13 ก.ย. 2021 เวลา 02:36 • ความคิดเห็น
มีของดี …แต่ไม่มีกึ๋น
1
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคนไทยทั้งประเทศหัวใจพอโตเมื่อ ‘LALISA’ ศิลปินเดี่ยว ที่มียอดวิวสูงสุดใน 24 ชม.หลังจากที่เปิดตัวเอ็มวีโซโลครั้งแรกมียอดผู้ชมบน YouTube ทะลุ 110 ล้าน (ณ 21:00 วันที่ 12 กันยายน 2564) “ลิซ่า “ได้ทำลายสถิติ ศิลปินเดี่ยวที่มียอดผู้ชมสูงสุดใน 24 ชม. แรกสำหรับอัลบั้ม LALISA ที่มีเป้าหมายบุกตลาดอเมริกา หลังจาก BLACKPINK ตีตลาดจีน และอาเซียนไปได้แล้ว
8
ปรากฏการณ์ “ลิซ่า” ได้ประจาน “กึ๋น” ของรัฐบาลไทยและข้าราชการไทยกับเกาหลีนั้นต่างกันราวฟ้ากับเหว แม้ “ลิซ่า” จะเป็นเด็กไทย แต่งานนี้คนที่รับเนื้อ ๆ เน้น ๆ คือ ค่ายเพลงจากเกาหลีที่นำ “ลิซ่า ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากไทย” มาเจียรนัยเป็นผลิตภัณฑ์ “เมดอินเกาหลี” ส่งออกไปขายโกยเงินจากทั่วโลก
4
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกาหลีประสบความสำเร็จอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่าน “สินค้าทางวัฒนธรรม” ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ สื่อบันเทิงต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเกม, อาหาร, ท่องเที่ยว, รวมถึงสินค้าเครื่องสำอาง
“เกาหลีฟีเวอร์” นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน หากแต่เป็นความพยายามที่ผ่านกระบวนการคิดจากรัฐบาลมาตั้งแต่แรกเริ่ม และได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรม นักลงทุน และคนในประเทศ เนื่องจากในปี ค.ศ.1997 เกาหลีต้องเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก เพราะโดน “พิษต้มยำกุ้ง” จากบ้านเรา รัฐบาลเกาหลีจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าวัฒนธรรมเพื่อส่งออก
2
เริ่มต้นจากจัดตั้งหน่วยงาน Korea Culture and Content Agency (KOCCA) เพื่อสนับสนุนทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเกาหลี เน้น “เนื้อหาความเป็นเกาหลี” ออกสู่เวทีสากล โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
1
เริ่มจากรัฐบาลเกาหลีได้ยกเลิกกฎหมายเซ็นเซอร์ เพื่อให้คนทำหนังและรายการทีวี มีอิสระในการสร้างสรรค์งานด้านวงการดนตรี มีการสนับสนุนเงินให้ค่ายเพลง รวมปีละ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาศิลปินของตัวเอง พร้อมกับลดภาษีนำเข้าต่าง ๆ และตั้งกำแพงภาษีเพื่อกีดกันสินค้าวัฒนธรรมจากต่างประเทศไม่ให้เข้ามาบุกตลาดในประเทศง่าย ๆ
4
จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นหนังและรายการทีวีเกาหลีเริ่มส่งออกไปตีตลาดเอเชียอย่างจริงจังในปี ค.ศ.2003 ซีรีส์ แดจังกึม ก็สร้างความนิยมอย่างถล่มทะลาย หรือ K-Pop ที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกจากเพลง Gangnam Style ของ Psy นั้นถือเป็นตัวอย่างของการเติบโตของกระแส K-Pop ในระดับโลกได้เป็นอย่างดี
1
ในแง่มูลค่านั้นในปี ค.ศ.2016 เกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก ในการจัดอันดับของอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของโลก และในปี ค.ศ.2019 อุตสาหกรรมวัฒนธรรมสามารถสร้างรายได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 64 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
2
สำหรับกระแส LALISA ในบ้านเราเปรี้ยงปร้างไม่แพ้ที่ใดในโลกยิ่ง โปรดิวเซอร์เอาความเป็นไทยใส่เข้าไปใน MV ถือว่าใจกว้างและเป็นสัญญานที่ดีที่นำเสนอ “เสน่ห์ไทย” ให้ปรากฎสู่สายตาชาวโลก
6
หลังจาก MV ได้ปล่อยออกไป ทำให้มีการพูดถึงปราสาทหินพนมรุ้งเป็นอย่างมาก โดยหลังจากนี้คาดว่าจะมีคนเดินทางมาเที่ยวพนมรุ้งตามรอยลิซ่ากันเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน และปรากฎการณ์ LALISA ก็น่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายกำลังซื้อ เสื้อผ้า งานศิลปะ สินค้าวัฒนธรรมไทยได้ไม่น้อย
3
เห็นเขานำเอาวัตถุดิบของเราไปเจียรนัยสร้างรายได้เข้ากระเป๋าแล้ว ก็นึกเสียดายบ้านเรามี “วัตถุดิบวัฒนธรรม” มากมายไม่แพ้เกาหลีแต่อย่างใด จะเห็นได้จากเฟซบุ๊กเพจ Asian SEA Story โพสต์คอนเทนต์การจัดอันดับประเทศที่มีมรดกวัฒนธรรมที่ดีที่สุดประจำปี 2021 โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับ 1 ของอาเซียน ด้านเว็บไซต์ U.S. News ได้จัดอันดับประเทศที่มีมรดกวัฒนธรรมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2021 จากทั้งหมด 78 ประเทศประเทศไทยก็ได้อันดับ 7 ของโลก
6
สะท้อนว่าบ้านเรามีมรดกวัฒนธรรมมากมายสามารถเจียรนัยให้เป็นสินค้าวัฒนธรรมส่งออกได้ กระทั่งดนตรีพื้นเมืองที่มีทำนองเพลงสนุกสนานอย่าง “เต่างอย” ที่มีจังหวะครึกครื้นสไตล์ดนตรีอีสานก็ถูกนำไปเปิดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่ประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว
3
มวยไทยก็เป็นวัฒนธรรมที่คนทั่วโลกสนใจจนมีคนนำไปดัดแปลงกลายเป็นศิลปะของต่างชาติทุกวันนี้ มวยไทยไม่ใช่เกมกีฬาต่อสู้เท่านั้นแต่เป็น “สินค้าวัฒนธรรม” สามารถแปรเป็นสินค้ามูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเต็มตัว สามารถแตกไลน์ไปยังธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีกมากมาย เช่น ของที่ระลึก กางเกงมวย ที่รัดแขนนักมวย นวม เป้าซ้อมมวย ฯลฯ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติเบ็ดเสร็จ ทั้งมวยไทยและสินค้าเกี่ยวเนื่องมีมูลค่านับแสนล้านบาทเลยทีเดียว
1
อาหารไทยก็เป็นสินค้าวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมทั่วโลกไม่แพ้อาหารอิตาลีและอาหารญี่ปุ่น หลาย ๆ เมนูไม่ว่าจะเป็นผัดไทย, ส้มตำ, ต้มข่าไก่, พะแนงหรือลาบหมูล้วนแต่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ นวดแผนไทยก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าวัฒนธรรมที่ขายได้ในตลาดโลก ถ้ามีการพัฒนาและยกระดับให้เป็นสินค้าวัฒนธรรมเพื่อสุขภาพอย่างจริงจัง
แม้เราจะมีของดีเต็มบ้านเต็มเมือง แต่อุปสรรคหนึ่งในการผลักดันเรื่องนี้คือ “กรอบคิด” ของระบบราชการและนักการเมือง ที่เข้ามาดูแลในเรื่องวัฒนธรรม ที่ยังตีความวัฒนธรรมแบบแคบ ๆ ไม่เปิดใจกว้าง และไม่สนับสนุนคนที่คิดนอกกรอบ ยังมองวัฒนธรรมแค่คุณความดีและขนบประเพณีเก่า ๆ เท่านั้น
5
น่าเสียดายที่บ้านเรา “มีของดี ๆ” มากมายแต่คนรับผิดชอบ “ไม่มีกึ๋น” ที่พร้อมจะเจียรนัยสร้างมูลค่าเพิ่ม
6
ติดตามสตอรี่ดี ๆ จาก The Story Thailand ได้ตามช่องทางเหล่านี้
#TheStoryThailand #เดอะสตอรี่ไทยแลนด์ #สตอรี่ดีๆ
โฆษณา