#ปุ๋ยแก้จน #ผสมปุ๋ยใช้เอง
#ปุ๋ย
ปุ๋ย (ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518) หมายถึง #สารอินทรีย์ #อินทรียสังเคราะห์ อนินทรีย์ หรือ #จุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ หรือชีวภาพในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
ปุ๋ย มีหลายชนิดที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ประกอบด้วย ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ
1) ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรียสังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี แต่ไม่รวมถึง ปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ ยิปซัม โดโลไมต์ (พรบ. ปุ๋ย พ.ศ. 2518)
จะเห็นว่า ปุ๋ยเคมีเกิดจาการนำแร่ธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสารอินทรีย์ มาสังเคราะห์ให้มีความเข้มข้นสูงขึ้น มีปริมาณหรือความเข้มข้นที่แน่นอน ใช้สะดวก ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษ และไม่ทำลายดิน เพราะปุ๋ยเคมีเก่งในเรื่องของการเพิ่มธาตุอาหาร หรือความสมบูรณ์ของดิน แต่ไม่เก่งในเรื่องของการทำให้ดินร่วนซุย ถ้าต้องการให้ดินร่วนซุย ต้องใส่อินทรียวัตถุ หรือไถกลบฟาง ไม่ใช่ว่าเผาฟางมาตลอด พอดินแข็ง แล้วโทษปุ๋ยเคมี (ถ้าจะกล่าวโทษว่าปุ๋ยเคมี เป็นสารเคมี น้ำก็เป็นสารเคมี คือ ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 โมเลกุล จับตัวกับออกซิเจน 1 โมเลกุล)
ในแง่ของการตลาด ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกอาหารที่ผลิตด้วย #ปุ๋ยเคมี หรือ #ปุ๋ยอินทรีย์ แต่จริงๆ แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ สำหรับพืชไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี เมื่อปุ๋ยละลายหรือย่อยแล้วจะแตกตัวเป็นประจุชนิดเดียวกัน เช่น ไนโตรเจน ไม่ว่าจะมาจากปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือ ปุ๋ยหมัก เมื่อแตกตัวเป็นประจุจะได้ ไนเตรต ซึ่งมีประจุลบ หรือ แอมโมเนียม ซึ่งมีประจุบวก พืชจึงจะดูดกินเข้าไปได้
#สารปรับปรุงดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน หรือช่วยให้ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเป็นประโยชน์มากขึ้น แต่สารปรับปรุงดินไม่ใช่ปุ๋ย คือ ไม่มีธาตุอาหารพืชอยู่ หรือมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ประเด็นที่อยากจะเน้นย้ำ คือ ถ้ามีเงินจำกัด ใส่ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์มากกว่าใส่สารปรับปรุงดิน เปรียบเหมือนกับคนที่หิวข้าวและมีเงินจำกัด ควรจะเลือกกินอะไรดี ระหว่างผัดกระเพรา ไข่ดาว หรือกระทิงแดง
สอบถามเพิ่มเติม โทร 082-030-4608 ( โชค บานเย็น )