพลิน
1
ภารกิจของเรา : คือการเติมความอยากรู้ของคุณด้วยการแบ่งปันข้อเท็จจริง หากคุณมีหัวข้อที่ต้องการให้เราพูดถึงและพูดคุย คอมเม้นท์ส่งข้อความถึงเราได้ตลอดเวลา 💡
1
โฆษณา