ความสำเร็จในครั้งนี้ของสหภาพโซเวียตสร้างแรงกดดันให้กับสหรัฐฯ อีกระลอกหนึ่ง จนในปี ค.ศ. 1962 ประธานาธิบดี John F. Kennedy ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นต้องออกมาสร้างความเชื่อมั่นว่าสหรัฐฯ จะต้องสามารถกลับมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศให้ได้ และกล่าวย้ำในสุนทรพจน์ว่า “We choose to go to the moon” หรือว่า “เราเลือกที่จะไปดวงจันทร์”
จนในที่สุดในปี ค.ศ. 1969 ก็เป็นปีแห่งความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ เมื่อ NASA สามารถส่งยานอวกาศ Apollo 11 ที่มีลูกเรือ 3 คน ได้แก่ Neil Armstrong, Buzz Aldrin และ Michael Collins ไปลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ
“That’s one small step for man, one giant leap for mankind. นั่นเป็นก้าวเล็ก ๆ ของคนคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษยชาติ” Niel Armstrong ได้กล่าวประโยคนี้ไว้หลังจากลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลก
Neil Armstrong นักบินอวกาศชาวอเมริกัน มนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์
แต่รอบนี้ไม่ใช่การแข่งขันกันระหว่างประเทศดังเช่นในอดีต แต่เป็นการแข่งขันกันระหว่างอภิมหาเศรษฐี 3 คน ซึ่งได้แก่ Jeff Bezos จากบริษัท Blue Origin, Elon Musk จากบริษัท SpaceX และ Richard Branson จากบริษัท Virgin Galactic
กรณีที่แสดงให้เห็นถึงการขับเคี่ยวกันล่าสุดของวงการนี้ก็คือการที่ Richard Branson ได้จัดการทดลองเที่ยวบินในวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาและขึ้นแท่นเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทด้านยานอวกาศคนแรกที่ได้เดินทางไปอวกาศ ตัดหน้า Jeff Bezos ที่กำลังจะบินกับ Blue Origin ไปเพียง 9 วัน
1
บริษัท Blue Origin ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2000 ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยให้ผู้คนในอนาคตสามารถอยู่อาศัยและทำงานบนอวกาศ เพื่อสร้างประโยชน์กลับคืนสู่โลกได้ โดยทางบริษัทได้เล็งเห็นถึงอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ
นั่นก็คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนมหาศาล จึงตั้งใจที่จะผลิตจรวดภายใต้คอนเซ็ปต์ “LAUNCH LAND REPEAT” หรือการปล่อยจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่เหมือนกับในอดีตที่สามารถใช้ได้ครั้งเดียวแล้วต้องทิ้งไป เพื่อลดต้นทุนในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ โดยในช่วงที่ผ่านมา Blue Origin ก็ได้ประสบความสำเร็จในการส่งจรวดภายใต้แนวคิดดังกล่าวในโครงการอย่าง New Shepard มาแล้ว เป็นต้น
โดยวิธีการเชิงเทคนิคที่ SpaceX ใช้ก็ดูจะมีความคล้ายคลึงกับของบริษัท Blue Origin นั่นคือ การคิดค้นพัฒนายานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยผลการศึกษาจาก NASA และ The Planetary Society ระบุไว้ว่ายาน SpaceX Dragon 2 ที่สามารถนำชิ้นส่วนบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้มีค่าใช้จ่ายต่อที่นั่งสำหรับนักบินอวกาศลดลงอย่างมากหากเทียบกับยานอวกาศในสมัยก่อนอย่าง Apollo ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว (มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแต่ก่อนเกือบ 7 เท่า)
โดยรายได้หลักคาดว่าจะมาจากการท่องเที่ยวในรูปแบบของเที่ยวบินที่ออกไปถึงระดับขอบอวกาศ (Edge of Space) เนื่องจากเป็นระดับชั้นความสูงที่ผู้เดินทางสามารถสัมผัสกับประสบการณ์ภาวะไร้น้ำหนักได้และมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเดินทางออกไปนอกโลก