7 ก.ย. 2021 เวลา 10:35 • ไลฟ์สไตล์
คนเราควรมีรายได้ทางเดียวไหม???
ถามตัวเองค่ะ ไม่ต้องรอใครถาม
แล้วประสบการณ์ชีวิตจะบอกเราเองว่า... ไม่
ถ้าเราอยู่บนโลกใบนี้อย่างเข้าใจ ถ้าเรายังอยากใช้ชีวิตปกติสุขแบบคนทั่วไป ถ้าเรายังไม่ไปปลงผมบวช.... ตัวเองตอบตัวเองว่า
.... เราไม่ควรมีรายได้ทางเดียว ถ้าคิดจะยังมีชีวิตอยู่อย่างพึ่งพาตัวเองได้
คงไม่มีความสามารถที่จะมาบอกหรือชี้แนะการสร้าง passive incomes แบบต่างๆได้เหมือนนักการเงินหรือนักลงทุน แต่คิดและมองตามมุมมอง และประสบการณ์ของตัวเอง
เราจะเลือกทำอะไร....เพื่อสร้างรายได้อื่น...
ที่จริงสิ่งนี้เกิดทีหลังนะ รายได้มาทีหลัง
เราชอบทำอะไร มีความสุขกับอะไร เราใช้เวลากับอะไรมากๆ บ่อยๆ.... แล้วสิ่งนั้นนอกจากความสุข จะมีผลตอบแทนอื่นคือเงินตามมาได้ไหม...
พูดง่ายๆคือตัวเองเริ่มต้นจากงานที่ชอบ
งานที่สนุก งานอดิเรก....
แล้วเป็นเรื่องที่คนในบ้าน ไม่คิดว่ามันจะขายได้...
เป็นคนชอบเข้าครัว... มาก คือในบ้านทั้งหลัง ห้องที่สามารถอยู่ได้ทั้งวันคือห้องครัว กับอ่านหนังสือ (แต่พอโตก็ขี้เกียจค่ะ)
คนทำอาหารเก่งกว่าเรามีเยอะแยะ เราไม่ได้คิดแข่ง เราแค่สนุกที่จะทำ และคิดว่า อาหารทำได้หมดแหละ ถ้าหัดทำ กินได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง 😁
1
ด้วยความที่คลุกคลีกกับครัวไทยมากมาตั้งแต่สามสี่ขวบ คือจำความได้ แม่ก็ต้องเหน็บลูกสาวเข้าครัว....ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ มันซน เอามาเล่นด้วยในครัวนี่แหละ ใกล้หูใกล้ตาแม่ ใช้หยิบจับทำนู้นนี่ จำได้ว่า พอหกเจ็ดขวบก็ได้ตำแหน่งในครัวเพิ่ม นอกจากเด็กเก็บผัก ล้างผัก เด็ดผัก ก็ได้หั่นผัก หั่นเนื้อ จับทัพพีคนแกงให้แม่ จับตะหลิวผัด ยืนดูแม่ปรุงรสที่ปากกะทะปากหม้อ
ไปอยู่กับย่า ก็เข้าครัวด้วยทั้งคาวหวาน ตั้งแต่ห้าหกขวบ ย่าถ้ายังมีชีวิตอยู่ตอนนี้ก็คงอายุ 98 ปี
.... ใช่ค่ะ ระดับครัวไทยโบราณ
ทำขนมไทยทีจะเห็นตั้งแต่ ย่าเอาข้าวสารแช่น้ำข้ามคืน เอามาโม่ด้วยโม่หิน เราก็นั่งช่วยย่าโม่แป้ง คือโม่ข้าวให้ได้แป้ง สนุกมาก ต้องตักข้าวที่แช่น้ำลงหยอดลงในช่อหินที่เจาะไว้ด้านบน แล้วก็ตักน้ำหยอดตามไปด้วย แล้วก็ดันคันโยกที่เป็นไม้ให้หมุนเป็นวง เพื่อให้โม่หินบดเมล็ดข้าวสารเปียกให้กลายเป็นน้ำแป้ง เมื่อได้น้ำแป้งมาแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ถั่วเขียว ทำเหมือนกัน พอได้น้ำแป้ง เอามากรองด้วยผ้าบางละเอียด กรองแล้ว เอาหินทับไล่น้ำออกจากเนื้อแป้ง ต้องทิ้งไว้อีกเป็นคืน ดังนั้นกว่าจะได้แป้งทำขนม ใช้เวลาเตรียมสองสามวันค่ะ
จะทานขนมต้ม ย่าต้องเตรียมแป้ง หามะพร้าวขนมต้มก็ต้องมานั่งทำแป้งเองตั้งแต่เป็นเมล็ดข้าวสาร จนได้แป้ง กวนไส้ คือมะพร้าวทึนทึกเคี่ยวน้ำตาล เราเรียก กระฉีก กว่าจะได้ขนมต้ม ไม่ธรรมดา
มะม่วงกวน ก็กวนกันตั้งแต่มะม่วงเป็นชิ้นโตๆ จนเละละเอียด เนียน น้ำแห้ง เพราะไม่มีเครื่องปั่น ย่ากวนมะม่วงให้ที ใช้เวลาเป็นวันสองวัน หมดฟืนมหาศาล...
เห็นการทำทองหยอด ฝอยทอง หม้อแกง อาหารไทยแท้ๆ แบบคนโบราณทำ เป็นภาพติดตติดใจ....
เสียดายคุณย่าเสียเร็ว ตั้งแต่เราเจ็ดขวบ ไม่อย่างนั้นน่าจะได้วิชามาไม่น้อย
เด็กๆสมัยก่อน กว่าจะได้ทานขนมต้องรอ ขนมเป็นของพิเศษ คนในบ้านต้องทำเป็นถึงจะได้ทาน ฉะนั้นคนสมัยก่อน คุณย่า คุณยาย คุณป้า คุณแม่ ต้องทำเป็น ไม่อย่างนั้นลูกหลานอดทานขนมค่ะ คนทำขายก็มีแต่ก็ไม่ได้มาก และเค้าก็ไม่ค่อยซื้อกินกัน ถือว่าสิ้นเปลือง
อาหารและขนมจึงเป็นความรัก ความสุข ความอบอุ่นในบ้าน... เราเติบโตมาแบบนี้ เราจึงอยู่ในครัวได้เป็นวันๆ เพื่อทำอาหารออกมาให้คนในบ้านทาน.... ถ้าเราว่าง... ไม่ว่างก็ลวกมาม่าค่ะ 😁
ด้วยความชอบ จึงทำ พอมาทำงานไกลบ้าน ก็ยังทำ พอทำก็ทำเยอะๆ ทำแจกทุกคนรอบตัว ทำอะไรแต่่ละอย่างได้ทานตั้งแต่แม่บ้าน เจ้าหน้าที่ ไปจนถึงผู้บริหาร ... ทำไปตามประสา
แต่ก็ต้องมาเสียใจที่... เราเคยต้องตามเทขนมที่ตัวเองทำทิ้ง เพราะเขาไม่ทาน... วางทิ้งจนไม่น่าทาน.... ดูเป็นของไม่มีค่า...
เสียใจ จนคิดว่า ต่อแต่นี้ถ้าใครจะทานขนมเรา เราจะไม่ทำแจกแบบนี้อีกแล้ว เราไม่รู้ว่าเขาอยากทานหรือเปล่า ชอบหรือเปล่า เราจะขาย เพื่อให้ถึงมือคนที่อยากทานเท่านั้น.....​😆😆😆...
เราคิดว่า....
เราพลิกวิกฤติอารมณ์เราให้เป็นโอกาส
เรามั่นใจว่าฝีมือเรา ดีระดับหนึ่ง มันอาจจะไม่ใช่ดีที่สุด เก่งที่สุด
แต่อย่างน้อยก็พอแหลกล่าย ละค่ะ
ทำแล้วน้องชายทานได้พ่อทานได้ หลายคนที่ได้ทานบอกอร่อย เด็กๆทานบอกอร่อย... เราก็ว่ารสชาติมันใช้ได้ เราโตมากับฝีมือแม่ครัวรุ่นโบราณ ถ้าอยู่ก็อายุร้อยปีทั้งนั้น ทานมาไม่รู้กี่มือ เราพอจะแยกอร่อยกับไม่อร่อยได้ ดูออกว่าใครทำกับข้าวเป็น ไม่เป็น
แค่นี้ก็จะลองสู้แล้วค่ะ... มีความกราดเกรี้ยว ทิ้งขนมเรา 😆
จากนั้นก็เริ่มทำขาย ให้ฟรีเททิ้งเหรอ ดูดิ๊ ขายจะมีคนซื้อมั้ย 😁
การขายได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย
เมื่อเราขายขนม มันก็ต้อง น่ากิน อร่อย ถ้ามีขนมแบบเดียวกันวางขายมากมาย เราต้องแตกต่าง
ขายใคร ขายยังไง เราไม่ใช่นักขาย ไม่เคยเรียนการตลาด เราไม่เคยทำธุรกิจ เราเริ่มจากคนใกล้ตัว คนที่เคยทานฝีมือเรา
การมีหน้าร้าน ต้องลงทุนเปิด ต้นทุนสูง มีคนเฝ้าตลอด เรามีงานประจำ เราไม่มีเวลา เราจ้างคนเพิ่มก็เพิ่มทุน แทนที่จะเป็นรายได้เสริมจะกลายเป็นจ่ายตั้งแต่เริ่ม ทุนหลักร้อยหลักพัน เริ่มไม่ได้ต้องหลักหมื่นหลักแสน... จะเสี่ยงไหม
เมื่อต้นทุนสูง แทนที่จะทำแล้วมีความสุข ใช้เวลาว่างสร้างเงิน อาจกลายเป็นความเครียด และคาดหวังแทน... อะไรทำแล้วไม่มีความสุขตอบแทน เราไม่ทำค่ะ 😁
เริ่มต้น เราเลือกสองทางคือขายเองและฝากขาย
เราเริ่มจากฝากขายก่อน เพื่อดูกระแสการตอบรับ ดูตลาด ดูลูกค้า ..
ฝากขาย คือเอาไปฝากวางที่หน้าร้านคนอื่น ค่าตอบแทนแล้วแต่จะตกลงกัน เราหักเปอร์เซนต์​ให้ตามที่ขายได้จริง เราแค่อาศัยวางขาย เขาไม่ต้องออกเงินซื้อของเรา ไม่ต้องรับผิดชอบถ้าของเหลือ เราก็สบายใจว่าของเราราคาอยู่ในแบบที่เราต้องการ ไม่ใช่คนอื่นซื้อถูกเอาไปขายแพงให้ตัวเองเจ็บใจเล่น เราควบคุมคุณภาพของได้ตลอด เพราะเราไม่ปล่อยของค้างแล้วขายต่อ แต่ก็โชคดีขนมเราขายหมด จนไม่พอขายทุกวันที่เอาไปวางอยู่แล้ว
คุณรู้ไหม มันไม่ง่ายนะ การที่ใครสักคนยอมให้คุณเอาขนมไปวาง บางคนเขาทำเอง บางคนก็...
1
ขนมน้องอร่อยนะ อร่อยกว่าที่พี่รับมาอีก แต่พี่ไม่รับวางนะ....
อ้าว ทำไมละคะ พี่บอกเองมันอร่อย
พี่มีคนวางประจำแล้ว พี่ไม่อยากเสีย connection
บางคนก็ให้วางแบบเสียไม่ได้ แต่วางลืม ไม่เอาออกมาขาย ไม่เชียร์
เราตามไปดูขนมตัวเอง เหมือนลูกเมียน้อยที่ไม่มีใครสนใจ
บางคนติแล้วติอีก ว่าขนมเราไม่ได้เรื่อง แก้กี่ทีก็ติ ทั้งๆที่คนอื่นชมแล้วทุกรอบ ให้กินสิบคน มีคนนี้ติอยู่คนเดียว ติแล้วไม่ให้วางทุกรอบ...
คือ จะไม่ให้วางก็บอกว่าไม่ให้วาง ตรงๆ แต่แรกก็จบไหม แต่ไม่ทำ เขาใช้วิธีบั่นทอนกำลังใจ ความตั้งใจ และความพยายามของคนอื่น คนประเภทนี้ อย่าตอแยค่ะ อย่าเสียเวลาด้วยมาก ถ้ารู้สึกว่าแปลกๆให้รีบออกห่าง เพราะเขาไม่ได้ให้โอกาสใครจริง ร้านเขา เขาไม่ให้วางคือจบ อย่าอ้อนวอนใครจนเหมือนเราไม่มีค่า
1
จำได้ว่าร้านนี้ เราทำให้ชิมหลายครั้ง พร้อมๆกับขายเอง รับออร์เดอเองมากมายขายดี ร้านนี้ก็บอกไม่อร่อยๆตลอด แต่เราส่งขายเพื่อนทั่วประเทศ ระดับนักชิมนักกินเขาก็บอกว่าใช้ได้ แต่เจ้าของร้าาเขาไม่รู้ว่าเราขายเองด้วย เขาก็เอาแต่ติ และไม่เคยให้โอกาสวางขาย..
เราแวะเป็นลูกค้ากาแฟเขา เป็นระยะ เขาก็ถามน้องไม่เอาขนมมาแล้วเหรอ เราก็แค่ยิ้มๆไป...
เราไม่ได้รอตู้ขนมเขา
กว่าจะได้วาง บางครั้งก็ต้องเสียขนมให้เด็ก...
เดี๋ยวพี่จะเอาไปให้หลานชิมนะ ถ้าเขาบอกอร่อยพี่จะให้วาง... ร้านนี้เราผ่านค่ะ เด็กอนุญาต... ตอนแรกอาจตั้งใจปฏิเสธ แต่เกรงใจ กลัวเสียกำลังใจ
พอฝากขายแล้ว.... กว่าจะขายได้... ก็ไม่ง่าย
เราเดินไปดูของที่ฝากขาย
มีคนซื้อไหมคะพี่
ยังไม่มีเลย...
คิด ค่ะ คิด เราว่าขนมเราอร่อย ถ้าคนได้ชิมเค้าต้องสนใจ....
เอาอย่างนี้ หนูยอมเสียเค้กก้อนหนึ่งเลย ตัดแบ่ง แจกให้คนชิมนะคะ ใครชิมแล้ว จะซื้อก็ได้ ไม่ชอบไม่ซื้อไม่ว่ากันค่ะ แต่ขอให้เขาได้ลองชิมก่อน ค่อยตัดสินใจ...
จบค่ะ
ขนม มันอยู่ที่มอง บางครั้งไม่พอ ถ้าของที่เขาเห็นมันไม่ใช่ของคุ้นเคย ถ้ามันไม่ได้สวยมาก ต้องชิม เมื่อถูกปาก ย่อมขายได้
ขายเอง
ลองขายออนไลน์ผ่านกลุ่มเพื่อน จำได้ว่า ตื่นเต้นมากในการเปิดรับออร์เดอครั้งแรก ลุ้นว่าจะขายได่ไหม...
ประกาศขาย ตั้งเวลา แล้วตัดจบเลยเมื่อหมดเวลารอ ไม่เปิดรับแบบยืดเย้อรอใคร...
ทุกคนมีเวลาตัดสินใจของตัวเอง ถ้าไม่ซื้อ เราแช่เป็นชาติก็ไม่ซื้อค่ะ....
ครั้งแรกที่เปิด ตั้งใจว่ามีคนสั่งแค่คนเดียว คนเดียวที่เขาสนใจ ตั้งใจสั่ง เราก็จะเปิดเตาทำขนมให้เขาได้ทานขนมที่เราทำ ไม่สนใจกำไรขาดทุนการเปิดเตา สนใจแค่ มีคนสนใจซื้อขนมเรา ให้โอกาสเรา ยอมจ่ายเงินซื้อขนมทาน เราจะทำให้
ครั้งแรกมีคนสั่งเค้กเราสองคน จำนวนสามก้อน ขอบคุณเขาสองคนมาจนทุกวันนี้ เขาสองคนคือจุดเริ่มต้น เป็นก้าวแรก....ทำให้กล้าขายต่อ
ราคา
ราคาต้องกล้าตั้งตามต้นทุนและฝีมือ แต่ไม่แพงจนจับต้องไม่ได้เพราะเราไม่ต้องมีส่วนแบ่งกำไรให้คนอื่นยกเว้นการฝากขาย ราคาต้องตั้งเผื่อตรงนี้ไว้บ้าง
ราคาขนมที่ตัวเองทำ... ไม่ถูกค่ะ เพระเป็นราคาต้นทุนที่สูงตามวัตถุดิบระดับเราทำทานเองจริๆ เพราะขนมที่ทำเราแบบทำทานเองได้ถูกปาก สบายใจ แล้วเราอยากให้คนอื่นได้ทานด้วยแบบที่เราทาน
ราคาจะเลือกกลุ่มลูกค้าให้เรา คนที่เข้าใจบริบท จะรู้สึกพอใจกับราคา ถูก หรือแพง เป็นเรื่องของความรู้สึก สำหรับคนจ่ายจริงๆ...
ถ้าหนึ่งคำ เข้ารู้สึกคุ้มกับที่จ่าย ในราคาที่สมเหตุสมผล ใกล้เคียงราคาตลาด คำว่าแพงเกินไปจะไม่เข้าหูเรา หรือดูที่การซื้อซ้ำ ถ้ายังมีการซื้อซ้ำเรื่อยๆ แปลว่าราคากับคุณภาพไปด้วยกันได้ค่ะ
อย่าด้อยค่ากดราคาตัวเอง ด้วยการทำของดีมีคุณภาพแล้วขายราคาไม่สมเหตุผลเพราะกลัวขายไม่ได้ โลกนี้มีคนมีตังค์มากกว่าเราค่ะ เรามีหน้าที่ทำให้เค้าควักกระเป๋าจ่ายอย่างพอใจ 😁
ถ้าคุณใช้เนยฝรั่งเศสทำขนม คุณจะมาคิดราคามาร์การีนไม่ได้
1
แต่อย่าโก่งราคาจนคนซื้อไม่ไหว เพราะความสุขของการทำขนมให้คนทานคือ มีคนทานขนมเราอย่างอร่อย ยิ่งมากคน ยิ่งเขาชอบ เขาอร่อย เรายิ่งมีความสุข ความสุขของคนซื้อขนมทานคือ อร่อย คุ้มค่าราคาที่จ่าย แพงเกินไป เข้าถึงคนได้ยาก และเค้าจะไม่ค่อยซื้อซ้ำ
เราเองจะไม่มีความสุข
ทำสิ่งที่ชอบแล้วได้อะไร
ได้ความสุข สนุกที่จะทำ ทำทานเองกับทำขายความรู้สึกต่างกัน ทำขายท้าทายกว่ามาก ลุ้นทุกขั้นตอน เหมือนสอบตลอดเวลา ประกาศผลสอบตอนขนมเข้าปากลูกค้า.. นั่นคือคนให้คะแนน
ขนมเลือกคน คนเลือกขนม คนที่ชอบแบบที่เราทำ ถึงจะมาซื้อขนมของเรา ฉะนั้น ไม่ได้แปลว่าทุกคนต้องถูกปาก หรือทุกคนต้องซื้อหรือสนใจ ทุกคนต้องชื่นชอบ
ขนมพัฒนารสชาติได้ วันแรกที่ทำ จนได้มาเป็นสูตรของตัวเอง รอลองสูตรจนอยู่มือ มือนิ่ง ใช้เวลา ขนมบางอย่าง โดยเฉพาะขนมไทย แม้มีสูตร การปรุงก็อาจจะไม่คงที่แปรตามวัตถุดิบ การทำขนมต้องมีไหวพริบ ทำให้เราเป็นคนช่างสังเกตุ หัดแก้ปัญหา ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบแต่ละอย่าง เราแก้ได้ เราอาจไม่ต้องเททิ้ง
ถ้าความอร่อยยังคงที่ ถือว่าใช้ได้
สูตรขนม คือการมีร่าง
แต่การทำขนม คือการใส่จิตวิญญาณ​
สูตขนมที่เหมือนกัน แต่ละคนจึงทำออกมาได้แตกต่างกัน... ขึ้นกับการใส่จิตวิญญาณ​ของคนทำที่แตกต่างกัน....
เราไม่ใช่ผู้ประสบความสำเร็จกับการขาย ไม่ใช่คนที่ยอดขายสูงระกับประเทศ ยอดขายเราหลักพัน หลักหมื่น ไม่ใช่คนทำขนมที่เก่ง ไม่ได้รู้อะไรมากเลย แต่เรามีความสุขเวลาทำขนมขาย
แกจะลาออกไปทำขนมขายไหม ท่าจะขายดีหนิ พ่อถามประชด.... 😌
ไม่นะ เดี๋ยวไม่พอกิน 😅... เราตอบพ่อแบบไม่ต้องคิด...
ขายยังไงให้เลี้ยตัวได้ ยังไม่เก่งขนาดนั้น
หนูเป็นผู้หญิงมีค่า ค่าใช้จ่ายเยอะ 😁😆..
แม่ค้าขนมไม่ใช่งานง่ายๆ ยิ่งถ้ายึดเป็นอาชีพหลัก ต้องมีฝีมือพอตัว
แต่เชื่อว่า เราทุกคน สามารถหาโอกาสจากชีวิตของตัวเองได้เสมอ 🥰

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา