9 ก.ย. 2021 เวลา 05:21 • ธุรกิจ
การประหยัดพลังงานในระบบความเย็น
การประหยัดพลังงานในระบบความเย็น
หลังจากที่ Colder Solution
ได้นำเสนอวิธี การดูแลความปลอดภัยของระบบทำความเย็น ไปแล้วในครั้งก่อน (http://www.coldersolution.co.th/posts/2021/08/understand-principles-of-cooling-system1/)
ในสภาวะปัจจุบันรูปแบบการใช้พลังงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเติบโตของอุตสาหกรรมก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี
ระบบทำความเย็นถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้กระบวนการการทำความเย็นช่วยผลิตสินค้า ด้วยการทำงานต่อเนื่องของระบบทำความเย็น ปัจจัยหนึ่งที่เป็นต้นทุนที่ลืมไม่ได้เลยนั่นก็คือ ค่าไฟฟ้า
และพลังงานที่ใช้กับระบบทำความเย็น
ระบบทําความเย็นทั่วไปต้องการความร้อนแฝงสูง เพื่อให้มีอัตราการไหลเชิงมวลต่อหน่วยความสามารถในการทําความเย็นมีค่าต่ำๆ ประกอบกับค่าปริมาตรจําเพาะต่ําจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทําความเย็นเพิ่มสูงขึ้น
โดยในแง่ของการประหยัดพลังงาน คุณสมบัติที่สําคัญ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพของการทำความเย็นมีดังนี้
1. ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (Latent Heat)
2. อัตราส่วนการอัด (Compression Ratio)
3. ปริมาตรจําเพาะ (Specific Volume)
4. ความร้อนจําเพาะ (Specific Heat)
สิ่งที่สําคัญที่สุดคือคุณสมบัติซึ่งช่วยลดขนาดน้ำหนัก ราคาของระบบทําความเย็น ราคาและสารทําความเย็น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในทางเลือกของการประหยัดต้นทุนการทำความเย็น
ก่อนที่เราจะไปรู้จักวิธีการประหยัดพลังงาน เรามาทำความรู้จักกับ ภาระความเย็นหรือ Load of Refrigeration กันก่อนค่ะ
ภาระการทําความเย็น คือ ปริมาณความร้อนรวมทั้งหมดที่เครื่องทําความเย็นจะต้องเอาออกจากพื้นที่ควบคุมหรือผลิตภัณฑ์
1) ความร้อนที่ผ่านผนังที่ผ่านฉนวนกันความร้อน
2) ความร้อนจากการแผ่รังสีโดยตรงจากผนังโปร่งแสงที่สามารถผ่านได
3) ความร้อนจากอากาศภายนอกที่เข้าสู่พื้นที่ควบคุม
4) ความร้อนจากผลิตภัณฑ์
5) ความร้อนจากคน หรือแสงสว่างและอุปกรณ์ต่างๆ
เราสามารถนำภาระความเย็นแยกไปวิเคราะห์เพื่อการประหยัดพลังงานระบบทำความเย็นได้ดังนี้ค่ะ
🔽ทำการลด
1. ลดภาระความเย็นจากทั้งภายใน และภายนอกให้มากที่สุด
- เลือกใช้วัสดุฉนวนความร้อนที่มีคุณภาพสำหรับผนัง
- ลดการรั่วไหลของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ห้อง
- ป้องกันไม่ให้แสงแดดกระทบผนังโดยตรง
- ปรับเครื่องวัดและปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะกับการใช้งาน
- ปรับปรุงระบบแสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูง
- เลือกใช้และปรับเวลาระบบการละลายน้ำแข็งให้เหมาะสม
2. ลดชั่วโมงการทำงาน (Operating Time)
- เปิดใช้งานให้ช้าที่สุดและปิดก่อนเลิกใช้ให้เร็วที่สุด
- ลดจำนวนเดินเครื่องทำความเย็นเมื่อภาระของระบบต่ำ
- ควบคุุมชุดระบายความร้อนให้ทำงานตามการทำงานของเครื่องอัด
- เดินอุปกรณ์ประกอบให้เหมาะสมกับภาระความเย็น
3. ลดพลังไฟฟ้าที่ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ
- เปิดใช้งานในจำนวนที่เหมาะสม
- เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นหลัก
🔼 ทำการเพิ่ม
1. เพิ่มสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) ให้สูงขึ้น
- ควบคุมปริมาณสารทำความเย็นในระบบ
- ทำความสะอาดพื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อนเสมอ
- ควบคุมน้ำหรืออากาศให้ไหลผ่านขดท่อแลกเปลี่ยนความร้อนในอัตราที่เหมาะสม
- เพิ่มขนาดพื้นที่ผิวแลกเปลี่ยนความร้อน
- ปรับตั้งค่า การใช้ลิ้นลดความดัน (Expansion Valve) ที่มีขนาดเหมาะสม
- ปรับตั้งอุณหภูมิการทำความเย็นให้เหมาะสม
- ใช้น้ำหรืออากาศที่มีอุณหภูมิต่ำระบายความร้อน
- ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำแทนอากาศ
- เลือกใช้เครื่องอัด (Compressor) ที่มีประสิทธิภาพสูง
2. เพิ่มประสิทธิภาพของมอเตอร์ (Motor Efficiency)
- หากมอเตอร์ไหม้ หรือมีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี ควรเปลี่ยนใหม่
- คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่ หากมีการซ่อมมอเตอร์บ่อยครั้ง ควรเปลี่ยน
เพราะหากกรณีมอเตอร์ไหม้ ประสิทธิภาพจะลดลง 4% ต่อครั้ง
- ดูแลเรื่องสารหล่อลื่นเป็นประจำ
- ใช้มอเตอร์และลูกปืนที่ประสิทธิภาพสูง
3. เพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งกำลัง ระหว่างเครื่องอัดสารทำความเย็นกับมอเตอร์ให้สูงที่สุด
- ปรับความตึงสายพานให้เหมาะสม
- เช็คอายุสายพาน และเปลี่ยนเหมือนหมดวาระ
- ใส่สายพานให้ครบตามจำนวนที่วิศวกรออกแบบ
นอกเหนือจากนี้ยังมีเทคนิคอีกมากมายที่ผู้เชี่ยวชาญใช้เป็นแนวทางการประหยัดพลังงานในระบบทำความเย็น เช่นการเพิ่มความดันอีวาโปเรเตอร์ หรือลดความดันสารทำความเย็นฝั่งคอนเดนเซอร์
ซึ่งเราจะนำมาฝากกันในตอนถัดไป ของซีรีย์ระบบทำความเย็นในโรงงานอุตสาหกรรมค่ะ
หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับระบบทำความเย็น รวมถึงเลือกสารทำความเย็นให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ เพื่อคุณภาพสูงสุด
ปรึกษาเราได้ที่ Line id : @Colder
หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจำหน่าย น้ำยาแอร์และสารทำความเย็น รวมถึงอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นอื่นๆ
#สารทำความเย็น #น้ำยาแอร์ #Refrigerant #น้ำยาแอร์R22 #น้ำยาทำความเย็น #ระบบปรับอากาศ #เครื่องทำความเย็น #ระบบทำความเย็น #อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง #สารทำความเย็นอุตสาหกรรม #ระบบทำความเย็นอุตสาหกรรม #ประหยัดพลังงาน #วิธีประหยัดพลังงาน
โฆษณา