Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หนังสือที่อ่านจบวันนี้
•
ติดตาม
13 ก.ย. 2021 เวลา 13:33 • หนังสือ
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจนถึงบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น
บันทึกการอ่าน :13 กย 2564
ประวัติศาสตร์โลกฉบับประชาชน:
จากยุคหินถึงสหัสวรรษใหม่
เขียนโดย คริส ฮาร์มัน
แปลโดย อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ (2557)
เมื่อมนุษย์มีเวลาว่างมากขึ้น เมื่อมนุษย์แบ่งงานกันทำ เกิดมีผู้กำกับดูแล/ผู้ลงมือทำ ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเกิดจากเงื่อนไขทางธรรมชาติส่วนหนึ่งกล่าวคือ ภัยพิบัติ/โรคระบาด ทำให้เกิดการปรับตัว ที่จะต่อสู้ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี บังเอิญมีอภิสิทธิ์ชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มน้อยที่มีชีวิตอยู่บนหยาดเหงื่อ แรงงานของคนอื่น และมีการจัดตั้งกองกำลังทหาร/ตำรวจซึ่งเป็นกลไกของรัฐ เกิดการแบ่งแยกความแตกต่างทางชนชั้น
ผลผลิตส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นจากระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น แท้จริงแล้วกระจุกตัวอยู่ที่ชนชั้นขนาดค่อนข้างเล็กกลุ่มนึงเท่านั้น แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ได้นำไปสู่พฤติกรรมดังกล่าวโดยอัตโนมัติ
“ทุนนิยม ไม่ได้เป็น กฎของธรรมชาติ”
เกิดเป็นความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างคนในกลุ่มขึ้น และการพัฒนาสังคมได้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแรงจูงใจที่จะเอารัดเอาเปรียบ/กดขี่คนอื่นๆเป็นครั้งแรก สิ่งที่เคยเป็นความมั่งคั่งของมนุษย์จากการเป็นฝ่ายให้เพื่อเกียรติยศและความนับหน้าถือตา ก็กลับกลายมาเป็นความมั่งคั่งที่ตนเองได้กิน/บริโภค ในขณะที่คนอื่นๆเดือดร้อน และบทบาทหัวหน้าที่จะมอบผลผลิตของตนเพื่อประโยชน์ของคนอื่นๆ สุดท้ายกลายเป็น คนอื่นๆกลับต้องส่งมอบผลผลิตของตนเพื่อประโยชน์ของหัวหน้า
“ประวัติศาสตร์สังคม = ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้น”
มนุษย์เริ่มควบคุมธรรมชาติได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็แลกมาด้วยการที่คนส่วนใหญ่ต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมและเอารัดเอาเปรียบของอภิสิทธิ์ชน ซึ่งเป็นแค่คนกลุ่มน้อยกลุ่มนึงเท่านั้นในสังคม ที่บังเอิญค้นพบวิธีการบังคับสังคมให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองด้วยการสถาปนาโครงสร้างการใช้อำนาจบังคับ นั่นคือ “รัฐ”
ที่การควบคุมผลผลิตส่วนเกินเอื้อให้พวกเขามีวิธีการต่างๆ และเพื่อให้ทำเช่นนั้นได้ เขาจึงจำเป็นต้องจ้างกองกำลังติดอาวุธดังเช่น ทหารและตำรวจ ซึ่งเป็นการลงทุนในทางเทคนิคที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่มันจำเป็นเพื่อที่ว่าเขาจะได้มีสิทธิ์ผูกขาดการครอบครองวิธีการฆ่าคนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และมันจะมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อ มีกฎหมายและอุดมการณ์ หนุนหลัง/สร้างความชอบธรรมให้แก่อำนาจของชนชั้นผู้ปกครอง
“การแบ่งชนชั้นของมนุษย์นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ”
ความสัมพันธ์ทางการผลิต เกิดจากการยอมรับโดยคนหมู่มากว่า มีคนจำนวนหนึ่งที่มีอภิสิทธิ์ในการครอบครองดูแลผลประโยชน์ของทั้งสังคม และแม้ว่าคนกลุ่มน้อยกลุ่มนั้นจะเห็นว่า ... ผลประโยชน์ส่วนตัว = ผลประโยชน์ของทั้งสังคม ก็ไม่ใช่แรงจูงใจที่ผิดอะไร !? เพราะเมื่อมนุษย์พยายามควบคุมธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ มนุษย์ส่วนใหญ่ก็จำต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอภิสิทธิ์ชนด้วยเช่นกัน
The Wealth of Nations เปรียบดังคัมภีร์ไบเบิลของแนวคิดอนุรักษ์นิยม แต่ในสมัยนั้นมันถูกเขียนขึ้นเพื่อท้าทายระบอบศักดินาและเจ้าที่ดิน มันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะกวาดล้าง “ความไร้เหตุผล” ของระบบฟิวดัลให้หมดไปจากโลกนี้
ดังที่หนังสือชี้ว่า... การสร้างสรรค์สินค้าต่างๆเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนด้วยวิธีการสมัยใหม่นั้น ต่างกันลิบลับกับวิธีที่สถาบันและวิธีการแบบเก่าขัดขวางไม่ให้มันเกิดขึ้น อดัม สมิธมองขาดว่า จากความมั่งคั่งแต่เดิมที่เกิดจากการครอบครองที่ดิน บัดนี้ได้แปรเปลี่ยนสถานะเป็นทองคำ และในที่สุด แรงงานมนุษย์ต่างหากที่เป็นที่มาของ “ความมั่งคั่ง”
“แรงงาน คือมาตรวัดมูลค่าที่แลกเปลี่ยนกันได้ของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมด”
และสมิธ ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐจะแทรกแซงการค้า และควรปล่อยให้เป็นเรื่องของประชาชนดำเนินกิจการด้วยตนเองมากกว่า เพราะทุกคนก็จะมุ่งไปที่งานที่ตนทำได้ดีที่สุด และพยามหาทางทำผลงานนั้นให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น จึงไม่มีใครที่จะสนใจผลิตสิ่งของที่คนอื่นๆนั้นไม่ต้องการ
“ตลาดจะประสานกิจกรรมต่างๆ ของผู้คนในทางที่เป็นไปได้ดีที่สุด”
แต่เขาเองยังไม่ทราบว่า ระบบตลาดแท้ที่จริงแล้วแสดงบทบาทที่ไม่สมเหตุสมผลได้ยังไง เพราะทึกทักไปเองว่า เมื่อเผชิญหน้ากันในตลาดทุกคนก็จะมีความเท่าเทียมกันหมด นี่เป็นจุดที่ขัดแย้งกันเองอย่างมีนัยสำคัญ เพราะสมิธยืนยันว่า แรงงานถือเป็นที่มาของมูลค่าทั้งหมด แต่ค่าเช่า/ผลกำไร = แรงงานซึ่งเจ้าของที่ดิน เอามาจากผู้ผลิตโดยตรง ดังนั้น
มูลค่า เกิดจาก แรงงาน
แรงงาน เกิดจาก มูลค่า
และเนื่องจากว่า มูลค่าโภคภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับ ‘รายได้’ จากแรงงานของนายทุน !? ซึ่งมันขัดแย้งกันเอง
(ตัวอย่างง่ายๆก็คือนายทุนหรือเจ้าของโรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้ขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินที่เรียกว่ากำไรมาจากแรงงานโดยตรง วันแล้ววันเล่า ตกเย็นหลังจากได้ค่าแรง แรงงานก็นำเงินนั้นไปซื้อบะหมี่ที่ตนได้ผลิตมากินประทังชีวิตต่อ โดยไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้เลย)
การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดจากการที่ครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานของมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์นั้นตกงานกันมากขึ้น และท้ายที่สุดก็ต้องเข้ามาประท้วงเพื่อของานคืนจากเครื่องจักร นี่เป็นยุคที่ประหลาดที่สุดแล้ว ที่ชีวิตของประชาชนต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ทางการเงินกับชนชั้นนายทุนที่เป็นเจ้าของเครื่องจักรเหล่านั้น เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตมากขึ้น และนายทุนเองก็พยายามหาวิธีขูดรีดแรงงานให้ได้มากขึ้นเช่นกันจากการเพิ่มเวลาทำงาน และเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น(แม้จะเพิ่มค่าแรง แต่ก็เพิ่มราคาสินค้าไปด้วยพร้อมๆกัน)
การแปรสภาพเป็นสังคมอุตสาหกรรม ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางด้านความคิดด้วย ผู้คนต่างก็รู้สึกเหงา/สิ้นหวังได้ด้วยอีกตะหาก ซึ่งมันเกิดขึ้นเมื่อคนเราพบว่า ตัวเองอยู่/ทำงาน ร่วมกับคนอื่นๆ ร้อยพ่อพันแม่เป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน ชีวิตแบบนี้ในอีกทางหนึ่งยังทำให้เกิด คนที่มีความรู้กว้างไกลมากกว่าในชนบท อ่านออกเขียนได้มากกว่าพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ทำให้พวกเขารู้ว่ามีเรื่องอื่นๆที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ห่างไกลออกไปอีกด้วย
“ตลาด ทำให้คนกลายเป็นทาสวัตถุ ซึ่งฟอยเออร์แบคเรียกมันว่า “ความแปลกแยก”....”
มาร์กซ์ พยายามบอกเราว่า “ยิ่งแรงงานผลิตได้มากเท่าไหร่ แรงงานก็ยิ่งได้น้อยลงเท่านั้น” มาร์กซ์ยังคงมองว่า ล้มระบอบนั้นยังไม่พอ เราจำเป็นต้องปฏิวัติสังคมและสถาปนาสังคม “คอมมิวนิสม์” ขึ้นมาให้จงได้
Marx(1851) “มนุษยชาติเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้สร้าง ‘ภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขที่พวกเขาเลือกเอง’”
1
หนังสือ
ปรัชญา
แรงงาน
1 บันทึก
1
5
1
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย