13 ก.ย. 2021 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
Nick Molnar มหาเศรษฐี อายุน้อยสุด ในออสเตรเลีย
“ผมไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงยังทำงานอยู่ที่นี่ คุณควรออกไปทำธุรกิจของตัวเองเต็มเวลาได้แล้ว”
ประโยคดังกล่าวถูกพูดโดยคุณ Mark Carnegie ผู้เป็นหัวหน้างานของหนุ่มชาวออสเตรเลีย
ชื่อว่าคุณ Nick Molnar ในปี 2012 หรือราว 9 ปีก่อน
1
ไม่น่าเชื่อว่าประโยคนี้เอง จะทำให้ในเวลาต่อมา คุณ Molnar ได้ตัดสินใจลาออก
จากงานประจำเพื่อนำเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง
จนปัจจุบัน เขาได้กลายเป็นเจ้าของบริษัท ที่มีมูลค่าระดับ 9.4 แสนล้านบาท
และกลายมาเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย
6
Nick Molnar คือใคร
แล้วเขาก่อตั้งธุรกิจอะไรขึ้นมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
Nick Molnar เป็นชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันมีอายุ 31 ปี
2
เขาถูกยกให้เป็น “Youngest Self-made Billionaire” หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาท ที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศและสร้างธุรกิจขึ้นด้วยตัวเอง
4
Molnar เริ่มเส้นทางการเป็นนักธุรกิจตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา
ในสมัยที่เขาศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์
ระหว่างเรียน เขาก็ได้เริ่มทำงานเพื่อหารายได้เสริมไปด้วย
1
โดยรายได้เสริมที่ว่านั้น เขาได้ไอเดียมาจากธุรกิจร้านขายอัญมณีและเครื่องประดับของครอบครัว ที่เปิดขายอยู่ที่สถานีรถไฟวินยาร์ด เมืองซิดนีย์
1
Molnar ได้มองว่าธุรกิจครอบครัวมีเพียงหน้าร้านเท่านั้น โดยเขาสามารถนำสินค้าเหล่านี้
ไปขายบนโลกออนไลน์ได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นการสร้างรายได้จากช่องทางใหม่เพิ่มเติม
สำหรับช่องทางการขายออนไลน์ที่ว่านั้น ก็คือ “eBay”
2
ผ่านไปเพียงไม่นาน ก็ไม่น่าเชื่อว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของเขาได้กระแสตอบรับดีและขายดีเกินคาดในระดับที่มีออร์เดอร์เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าพันชิ้นต่อวัน
3
ถึงขนาดที่ว่าคุณ Molnar ได้กลายเป็นพ่อค้าขายอัญมณี
ที่ขายดีที่สุดบน eBay ประเทศออสเตรเลียในขณะนั้น
ซึ่งจุดนี้เองก็ได้ทำให้เขาเริ่มคิดต่อว่าจะขยายกิจการ
และไม่ต้องการพึ่งพาตัวกลางในการขายอย่าง eBay อีกต่อไป
9
เขาเลยได้ตัดสินใจก่อตั้งเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น
- Iceonline.com.au เว็บไซต์ขายเครื่องประดับและนาฬิกาในประเทศออสเตรเลีย
- Ice.com เว็บไซต์ขายอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศสหรัฐอเมริกา
1
Cr.iceonline
ซึ่งธุรกิจที่กล่าวขึ้นมาทั้งหมดเกิดขึ้น คาบเกี่ยวกับช่วงที่เขาจบปริญญาตรีและกำลังเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์อยู่ที่ M.H. Carnegie & Co. ซึ่งเป็นบริษัทที่จะคอยวิเคราะห์ธุรกิจและนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน
ที่นั่น Molnar ได้พบเข้ากับ Mark Carnegie หัวหน้าของเขา ซึ่งพอ Carnegie ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการหารายได้เสริมหลังเวลาเลิกงานของนักศึกษาจบใหม่คนนี้ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง
Carnegie จึงได้ให้คำแนะนำให้เขาออกไปทำธุรกิจส่วนตัวให้เต็มที่
รวมทั้งยังได้ยื่นข้อเสนอพ่วงไปด้วยว่าผมให้เวลาคุณ 12 เดือน
หากคุณล้มเหลว คุณสามารถกลับมาทำงานกับผมได้ทุกเมื่อ
10
หลังจากนั้น Molnar จึงได้ทำตามคำแนะนำและตัดสินใจลาออก
เพื่อหันมาโฟกัสกับธุรกิจส่วนตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
1
2 ปีต่อมา หลังจากที่เว็บไซต์ขายเครื่องประดับของเขาอยู่ตัวและคงที่แล้ว
เขาก็ได้ไอเดียธุรกิจอีกครั้ง จากการสังเกตเห็นพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของลูกค้า
โดยเฉพาะกลุ่มนักช็อปเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ซึ่งก็ได้นำไปสู่การก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Afterpay” ในปี 2014
1
สำหรับธุรกิจนี้ คุณ Molnar มีผู้ร่วมก่อตั้งต่างวัย คือคุณ Anthony Eisen ปัจจุบันมีอายุ 50 ปี
โดยคุณ Eisen เป็นทั้งเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน รวมถึงยังเป็นผู้มากประสบการณ์ในสายอาชีพการเงิน
แล้ว Afterpay ทำธุรกิจอะไร ?
Afterpay เรียกได้ว่าเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจ “BNPL”
ย่อมาจาก Buy Now, Pay Later หรือซื้อตอนนี้จ่ายทีหลัง
4
อธิบายง่าย ๆ ก็คือเป็นบริการทางการเงินที่จะเข้ามาทำให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าทันทีวันนี้
โดยที่ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดทีหลัง แถมไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากจ่ายตรงเวลา
4
จุดนี้เอง ที่ได้เข้าไปตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ที่ยังไม่มีบัตรเครดิตและคนรุ่นใหม่
ให้สามารถช็อปปิงออนไลน์ได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว แถมยังไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน
3
ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยว่าไม่มีค่าธรรมเนียมผู้ซื้อแล้ว
รายได้ของ Afterpay จะมาจากใคร ?
2
คำตอบก็คือ รายได้ของ Afterpay จะมาจากร้านค้าเป็นหลัก
2
ตัวอย่างร้านค้าที่เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท ก็เช่น Gap, JD Sports, Pandora, Ray-Ban, Levi’s และอีกหลายแบรนด์
ซึ่งหลายคนก็น่าจะถามต่อว่า
แล้วทำไมร้านค้าต้องยอมออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ?
ด้วยโมเดลของ BNPL เป็นเหมือนการกระตุ้นยอดขายไปในตัว เพราะทำให้ผู้ซื้อสามารถได้รับสินค้าทันทีในระดับที่ว่าเสื้อผ้าราคาหลักร้อย เรายังสามารถแบ่งจ่ายได้ 4 งวด นั่นจึงทำให้ร้านค้าขายของง่ายขึ้น
4
ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ไอเดียของ Molnar สำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะเขาสามารถนำบริษัท
จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2016 หรือเพียง 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง
1
Cr.afterpay
ทีนี้เรามาดูกันว่า Afterpay เติบโตมากขนาดไหน ?
หากเรามาดูผลประกอบการปี 2021 โดยรอบบัญชีของบริษัท
เริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2020 ถึง 30 มิถุนายน 2021
บริษัท Afterpay
1
ปี 2018 รายได้ 4,642 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 8,612 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 16,922 ล้านบาท
ปี 2021 รายได้ 30,127 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยมากถึง 87% ต่อปี
9
โดยรายได้ทั้งหมดของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียมจากร้านค้า 89%
ที่เหลือก็จะเป็นรายได้ เช่น ค่าปรับที่ลูกค้าจ่ายไม่ตรงงวด
หรือเรียกว่า Late Fee รวมกับรายได้อื่น ๆ อีก รวมกันเป็น 11%
1
Afterpay ได้รายงานอีกว่าในปีที่ผ่านมา
ร้านค้าที่ลูกค้าใช้บริการชำระเงินผ่านระบบของ Afterpay มีมูลค่าอยู่ที่ 730,000 ล้านบาท
2
โดยยอดดังกล่าว ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทราว 26,800 ล้านบาท
หมายความว่า Afterpay เก็บค่าธรรมเนียมต่อร้านค้าเฉลี่ยแล้วราว 3.7%
4
ปัจจุบัน Afterpay มี Active Customers หรือผู้ใช้งานที่ซื้อสินค้า
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราว 16.2 ล้านบัญชี มีร้านค้าบนระบบกว่า 98,200 ร้านค้า
1
ก็เรียกได้ว่านับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดและเรื่องราวที่เล่ามานั้น ก็ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น
1
ซึ่งล่าสุด Afterpay ก็เพิ่งได้รับข้อเสนอการเข้าซื้อกิจการจากบริษัท Square ธุรกิจฟินเทค ที่มีเจ้าของคนเดียวกันกับ Twitter หรือก็คือ Jack Dorsey เป็นเงินมูลค่ามากถึง 9.4 แสนล้านบาท
3
จึงทำให้เจ้าของอย่าง Nick Molnar ที่ปัจจุบันมีอายุเพียง 31 ปี จะมีทรัพย์สินมูลค่า
ราว 65,000 ล้านบาท และได้กลายมาเป็นเศรษฐี ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย..
2
โฆษณา