Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
10 ก.ย. 2021 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Saint Young Men ศาสดาลาพักร้อน : การหลอมรวมของศาสนา เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน
Saint Young Man (ศาสดาพักร้อน) หรือ Saint Onii-San โดย อ.ฮิคารุ นากามูระ
จากกระแสช่วงสัปดาห์ก่อนที่ประชาชนกว่า 2 แสนคน เข้าฟังไลฟ์ของพระมหาไพรวัลย์ และพระมหาสมปอง พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างทั้งในเชิงบวกและลบถึงความเหมาะสมของกิจกรรมนี้
เหตุการณ์วิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นอ่อนไหวเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นในไทยมาแล้วครั้งหนึ่งตอนนี้ซีรีส์ Saint Young Men ที่มีเนื้อหาสมมติให้พระพุทธเจ้าและพระเยซูลาพักร้อนจากภารกิจลงมาใช้ชีวิตแบบ “คนธรรมดา” ที่ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านโลกออนไลน์ โดยฝ่ายหนึ่งก็มองว่าเป็นการหลบหลู่องค์ศาสดา ส่วนอีกฝ่ายก็มองว่าเป็นการสอดแทรกแก่นของหลักธรรมในรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในปัจจุบัน ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
วันนี้ Bnomics จึงอยากจะเล่าถึงเรื่องของศาสนาที่ได้เข้าไปสอดแทรกอยู่ในมิติของเศรษฐกิจและสังคม และหยิบยกกรณีพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ที่มีการปรับตัวของให้ทันสมัยสอดคล้องกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน แต่ยังคงแก่นแท้ของหลักธรรมไว้ได้อยู่
📌 ศาสนากับเศรษฐกิจสัมพันธ์กันอย่างไร?
ศาสนากับเศรษฐกิจสัมพันธ์กันแบบสองทาง ถ้ามองแบบกว้างๆ ศาสนาเป็นเหมือนกรอบที่ไปกำหนดลักษณะการกระทำต่างๆ ของเราไม่ว่าจะเป็น จริยธรรมในการทำงาน ความซื่อสัตย์ (และความเชื่อใจ) การประหยัด การทำบุญกุศล ความโอบอ้อมอารีต่อคนแปลกหน้า และสิ่งเหล่านี้เองที่ไปมีผลต่อการลงทุน และส่งผลถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในอีกด้าน เมื่อเศรษฐกิจพัฒนาขึ้นไปแล้ว ก็ไปส่งผลต่อความเชื่อในศาสนาให้เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
1
ในหลายๆ ประเทศมีการนับถือศาสนากันได้อย่างเสรี มีงานวิจัยหนึ่งพูดถึงเรื่องโมเดลตลาดศาสนา (The Religion Market Model) โดยเปรียบศาสนาเป็นเหมือนผลิตภัณฑ์สินค้า การบังคับหรือสนับสนุนการเผยแผ่ศาสนาจะมีผลต่อผลของการเผยแพร่ของศาสนานั้นๆ โดยธรรมชาติ
ถ้าพูดง่ายๆ หากรัฐบาลกำหนดศาสนาประจำชาติและจำกัดศาสนาอื่นๆ ไม่ให้เข้ามา หรืออาจจะบังคับให้โรงเรียนสอนศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ จะส่งผลให้คุณภาพและความหลากหลายของกิจกรรมทางศาสนาด้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้คนก็จะเข้าร่วมกับศาสนาหลักนั้นน้อยลง
1
แต่หากศาสนานั้นมีความหลากหลายและเสรี การแข่งขันกันของแต่ละศาสนาย่อมก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งในเรื่องคุณภาพ และสามารถปรับให้ความสอดคล้องกับความชอบของปัจเจกบุคคลว่าอยากเคร่งแค่ไหน ดังนั้นจะทำให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาได้มากกว่า
1
📌 ความเชื่อทางศาสนา กับแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ
แต่ละศาสนาก็มีความเชื่อในนรก สวรรค์ โลกหลังความตายแตกต่างกันออกไป ส่งผลให้แรงจูงใจทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน จึงมีกลไกเบื้องหลังที่จะสนับสนุนให้คนมีความพยายามในการทำงาน และสะสมความมั่งคั่งต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ไปมีผลต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การกอบโกยและสะสมความมั่งคั่งทางทรัพย์สินนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ขัดกับศาสนาพุทธที่เชื่อในเรื่องการแบ่งปัน การทำบุญกุศล
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาหนึ่งที่มีความเชื่อในเรื่องการทำบุญกุศลเป็นอย่างมาก พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าการประพฤติดีตลอดช่วงชีวิตจะช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์และเกิดความรู้แจ้งแห่งปัญญาได้
2
กุศโลบายของศาสนาที่ส่งเสริมให้คนทำบุญกุศลนั้นถือเป็นหนึ่งวิธีที่เป็นผลดี สำหรับสังคมที่ไม่มีโครงสร้างหลักประกัน หรือสวัสดิการรัฐ การที่ศาสนาปลูกฝังให้คนมีความใจบุญ และสร้างสังคมที่มีระบบช่วยเหลือกันเอง (Mutual Aid) ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการประกันในชุมชน (เราช่วยเขา เขาช่วยเรา) ที่ช่วยให้คนในประเทศที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เช่น ประเทศที่พึ่งพาเกษตรกรรม สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้
4
งานวิจัยหนึ่งได้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติ เพื่อศึกษาว่าความเชื่อทางศาสนา ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไร โดยมีตัวแปรที่ใช้วัดความเชื่อทางศาสนา คือ จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่อเดือน/สัปดาห์ และความเชื่อในเรื่องนรก/สวรรค์ หรือโลกหลังความตาย ซึ่งผลปรากฎว่า ความเชื่อในชีวิตหลังความตายนั้นส่งผลทางบวกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่จำนวนครั้งของการไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาส่งผลทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
1
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์นี้ไม่ได้หมายความว่าการที่คนไปทำกิจกรรมทางศาสนาบ่อยๆ จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ การที่คนไปทำกิจกรรมทางศาสนาไม่ได้บ่อยมาก แต่กลับมีความเชื่อในโลกหลังความตายมาก นั่นหมายถึง ศาสนาต้องมีประสิทธิภาพดีมากๆ ส่งเสริมช่วยขัดเกลาความคิดคนให้ได้ดังนี้ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหรือทรัพยากรจำนวนมากเกี่ยวกับศาสนา แล้วสามารถนำเวลาไปใช้กับอย่างอื่นที่ช่วยทำให้ GDP เติบโตได้นั่นเอง
‘ญี่ปุ่น’ ประเทศที่หลอมรวมศาสนากับการดำเนินชีวิตในยุคใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
“รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นให้สิทธิชาวญี่ปุ่นมีอิสระทางความคิดและการแสดงออกในเชิงศาสนาได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการปิดกั้น”
- (นายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, 2013)
3
ก่อนอื่นต้องขอให้ทุกท่านทำใจให้โล่งๆ และระลึกไว้ก่อนว่าศาสนาพุทธในญี่ปุ่นนั้นเป็นนิกายมหายาน ซึ่งอาจจะมีแนวทางบางส่วน รวมถึงมุมมองต่อพระพุทธเจ้าที่ไม่ได้ตรงกับนิกายเถรวาทในไทย นั่นจึงทำให้พุทธศาสนาในญี่ปุ่น สามารถหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมร่วมสมัยได้มากกว่าในหลายประเทศ
โคโดะ นิชิมูระ (บน) พระชาวญี่ปุ่นและเมคอัพอาร์ตติส และ พระโยชิโนบุ ฟูจิโอะกะ (ล่าง) เจ้าของบาร์ Vowz ในกรุงโตเกียว
Kanho Yakushiji รองเจ้าอาวาสวัด Kaizen เมือง Imabari (บน) และ Yogetsu Akasaka นักบวชนิกายเซน (ล่าง)
ดร.สรัญญา ชูโชติแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชี้ให้เห็นว่า เนื่องจากกฎหมายปัจจุบัน รัฐไม่สามารถสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้ ทำให้แต่ละศาสนาต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับยุคใหม่ พระของญี่ปุ่นจึงถือเป็นอาชีพหนึ่งที่คอยประกอบพิธีกรรมและให้คำปรึกษาปัญหาชีวิตกับผู้คน พระส่วนใหญ่มักทำอาชีพเสริมอื่นด้วย และยังมีชีวิตเหมือนกับฆราวาสทั่วไป เช่น สามารถแต่งงานได้ อีกทั้งบางวัดก็มีการนำ
พระพุทธเจ้ามาทำเป็นขนมหรือของที่ระลึก เพื่อให้กลายเป็นจุดขายของวัดนั้นๆ และเรียกให้ผู้ที่สนใจอยากศึกษาศาสนาพุทธหันมาเข้าวัดได้เป็นอย่างดี
2
ศาสนาพุทธผ่านทางขนมหวานในประเทศญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี ประเด็นทางศาสนาเช่นนี้ยังคงเป็นประเด็นที่อ่อนไหวในไทย ดังจะเห็นได้จากกรณีไลฟ์ของ 2 พส ที่สังคมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่กล่าวหาว่าพระประพฤติตนไม่เหมาะสม ทั้งนี้เราคงไม่มีสิทธิตัดสินได้ว่าฝ่ายไหนถูก แต่หากพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและเข้าใจในธรรมชาติของศาสนาแล้ว
พระก็เป็นเพียงผู้ช่วยเผยแผ่คำสอน และสืบทอดแนวคิดหลักของศาสนา ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รูปแบบของการเผยแผ่ก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่แก่นแท้ของศาสนานั้นยังคงไว้ซึ่งความเรียบง่ายและสง่างามภายในอยู่เหมือนเดิมโดยไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลาหรือที่เรียกว่าเป็น ‘อกาลิโก’
1
สุดท้ายนี้ Bnomics จึงอยากจะปิดท้ายบทความด้วยคำสอนของท่านพุทธทาสที่ว่า
สิ่งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น อาตมาอยากจะแนะถึงประโยคสั้นๆ ที่ว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”
1
คำสอนของท่านพุทธทาส ภิกขุ
#Saint_Young_Man #พุทธศาสนา #พส
#Bnomics #Economics #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference
McCleary, Rachel, M., and Robert J. Barro. 2006. "Religion and Economy." Journal of Economic Perspectives, 20 (2): 49-72. DOI: 10.1257/jep.20.2.49
1
เดโชพล เหมนาไลย (2015). ปรากฏการณ์ทางศาสนาในวัฒนธรรมประชานิยม : ว่าด้วย “พุทธะ” ในมังงะ/อนิเมะเรื่อง “Saint Young Men”
https://thematter.co/entertainment/saint-young-men-and-religious-in-pop-culture/75960
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-01-02.htm
https://mgronline.com/japan/detail/9580000064819
5 บันทึก
12
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
5
12
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย