10 ก.ย. 2021 เวลา 12:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ
wealthy – สอดคล้องเกณฑ์ภาษี: หุ้นไทยอยู่ในจุดนี้ เอาไงดีกับ LTF ที่ครบกำหนด ?
สรุปจาก: FINNOMENA Live Special: "SET ทำ New High ขาย LTF เลยดีไหม?" (https://youtu.be/E-EtM-UoxP0)
ที่มาภาพประกอบ: "freepik" (Business vector created by starline - www.freepik.com)
มองว่าจากการที่ดัชนี SET ขึ้นมาถึงจุดนี้ กองทุน LTF ที่ถือมาจนครบกำหนดขายได้ควรจะขายออกไป เพื่อนำเงินในส่วนนั้นไปทำอย่างอื่น เนื่องจากการที่เงินอยู่ใน LTF จะรับความเสี่ยงจากหุ้นไทยเป็นหลัก ควรจะกระจายความเสี่ยงออกไปในหลายสินทรัพย์มากขึ้น
สำหรับกองทุน LTF ที่ครบกำหนดขายได้แล้วในปัจจุบันก็คือกองที่ซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนปี 2559 ซึ่งที่จริงสามารถขายได้แล้วตั้งปีก่อนหน้านี้เนื่องจากมีเงื่อนไขที่ต้องถือให้ครบเพียง 5 ปีปฏิทิน แต่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ขายออกไปเนื่องจากช่วงที่ครบกำหนดดัชนีหุ้นไทยไม่ค่อยดีนัก ทำให้กองที่ถืออาจจะขาดทุนอยู่ ส่วนกองที่ซื้อตั้งแต่ปี 2559 จะสามารถขายได้ตั้งแต่ปี 2565 (ปีหน้า) เป็นต้นไปเนื่องจากมีเงื่อนไขที่ต้องถือให้ครบ 7 ปีปฏิทิน ซึ่งไม่แนะนำให้ขายแบบผิดเงื่อนไขแม้ว่าจะมีกำไรอยู่และดัชนี SET จะขึ้นมาอยู่ในจุดที่เหมาะจะแล้วขายก็ตาม
หากกอง LTF ที่ถืออยู่ในเวลานี้ยังมีผลขาดทุนอยู่แม้ว่าหุ้นไทยจะขึ้นมาแล้วในปัจจุบัน ก็ให้ลองตรวจสอบดูว่ากองนั้นเป็นกองชนิดจ่ายปันผลหรือไม่ หากเป็นกองที่จ่ายปันผล ลองตรวจสอบว่าจำนวนเงินที่ได้จากปันผลตลอดช่วงระยะเวลาที่ถือกองนั้นสามารถหักล้างกับผลขาดทุนที่มีในปัจจุบันได้หรือไม่ หากทำได้ก็ควรจะขายกองนั้นออกไปเช่นกัน เนื่องจากมองว่าในปัจจุบันมีสินทรัพย์ที่เป็นทางเลือกในการลงทุนหลากหลายทั้งในไทยและในต่างประเทศ ซึ่งเราอาจจะนำเงินที่ได้จากการขาย LTF มาซื้อกองทุนประหยัดภาษีที่มีในปัจจุบันซึ่งมีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลายมากกว่าหุ้นไทย เป็นต้น
แนวโน้มกองทุน LTF มีโอกาสที่ขนาดของสินทรัพย์ในกองจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีเงินลงทุนใหม่เข้าไปซื้อเพิ่มแล้ว แต่ในทางกลับกันจะมีทั้งคนที่ครบกำหนดสามารถขายได้ทะยอยขายเพื่อนำเงินไปหมุนเวียนซื้อกองลดหย่อนภาษีรูปแบบอื่น ทั้งคนที่ขายแล้วนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่กองทุนลดหย่อนภาษี หรือแม้แต่คนที่ถือกอง LTF โดยไม่ได้ขายกองที่ครบกำหนดเลยก่อนหน้านี้ แต่เริ่มจะจำเป็นต้องขายเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายเพื่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณจากการทำงาน ดังนั้นหากตัดสินใจว่าจะถือต่อก็จำเป็นต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่ากองที่เราถือมีผลการดำเนินงานที่เรามั่นใจได้มากพอ
สำหรับการวางแผนเงินที่ได้จากการขาย LTF อันดับแรกเราอาจจะเริ่มจากนำมาใช้วางแผนภาษีของปีนี้ก่อน เนื่องจากเหตุผลที่เดิมเราเคยซื้อ LTF ก็เพราะว่ามีรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ดังนั้นหลังจากคำนวณภาษีที่คาดว่าเราจะต้องจ่ายในปีนี้ และตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่สามารถทำได้แล้ว เงินที่ได้จากการขาย LTF เราอาจจะนำไปซื้อกองทุน SSF, RMF หรือซื้อประกันชีวิตเพิ่ม ฯลฯ ตามแต่สิทธิ์ลดหย่อนที่แต่ละคนมีอยู่ หากใช้ไปกับการวางแผนภาษีจนครบแล้วแต่ยังมีเงินที่เหลืออยู่ ก็ลองตรวจสอบดูว่าในปัจจุบันมีความจำเป็นในการใช้เงินกับเรื่องอะไรในช่วงนี้บ้าง โดยอาจจะแบ่งเงินนี้ไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น หรือนำไปลงทุนเพิ่มในพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณ เป็นต้น
สนใจลงทุน #กองทุนรวม ผ่าน #FINNOMENA เลือกกองได้ 22 บลจ.โดยมีผม ทศพล สุวรรณสุต ใบอนุญาตจากกลต.เลขที่ 115000 ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ (ไม่มีค่าบริการเพิ่ม) เพียงยืนยันตัวตนด้วย NDID ทำแบบประเมิน KYC ออนไลน์ อนุมัติใน 1 สัปดาห์ (กรุณากรอก Referral code: 115000) https://link.finnomena.com/ifa?refcode=115000
ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย: https://linktr.ee/2fi_finance_fitness
"2Fi-รายวัน" ประจำวันที่ 2021.09.10 ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ขอให้ทุกท่านมีการเงินดี มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ดี แล้วพบกันใหม่ครับ 😊
#การเงินส่วนบุคคล #ลงทุน #เศรษฐกิจ #กองทุนรวม #FINNOMENA #ฟินโนมีนา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา