12 ก.ย. 2021 เวลา 06:26 • หนังสือ
โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองใน 30 ชั่วโมงโดยยอดธง ทับทิวไม้
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ตำราสอนให้พยากรณ์ได้ กล่าวคืออ่านจบจะไม่สามารถพยากรณ์ดวงชะตาได้เลย เนื่องจากเนื้อหายังคงขาดรายละเอียดในขั้นตอนสำคัญของการพยากรณ์ อาทิ การผูกดวง การวางลัคนา ความหมายของเรือนชะตาต่างๆ มุมสัมพันธ์ที่ใช้และวิธีการใช้เพื่อโยงความสัมพันธ์กับปัจจัยฟากฟ้า ขั้นตอนการอ่านดวง และไม่มีดวงตัวอย่างแม้แต่ดวงเดียว สาระสำคัญส่วนมากของหนังสือตลอดทั้งเล่มเป็นเพียงแต่ยกหลักวิชาโหราศาสตร์ภารตะที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์เทพย์สาริกบุตร มาไว้ ผสมผสานกับความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์โหราศาสตร์ไทยเป็นระยะ ตามลักษณะพื้นฐานที่ผู้เขียนมีอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์และคอลัมน์นิสต์
1
1.       ใน 160 หน้าแรก ราว 20% ของเนื้อหา เป็นการเขียนเชิงวิพากษ์วิชาการด้านโหราศาสตร์ โดยยกเอาประวัติศาสตร์โหราศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ในตำราเล่มต่างๆมาอธิบาย ประกอบกับประสบการณ์ส่วนตนที่ศึกษาโหราศาสตร์ไทยมาแบบไม่มีครูทำให้ประสบการณ์ 40 ปีที่ศึกษาโหราศาสตร์ไทยมามาเต็มไปด้วยองค์ความรู้ที่เป็นข้อขัดแย้ง ไม่มีเหตุผลทางดาราศาสตร์รองรับ และไม่มีข้อสรุปเป็นกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัวสามารถนำไปใช้การได้
3
2.       ใน 130 หน้าถัดไป (หน้าที่ ๑๖๑ ถึง ๒๘๘) เนื้อหาสรุปจากตำราโหราศาตร์ภารตะผสมผสานโหราศาสตร์สากล (1) ราศี ได้แก่ ธาตุ เพศ อวัยวะ ความหมายทั่วไป รส รูปร่าง ส่วนสูง แร่ (2)ปัจจัยฟากฟ้าที่ใช้ทั้ง 12  ได้แก่ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ราหู เกตุ มฤตยู เนปจูน พลูโต อธิบายระยะเวลาโคจรรและความหมาย (3)ตำแหน่งมาตรฐาน ได้แก่ เกษตร-ประเกษตร อุจ องศาบังคับ และมรณะองศา เพราะดาวในโหราศาสตร์ภารตะไม่ได้มีตำแหน่งมาตรฐานตลอดทั้งราศี (4) กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 และนวางค์บาทฤกษ์ ทั้งปูรณ-ฉินท-ภินท (5)การแบ่งแต่ละราศีเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลัคนา/1  โหรา/2  ตรียางค์/3 จตุสดัย /4 สัปตม/7 นวางค์ /9  ทสมศาศ/10 ทวาทศาศ/12  จตุวิมศาศ/14 โสทศาศ/16 วิมศาศ/20 สิททังสะ/24 ภังสะ/27 ตฤมศาศ/30 อัคขเวททังสะ/45 และฉัฏฐิอังสะ/60  (6) ความหมายลัคนาตาม ราศี ตรียางค์ และนวางค์
3.       ใน 100 หน้าถัดไป (หน้าที่ ๒๘๙ ถึง ๓๙๑) เป็นต้นไปเริ่มต้นกฎเกณฑ์โหราศาสตร์ที่ใช้ ตั้งแต่ (1) ผูกดวงชะตาที่ให้ใช้ปฏิทินระบบลาหิรีของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร และวางลัคนาตามแบบพระยาบริษักษ์เวชการ ไม่ใช่แผ่นหมุนลัคนาสำเร็จรูป แต่ไม่บอกวิธีการว่าจะจัดหาอย่างไร และใช้อย่างไร (2) ทำความเข้าใจราศีทั้ง 12 ตั้งแต่ความหมาย ลัคนาและจันทร์เกาะฤกษ์ต่างทั้ง 27 กลุ่มดาวฤกษ์ และกลุ่มดาวฤกษ์สำคัญทางดาราศาสตร์ 17 กลุ่ม (3) ความหมายของ 12 ภพโดยสังเขป มีเนื้อหาเพียง 6 หน้า โดยผู้เขียนแนะนำให้ไปอ่านคำอธิบายโดยละเอียดในหนังสืออีกเล่มที่ชื่อว่า โหราศาสตร์ไทย: วิทยาการแห่งความอัปยศ (4) ความหมายดวงดาวทั้ง 12 ราว 30 หน้าตั้งแต่หน้าที่ ๓๖๒  ถึง ๓๙๑
3
4.       ใน 320 หน้าถัดไปหรือเกือบครึ่งเล่มหนังสือนี้ (หน้าที่ ๓๙๒ ถึง๗๑๔) จะกล่าวถึงอาทิตย์จันทร์และพระเคราะห์ในภพต่างๆทั้ง 12 ภพ ซึ่งนำมาจากคำอธิบายตามตำราพฤคุสูตรเป็นหลัก มีการอ้างอิงความหมายตามคัมภีร์อื่นๆประกอบอยู่บ้างอาทิ จากพฤหัสบดีชาดก ผลทีปิกา ศราวลี ชามัตตะกะจินดามณี ซึ่งล้วนแต่เป็นตำราโหราศาสตร์ภารตะ
1
5.       บทสรุปอีกเกือบ 20 หน้าในตอนท้าย (หน้าที่ ๗๑๕ เป็นต้นไป) ผู้เขียนได้สรุปไว้ว่าความจริงวิชาโหราศาสตร์ไทยนั้นเป็นวิชาที่เชื่อถือได้พันเปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ความผิดพลาดในวิชาโหราศาสตร์ไทยคือการขาดกฏเกณฑ์ที่แน่นอนหรือกฏเกณฑ์ที่สามารถเชื่อถือได้จริงๆ พ่วงท้ายด้วยคำแนะนำสำคัญ 8 ประการในการเรียนรู้โหราศาสตร์ไทยคือการทำความเข้าใจราศีธาตุทั้ง 12, ดวงดาวกับผลทดลองต่อชีวิตจริง, ตระหนักว่าดาวแต่ละดวงให้ทั้งคุณและโทษขึ้นกับตำแหน่งในภาพต่างๆ, พิจารณใช้วิมโสตรีทศา หรือจันทร์เสวยในฤกษ์ต่างๆตามแต่ละช่วงอายุ ในการดูช่วงเวลาดีและไม่ดี, เข้าใจกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27, เข้าใจเรื่องตรียางค์พิษ, เข้าใจนวางค์ และสุดท้ายคือนำเรื่องเสวยอายุมาบอกระยะเวลามีโชคดีโชคร้าย จะใช้วิมโสตรีทศา หรือตรีวัยก็ได้แล้วแต่การค้นคว้าทดลอง
ความเห็นโหราทาส: เนื้อหาที่ผู้เขีนยกมาและตลอดทั้งเล่ม เป็นเนื้อหาด้านโหราศาสตร์ภารตะ ผสมผสานโหราศาสตร์ไทยเชิงวิพากษ์ ซึ่งผู้เขียนได้สอดแทรกประสบการณ์และความเห็นส่วนตนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ไว้ตลอด ช่วยกระตุ้นต่อมคิดให้คนอ่านคิดตาม ช่วยขยายความเนื้อหาที่อาจคลุมเครือ ช่วงเพิ่มเติมองค์ความรู้ดาราศาสตร์เข้าไป แต่อาจทำให้ผู้เรียนโหราศาสตร์ไทยมาเฉพาะเบื้องต้นเกิดความสับสนได้ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ต้องการศึกษาโหราศาสตร์ไทยอย่างเป็นระบบ แต่อาจเหมาะสำหรับผู้ศึกษาโหราศาสตร์ภารตะที่พอมีความรู้ด้านการพยากรณ์มาแล้ว เหมือนเป็นบันทึกช่วยจำความหมายต่างๆ ที่มีในตำราโหราศาสตร์ภารตะ หรือต้องการเปรียบเทียบเนื้อหาที่นำมาประยุกต์ใช้กับโหราศาสตร์ไทย สำหรับผู้มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ระบบใดมาพอสมควร ก็ช่วยขยายมุมมองด้านโหราศาสตร์ได้บ้าง
1
โหราทาส ๑๒ กันยายน ๒๕๖๔

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา