เช่น NBA NFT ที่ถูกสร้างโดยการอ้างอิงคลิปวีดีโอไฮไลท์จากการแข่งขันบาสเกตบอล NBA ซึ่งเงื่อนไขที่ผู้สร้าง NBA NFT ได้ระบุไว้ในสัญญา คือ ผู้ซื้อจะไม่ได้สิทธิในการตัดต่อ เปลี่ยนแปลง หรือทำซ้ำในคลิปวีดีโอ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจาก NBA ก่อน โดยหากมีการละเมิดสิทธิดังเช่นว่า แพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการซื้อขาย สามารถลบหรือหยุดการให้บริการต่อบัญชีของผู้ซื้อทันที
ดังนั้น ผู้ซื้อ NFT ในกรณีนี้ จึงได้เพียงแค่สิทธิในการเก็บคลิปวีดีโอไฮไลท์ดังกล่าวไว้ในบัญชีของตนเท่านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ทั้งหมดยังคงเป็นของ NBA แต่เพียงผู้เดียว (Exclusive right)
ในทางกลับกัน กรณีของ Sir Tim Berner-Lee นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้สร้าง World Wide Web ในปี 1999 เจ้าของลิขสิทธิ์ Source Code ต้นฉบับ ได้นำงานดังกล่าวออกมาประมูลในแบบ NFT และไม่ได้กำหนดข้อจำกัดในเรื่องการใช้สิทธิเข้มงวดอย่างกรณีของ NBA ซึ่งผู้ที่ประมูลได้สามารถทำซ้ำงานของเขาในรูปแบบดิจิทัลได้ ซึ่งถือเป็นการให้ลิขสิทธิ์รูปแบบหนึ่งต่อผู้ที่เป็นเจ้าของ NFT ดังกล่าว