9 ก.ย. 2021 เวลา 07:00 • สุขภาพ
“PRINCIPLE” การศึกษาแบบ multicenter, open-label, randomized, controlled trial ในสหราชอาณาจักร
มีการนำเสนอหลักฐานใหม่เกี่ยวกับการใช้ budesonide (ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด) ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) โดย Ly-Mee Yu และคณะจาก University of Oxford ในสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการศึกษา PRINCIPLE ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ multicenter, open-label, randomized, controlled trial เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการเพิ่ม budesonide ในการรักษาแบบมาตรฐานในผู้ป่วย COVID-19 และได้รายงานผลลัพธ์ลงในวารสาร Lancet (ฉบับออนไลน์ 10 สิงหาคม 2021) ว่ากลุ่มตัวอย่างที่เพิ่ม budesonide ในการรักษามีระยะเวลาเจ็บป่วยสั้นลงประมาณ 3 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มการรักษาแบบมาตรฐาน
กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูง
ยาสเตียรอยด์ชนิดสูด (inhaled corticosteroid) เป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลาย มีราคาไม่แพง มีความปลอดภัยสูง และมีการคาดการณ์ว่ายาดังกล่าวอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในปอดเมื่อนำมาใช้ในการรักษาโรค COVID-19 โดยแม้ว่าจะมีรายงานถึงประสิทธิภาพของ budesonide ในผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อ COVID-19 จากการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่กับประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงนั้นยังคงไม่ชัดเจน
|------------------------------------------|
📌เกาะติดข่าวสาร และข้อมูล เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด! https://bit.ly/3fZUcFe 📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽‍🎓 CPE/CME/CMTE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|------------------------------------------|
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา PRINCIPLE คือ ผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีโรคร่วม (comorbidity) โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีอาการหรือสงสัยว่ามีอาการของ COVID-19 (ไอ หรือ ประสาทรับรสชาติ/รับกลิ่นผิดปกติ เป็นต้น) ภายใน 14 วันที่ผ่านมาแต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทางคณะวิจัยได้ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น
กลุ่มการรักษามาตรฐาน
กลุ่ม budesonide: กลุ่มที่เพิ่ม budesonide (800 μg/2ครั้งต่อวัน, 14 วัน) ในการรักษามาตรฐาน
กลุ่มการรักษาอื่น: กลุ่มที่มีการเพิ่มการรักษาแบบอื่น ๆ
และติดตามกลุ่มตัวอย่างผ่านทางออนไลน์เป็นเวลา 28 วัน coprimary endpoint คือระยะเวลาจนถึงช่วงการฟื้นตัว (recovery) ตามการรายงานด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่าง (หมายถึงวันที่ผู้ป่วยรายงานความรู้สึกว่าฟื้นตัวเป็นครั้งแรก) และการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตจาก COVID-19
ระยะเวลาเจ็บป่วยลดลง 2.94 วัน
การศึกษาเริ่มเปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2020 โดยทางคณะวิจัยได้สุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยทั้งหมด 4,700 คนระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2020 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2021 ออกเป็น
กลุ่มการรักษามาตรฐาน 1,988 คน
กลุ่ม budesonide 1,073 คน
กลุ่มการรักษาอื่น 1,639 คน
ในจำนวนดังกล่าวมีจำนวนตัวอย่างผู้ป่วยที่มีผลการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) เป็นบวกดังนี้
กลุ่มการรักษามาตรฐาน 1,069 คน
กลุ่ม budesonide 787 คน
กลุ่มการรักษาอื่น 974 คน
ซึ่งผู้ป่วยจำนวนนี้จะเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับ first order analysis
จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่ม budesonide มีระยะเวลาในการฟื้นตัวตามการรายงานด้วยตนเองสั้นลง 2.94 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มการรักษามาตรฐาน [14.7 วัน ต่อ 11.8 วัน, hazard Ratio (HR) 1.21, 95% Bayesian credible interval (BCI) 1.19. - 5.12] และในทำนองเดียวกัน จากการวิเคราะห์ทุติยภูมิซึ่งรวมผู้ป่วยที่มีผลการติดเชื้อ SARS-CoV-2 เป็นลบ พบว่ากลุ่ม budesonide มีระยะเวลาในการฟื้นตัวสั้นลง 2.54 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มการรักษามาตรฐาน (13.3 วัน ต่อ 10.9 วัน, HR1.18, 95%BCI 1.07 - 1.30)
จาก first order analysis พบว่าการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตจาก COVID-19 ในกลุ่มการรักษามาตรฐานอยู่ที่ 8.8% และในกลุ่ม budesonide 6.8% [odds ratio (OR) 0.75, 95%BCI 0.55 - 1.03] absolute percentage difference ที่ 2.0% (95%BCI -0.2 ถึง 4.5%) อีกทั้งจากการวิเคราะห์ทุติยภูมิพบว่าอยู่ที่ 7.3% และ 5.8% ตามลำดับ (0.78, 0.57 - 1.04) สำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ พบในกลุ่มการรักษามาตรฐาน 4 คน และในกลุ่ม budesonide 2 คน
จากผลลัพธ์ข้างต้น Yu สรุปว่า "การเพิ่ม budesonide แบบสูดดมในการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 อาจช่วยลดระยะเวลาการฟื้นตัวลง 3 วัน และลดความเสี่ยงต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตลง 2%"
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >> https://bit.ly/3fZUcFe <<📲
โฆษณา